จงสนใจแต่สิ่งที่เกิดประโยชน์


วัจนของท่านรอซูล(ซ.ล)

สลามทุก ๆ คน (สวัสดีครับ) วันนีผมมีคำพูดของท่านรอซูล(ซ.ล.) ท่านรอซูลได้กล่าวว่า (ความหมาย)"จากความดีงามส่วนหนึ่งของอิสลาม(ที่มีอยู่ในตัว)ของบุคลหนึ่ง ๆ นั้น ก็คือ การที่เขาละทิ้งสิ่งที่ไม่ข้องเกี่ยวกับเขา"หะดิษหะซัน รายงานโดยอัต -ตัรมิซี

วันนี้ผมจะทำตามหะดิษนี้ไห้ได้ (إنشاء الله  )แล้วคุณละ คุณคิดอย่างไรกับเรื่องดังกล่าวครับ

หมายเลขบันทึก: 102928เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 01:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมีหะดีษอีกบทหนึ่งที่ผมใช้ในการดำเนินชีวิต คือ มนุษย์ที่ดี คือ มนุษย์ที่มีอายุยืนยาวและอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข (ความหมายโดยรวม)

ขอบคุณครับอาจารย์จารุวัจน์

P
คผมดีใจมากครับที่อาจารย์ของผมสามารถนำความรู้หะดีษมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ หาคนแบบนี้ยากนะ อะอะ

ยินดีด้วยครับ

ผมขอยก ตัวบทหะดีษ บางทีอาจจะมีประโยชน์บ้างแก่ผู้สนใจ

‏مِنْ حُسْنِ إِسْلَامِ الْمَرْءِ تَرْكُهُ مَا لَا يَعْنِيهِ

หะดีษนี้ นอกจากบันทึกโดย อัตติรมีซีแล้ว อิมามมาลิกก็ได้บันทึกหะดีษนี้เช่นกัน แลอิมาม อัฮมัด ก็ได้บันทึกหะดีษนี้

แม้ว่าหะดีษนี้จะเป็น หะดีษ ฆอรีบ (غريب) อิมาม ฆอซาลี ก็ได้ให้ความเห็นว่าเป็นหะดีษ หะสัน (حسن)

แต่ข้อควรระวังในการนำหะดีษนี้ไปใช้ .. ก็อยากเล่าอะไรบางอย่าง..

สมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ป.ตรี ได้เจอพี่น้องคู่หนึ่งกำลังโต้เถียงกัน คือคนน้องเป็นชายค่อนข้างที่จะเกเรหน่อย คนพี่เป็นหญิงก็ได้ตักเตือนน้องชายในเรื่องพฤติกรรมที่เกเรของน้องชาย น้องชายก็หันมาตอบ ว่า

‏مِنْ حُسْنِ إِسْلَامِ الْمَرْءِ تَرْكُهُ مَا لَا يَعْنِيهِ

กล่าวคือ เขาไม่อยากให้พี่สาวมาตักเตือนเขา ก็ยกหะดีษนี้มาอ้าง เขาว่ามุสลิมที่ดีนั้นเขาไม่สนใจเรื่องคนอื่น

การนำหะดีษนี้ไปใช้เพื่อที่จะบอกว่า เรื่องคนอื่นจะยุ่งเกี่ยวไม่ได้ เป็นความคิดที่ไม่ค่อยถูกต้องเท่าไร

เพราะมีอีกหลายหะดีษที่ต้องพิจารณา เช่น

‏ مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ وَذَلِكَ أَضْعَفُ الْإِيمَانِ

ความว่า "ผู้ใดในพวกเจ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดีก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือ ถ้าเขาไม่สามารถก็ให้เปลี่ยนแปลงด้วยด้วยลิ้น และถ้าไม่สามารถอีกก็เปลี่ยนแปลงด้วยใจ และนั้นคือบุคคลที่อิมานที่อ่อนแอที่สุด" หะดีษนี้บันทึกโดย บุคอรี

จะเห็นว่า ถ้ามีคนทำในสิ่งที่ไม่ดี มุสลิมทุกคนต้องสนใจ เอาใจใส่ และเปลี่ยนแปลงมันให้ได้ แม้ว่าไม่มีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต้องนึกรังเกียจอยู่ในใจ ป้องกันการคล้อยตามหรือความเคยชินที่อาจจะทำให้รู้สึกธรรมดาและยอมรับในที่สุด

และอีกหะดีษหนึ่ง

 من لا يهتم بأمر المسلمين فليس منهم

ความว่า : ผู้ใดไม่ให้ความใส่ใจการงานของมุสลิมีนไม่ใช่พวกเขา

(หะดีษนี้เราได้ยินบ่อย แต่พอไปดูในหนังสือ سلسلة الأحاديث الضعيفة ของ الألباني พบ ส่วนที่มีในบันทึกของ อัลฮากิม เมาฏูอ(موضوع) ส่วนที่มีในบันทึกของ อัฎฎอบรอนี (الطبراني)  ฎออีฟ กับ ฎออีฟญิดดัน (ضعيف و ضعيف جداً)

ถ้าเรานำทั้งสามหะดีษนี้มาประมวลกัน ก็จะเข้าใจว่า มีบางอย่างที่เราต้องใส่ใจเขาด้วย และมีบางอย่างเช่นที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย ก็อย่าใส่ใจ

ส่วน หะดีษที่

P

กล่าวมานั้น ผมพยายามนึก แต่นึกไม่ออกครับ อยากนำไปใช้และเผยแพร่เหมือนกันครับ

 

คำสอนน่าสนใจดีจังค่ะ 

หวังว่า จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะคะ

จากความดีงามส่วนหนึ่งของอิสลาม(ที่มีอยู่ในตัว)ของบุคลหนึ่ง ๆ นั้น ก็คือ

"การที่เขาละทิ้งสิ่งที่ไม่ข้องเกี่ยวกับเขา" หะดิษหะซัน รายงานโดยอัต -ตัรมิซี

ดูความหมายแล้ว  ก็เหมือนกับพระพุทธศาสนาเหมือนกันค่ะ  ........  คือ อนัตตา  "ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตน"

ยินดีด้วยนะคะ  ขอให้ทำตามคำสอนให้ได้ค่ะ ... ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีจริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท