กลไกในการ "จัดการ" ทรัพยากรธรรมชาติ


ระบบกลไกที่ทำการจัดการทรัพยากร ก็จะเป็นองค์ประกอบของชุดกติกาชุดหนึ่งๆ ที่บอกว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ ควรทำ ไม่ควรทำ แต่ละหน่วยในระบบสัมพันธ์กันอย่างไร แรงจูงใจคืออะไร

ระบบกลไกที่ทำการจัดการทรัพยากร ก็จะเป็นองค์ประกอบของชุดกติกาชุดหนึ่งๆ ที่บอกว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ ควรทำ ไม่ควรทำ แต่ละหน่วยในระบบสัมพันธ์กันอย่างไร แรงจูงใจคืออะไร เป็นต้น

ระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรถ้ามองอย่างหยาบๆก็อาจจะมี 3 ส่วนหลักๆคือ รัฐ ตลาด และชุมชน  

ภาครัฐ ชัดเจนอยู่แล้วว่าทำหน้าที่ออกกฎหมาย กติกา ให้สิทธิ ให้สัมปทาน กำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ในประเทศไทย ภาครัฐเป็นผู้เล่นหลักในการจัดการทรัพยากรมาช้านาน และมีอำนาจโดยชอบธรรมอันเนื่องมาจากมีกฎหมายบัญญัติไว้

ตลาด มีกลไกราคาเป็นตัวนำ กำไรเป็นแรงจูงใจ มีเสรีภาพในการประกอบการ และกรรมสิทธิเป็นของเอกชน ... แต่ปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติก็คือเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรไม่ชัดเจน หรือ เป็น Open-Access property  ซึ่งโดยทฤษฎีแล้วถ้าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ก็จะเกิดสภาวะมือใครยาว สาวได้สาวเอา ... ตลาดล้มเหลว ซึ่ง รัฐก็ต้องเข้ามาจัดการให้กรรมสิทธิ ในรูปของเอกสารสิทธิหรือสัมปทาน หรือกฎหมายรองรับอีกทีหนึ่ง    ... ท้ายที่สุดก็คือ ทรัพยากรก็ถูกจัดสรรว่าจะใช้ทำอะไร อย่างไร เพื่อใคร ด้วยกลไกราคา ผลตอบแทน ที่ได้กับรัฐ หรือกับเอกชน

ชุมชนเป็นอีกกลไกในการจัดการทรัพยากร ใช้กติกาที่กำหนดขึ้นโดยชุมชนเอง คนใช้ประโยชน์คือ คนในชุมชน ใช้เพื่อกิจการส่วนรวมในชุมชน หรือแบ่งสรรปันส่วนเพื่อใช้หารายได้สำหรับคนในชุมชนเอง ...รวมไปถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆร่วมกัน ... ทั้งนี้เนื่องจาก ทรัพยากรดังกล่าวมีลักษณะ ทรัพยากรของส่วนรวม (Common Property)

การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นรปแบบ private property หรือจะเป็น common property มีความสำคัญมาก เพราะในการใช้ประโยชน์จะต้องมีการรับต้นทุนด้วย และจะต้องสามารถกีดกันการใช้งานจากคนที่ไม่ใช่เจ้าของ หรืออยู่นอกกลุ่มด้วย  จึงจะจูงใจให้เจ้าของทรัพยากรไม่ว่าจะรูปเอกชนหรือกลุ่ม พัฒนาหรือดูแลรักษาทรัพยากรนั้น ให้สามารถใช้ได้เรื่อยๆ (ตรงจุดนี้ขึ้นกับกติกาเหมือนกัน)

สิ่งที่แตกต่างกันของระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่ละแบบคือ เป้าหมายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ถ้าเป็นรัฐ ... เป้าหมายของการจัดการทรัพยากร ในทางทฤษฎี ก็คือ การทำให้สวัสดิการสังคมนั้นสูงสุด ฉะนั้น รัฐจะดูและชั่งน้ำหนักในภาพรวมและผลประโยชน์ของประเทศ และยักย้ายถ่ายเท ตัดสินใจจัดสรร ทรัพยากรต่างๆ โดยถือผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ซึ่งในความเป็นจริง หลายๆครั้งก็ทำให้คนส่วนน้อยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

ถ้าเป็นตลาด... เป้าหมายของการจัดสรรทรัพยากรก็คือ ทรัพยากรจะถูกจัดสรรไปในที่ที่มี ผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Benefit) ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของตัวเงินหรือไม่ก็ได้ในทางทฤษฎี แต่ในความเป็นจริงมักจะใช้ตัวเงินเป็นเกณฑ์มากกว่า ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็ชัดเจนล่ะว่า หน่วยไหนในระบบเศรษฐกิจสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มที่เป็นตัวเงินจากทรัพยากรนั้นได้มากที่สุดก็ย่อมได้ไป ซึ่งก็ไม่พ้นเหล่าพ่อค้า นักธุรกิจ และคนร่ำรวย .... ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นโดยดั่งเดิม ที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพยากร แต่ทรัพยากรนั้นผูกติดกับวิถีชีวิตและความอยู่รอดของคนเหล่านั้น

ถ้าเป็นชุมชน...เป้าหมายของการจัดการทรัพยากรก็คือ จัดการทรัพยากรให้ชุมชนได้ประโยชน์จากการใช้ที่สุด อย่างยั่งยืนที่สุด เป็นฐานของวิถีชีวิตของคนในชุมชน บ้างก็เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และถ้าไกลกว่านั้นก็เพื่อเป็นอำนาจต่อรองของชุมชนกับรัฐและตลาด เมื่อจะมีการเข้ามาคุกคามหรือดำเนินการบางอย่างกับชุมชน และทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน

หมายเลขบันทึก: 103680เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท