เขียนไม่ออก "ยุ้ย"


ความรู้สึกต่อภูมิปัญญา ยุ้ย-รัตนา ผัดแสน

เขียนไม่ออก ยุ้ย 


        
วันก่อนได้อ่าน
Comment ของท่าน ศน.ลำดวน ไกรคุณาศัย ท่านอยากจะฟังเรื่องเล่าของนักเรียนบ้าง โดยขอรับฟังเรื่องเล่าจากนักเรียนที่เรียนโครงงานกับผม โดยภาพรวมแล้วทุกรายวิชาที่ผมสอน ผมจะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานทั้งหมด ยกเว้นเด็กที่ผมต้องเข้ามาให้การช่วยเหลือ คนที่ยังไม่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ปกติได้ จึงต้องให้เด็กซึ่งเป็นกลุ่มอ่อนทำงานตามความสมัครใจไปก่อน จนกว่าเด็กจะพร้อมจึงนำมาเข้าระบบการเรียนรู้ วางแผน ลงมือทำ ประเมิน ปรับปรุง ต่อไป วันนี้ (8 มิถุนายน 2550) ผมบอก รัตนา  ผัดแสน ลูกศิษย์ของผมอีกคนหนึ่งซึ่งก็ฝึกหัดร้องเพลงกล่อมอยู่ที่บ้านของผม เพราะจะต้องนำเพลงไปใช้ในพิธีทำขวัญนาคด้วย  หลังจากซ้อมเพลงเสร็จ ยุ้ย-รัตนา เขานั่งเขียน ๆ อยู่ แล้วก็บ่นด้วยเสียงเบา ๆ ว่าเขียนไม่ออก เขียนไม่ออก (คือ คิดไม่ได้นั่นแหละ) ได้ยินเขาพูดว่า อาจารย์ค่ะ หนูจะขอกลับไปพิมพ์มาให้อาจารย์เลยได้ไหม  หนูเขียนไม่ออก ค่ะ  

           เมื่อหลายวันก่อนผมนัดหมายให้รัตนา ไปร่วมงานสำคัญงานหนึ่ง แต่เจ้าตัวขอปฏิเสธ ผมก็พยายามถามเหตุผลว่าไปไม่ได้เพราะอะไร ดูสีหน้าก็ไม่มีปัญหา แต่ไม่สามารถที่จะไปร่วมงานสำคัญกับอาจารย์ได้ (ผมได้แต่เสียดายโอกาสมาก) ก็คงมีความจำเป็นส่วนตัวของเขา ซึ่งคนเป็นครูคงไม่ได้คิดอะไร  ก็ทำได้เพียงเท่านี้  ทำทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมคนเก่งให้ไปจนถึงจุดสูงสุดของเส้นทาง ตามความสามารถที่พวกเขามี ลองเข้ามาอ่านกันดูนะครับ ไม่รู้ว่าจะมีคำแก้ตัวติดมาด้วยหรือเปล่า ผมก็อยากรู้เหมือนกัน 

                      ความรู้สึกต่อภูมิปัญญา

                     โดย ยุ้ย-รัตนา  ผัดแสน 

          หนูเข้ามาเรียนชั้น ม.1 เมื่อ ปี พ.ศ. 2545 โดยได้รับคำแนะนำจากคุณครูทนง ชาวปลายนา คุณโรงเรียนเดิม ให้หนูมาฝึกหัดร้องเพลงอีแซว จึงได้มารู้จักกับท่านอาจารย์ ชำเลือง มณีวงษ์ ในตอนแรกหนูก็ไม่รู้จักเพลงอีแซวเลย เคยเห็นเขาร้องกันแต่ก็ไม่รู้ว่าเพลงอีแซว สำหรับตัวหนู มีพื้นฐานทางร้องเพลงลูกทุ่ง แต่ก็ร้องได้ไม่ดีนัก  ก็มาคิดว่า เพลงอีแซวไม่น่าที่จะเหมาะกับตัวเอง  เพราะว่า หนูเป็นคนขี้อายด้วย  แต่ท่านอาจารย์ชำเลือง มณีวงษ์ก็ได้ไปขออนุญาตพี่ชายหนู  ในตอนแรก ๆ พี่ก็ไม่อนุญาต เพราะพี่คิดว่า หนูคงจะเล่นไม่ได้ แต่พี่ก็ลองให้ไปฝึกหัดได้

           ตอนที่หัดครั้งแรก หนูไม่ชอบเลยเพราะว่าร้องยากมาก ตรงบทร้องไม่ค่อยยากเท่าไรหรอกค่ะ  แต่ตอนเกริ่นขึ้นต้นเพลงนี่ซิ โอ้ โฮ ! (ยากจังเลย) แต่หนูก็สามารถทำได้ ก็ต้องใช้เวลานานเหมือนกัน ประมาณ 2 เดือน ได้ไปออกงานครั้งแรก จำไม่ได้ว่าเป็นงานอะไร   แต่จัดที่โรงเรียน  งานนี้หนูไม่ได้ร้องหรอกค่ะ  ได้แต่ยืนรำเป็นลูกคู่เฉย ๆ  แต่งานนี้อาจารย์ก็ให้เบี้ยเลี้ยงตั้ง.....  รู้สึกดีใจมากค่ะ  พอเสร็จจากงานนี้ อาจารย์ก็ให้ฝึกหัดเพิ่มเติมมากขึ้น  เพราะเตรียมเข้าแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 55

      

          จะเป็นเพราะโชคดีหรือไม่ก็ไม่รู้ ช่วงที่หนูเข้ามามีรุ่นพี่ที่เขาเป็นเพลง เหลือเขาอยู่ชั้น ม.6 เพียงคนเดียว  หนูเลยได้ขึ้นไปนั่งร้องแถวหน้า ร้องบทไหว้ครู หนูมีเพื่อนอีกคนหนึ่งซึ่งหัดเพลงมาด้วยกัน แต่เขาจะเก่งกว่าหนูนิดหน่อย  เพราะเขามีพื้นฐานเพลงอีแซวมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษา และแถมเสียงร้องของเขายังดีกว่าหนูเสียอีก  ชื่อ อิม หทัยกาญจน์ เมืองมูล  อิม เป็นคนที่พูดเก่ง ส่วนหนู เป็นคนที่ไม่ค่อยพูด  หลังจากนั้น  อาจารย์ก็ให้หนูฝึกหัดเพลงพื้นบ้านอย่างอื่นได้แก่ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย  เพลงระบำบ้านไร่  เพลงเรือ และเพลงแหล่ด้วยค่ะ

                ถ้าถามว่า ชอบเพลงพื้นบ้านไหนมากที่สุด  ก็เพลงอีแซวนี่แหละค่ะ และพอช่วงปิดเทอม ตอนนั้นอยู่ชั้น ม.3 ค่ะ (เพิ่งจะขึ้นชั้น) หนูได้มีโอกาสไปแข่งขันร้องเพลงอีแซว ในรายการคุณพระช่วย ของบริษัทเวิร์คพ้อยท์ ที่ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์  และในการแข่งขันครั้งนั้น หนูได้เป็นแชมป์ คุณพระช่วยคนแรกเลยค่ะ  แล้วก็ตามด้วยรางวัลแม่เพลงดีเด่นอีกหลายครั้ง

          คนในวงเพลงพื้นบ้านของโรงเรียนมีประมาณ 20-30 คน แต่เวลาออกไปแสดงจะไปประมาณ 13-17 คน (เต็มรถตู้ค่ะ) อาจารย์พาพวกเราไปแข่งขัน ประชันเพลงในที่ต่าง ๆ ได้รับรางวัลมากมาย และอีกอย่างหนึ่งคือ ความภาคภูมิใจ และสิ่งที่ภูมิใจอีกอย่างหนึ่งคือ หนูได้ไปแข่งขันเพลงพื้นบ้าน จัดโดย สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเขาคัดเลือกจากผู้สมัครทั่วประเทศ จนเหลือรอบ 5 คนสุดท้าย ไปทำการแข่งขันบนเวที หนูได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (รางวัลที่ 2) ค่ะ ก็รู้สึกดีใจมาก ลืมบอกไปค่ะว่า เพลงพื้นบ้านที่ไปประกวดคือ ลิเก หนูต้องฝึกหัดลิเกอย่างหนัก (หนักมาก) แต่มันก็คุ้มค่ากับผลที่ได้รับกลับมา 

            อาจารย์ไม่ได้สอนแต่เพลงพื้นบ้าน ท่านยังสอนวิธีทำขวัญนาคให้หนูกับอิมด้วย ซึ่งเวลาไปออกงานก็ได้ค่าตอบแทนมาก  หนูไปกับอาจารย์และ อิม หทัยกาญจน์ ในตอนแรก ๆ ที่หนูหัดทำขวัญนาค หนูท่องเนื้อไม่ได้ อาจารย์ก็ให้ดูเนื้อได้ (จำยากมาก) ตอนที่เริ่มทำขวัญนาคเมื่อขึ้นชั้น ม.4 ในตอนนี้ หนูอยู่ชั้น ม.6 แล้ว แต่หนูก็ยังท่องบทร้องทำขวัญนาคไม่ค่อยได้ (ไม่รู้เป็นอย่างไร)  

           

หนูภูมิใจที่ได้มาเรียนในโรงเรียนนี้  ภูมิใจที่ได้มาอยู่ในวงเพลงอีแซวของโรงเรียน ภูมิใจที่สมาชิกในวงเพลงอีแซวน่ารักทุกคน

            - ขอขอบพระคุณครูทนง ชาวปลายนา 

          - ขอขอบพระคุณแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ (หนูเรียกว่าป้า)

          - ขอบพระคุณพ่อสุจินต์ ศรีประจันต์ 

 - และที่สำคัญที่สุดในชีวิตของหนูคืออาจารย์ชำเลือง มณีวงษ์

  

ครูผู้ที่ส่งเสริมหนูตลอดมา สิ่งที่หนูได้รับจากการที่ได้มาอยู่ในวงเพลงอีแซวนี้ คือ ทำให้ได้รู้ถึงการอยู่ร่วมกันเป็นทีม  รู้ถึงความรัก ความสามัคคี  ทำให้เราเป็นคนที่มีใจกว้างมากขึ้น เพราะในการแข่งขันทุกครั้ง วงเราก็จะมีชนะ และแพ้บ้าง ทำให้เรารู้จักที่คิดวางแผนในการแสดงเพลงอีแซวในแต่ละครั้ง และอีกอย่างหนึ่งคือ มีรายได้นำมาใช้จ่ายในการเรียน เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของ พ่อ และแม่ได้บางส่วน  รายได้ที่ได้รับจากการแสดงเพลงพื้นบ้าน หนูจะเก็บฝากธนาคารเอาไว้ใช้ เมื่อถึงคราวจำเป็น

                                           รัตนา  ผัดแสน (ยุ้ย)   

                                   ลูกศิษย์อาจารย์ชำเลือง มณีวงษ์  

                                           11  มิถุนายน  2550   

                                               เวลา  16.10 น.

 

หมายเลขบันทึก: 102543เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • อ่านแล้วซาบซึ้งใจแทนครูชำเลือง
  • ครูดชคดีที่มีศิษ์ดีกตัญญูรู้คูณครู
  • ฝากบอกยุ้ยด้วยค่ะ หนูเป็นเด็กดี และเก่งมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

น่านิยม น่าชมเชยในความกตัญญูค่ะ

มีรายได้นำมาใช้จ่ายในการเรียน เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของ พ่อ และแม่ได้บางส่วน  รายได้ที่ได้รับจากการแสดงเพลงพื้นบ้าน หนูจะเก็บฝากธนาคารเอาไว้ใช้ เมื่อถึงคราวจำเป็น

สวัสดีครับ

   คุณยุ้ย และคุณครูทุกคน ร่วมกันพัฒนาได้เยี่ยมยอด

     ขอบคุณมากที่นำมาให้เรียนรู้

 

ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยม  ยุ้ย-รัตนา ผัดแสน เป็นลูกศิษย์ทางเพลงพื้นบ้านของผมอีกคน  ที่เก่งมาก

ทำให้วงเพลงมีงานแสดงมาโดยตลอดและเขาเป็นคนประหยัดมาก

 

       ·       ขอบคุณ ท่าน ศน.ลำดวน ไกรคุณาศัย

·       ขอบคุณ Mrs.Sasinand Punyahotra

·       ขอบคุณ คุณวรชัย  หลักคำ

                                ชำเลือง  มณีวงษ์
ขอชื่นชมหนูและตัวครูที่ฝึกสอน

คุณแพรวพรรณราย

  • พรุ่งนี้ ผมจะให้เจ้ของบทความเข้ามาตอบความรู้สึกที่เขาได้รับ
  • แต่สำหรับผม ได้กำลังใจมาก ๆ ที่มีคนเห็นคุณค่าของงานที่กลุ่มเราทำอยู่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท