Business Card


นามบัตร

ข้อความรู้จาก บ.สุพรีม พริ้นติ้ง


ปัจจุบันนามบัตรมีส่วนสำคัญต่อภาพพจน์ของเจ้าของ มีการพิมพ์นามบัตรแบบสอดสี พิมพ์นามบัตรสีเดียว พิมพ์นามบัตรสี่สี พิมพ์นามบัตรแบบเคลือบ พิมพ์นามบัตรแบบแสดงภาพและสินค้าซึ่งช่วยในการส่งเสริมการขายเป็นอย่างดี แม้การพิมพ์นามบัตรกรณีนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า

ขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์นามบัตร
การที่จะพิมพ์นามบัตรออกมาดูดีมีคุณภาพนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบ หลายอย่างดังต่อไปนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการจัดทำนามบัตรโดยทั่วไปมีไว้แจกผู้เกี่ยวข้องเพื่อการติดต่อกันในภายภาคหน้า การทำนามบัตรมีทั้งทำอย่างประหยัด พิมพ์สีเดียวหรือสองสี และ แสดงโลโก้ ชื่อองค์กร ที่อยู่ ชื่อ เบอร์โทรฯ ของเจ้าของบัตร อาจจะมีข้อความเกี่ยวกับสินค้า/บริการที่มีให้
ในความเป็นจริงแล้วนามบัตรสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาอย่างดี สามารถบรรจุภาพสินค้า/บริการ รวมถึงภาพเจ้าของบัตรได้ และสามารถจัดพิมพ์แบบสอดสี/สี่สี หากออกแบบให้สวยงานดูแปลกตาต่างจากนามบัตรทั่วไป
ผู้รับจะเก็บรักษาและจดจำเจ้าของบัตรได้ดีขึ้น รูปแบบของนามบัตรพึงสะท้อนถึงภาพลักษณ์ขององค์กร/สินค้า/บริการนั้น ๆ อีกทั้งให้มีรูปแบบในแนวเดียวกันกับเอกสารอื่น ๆ ขององค์กร เช่น หัวจดหมาย ซอง ฯลฯ พึงระลึกเสมอว่านามบัตรจะสะท้อนถึงภาพพจน์ขององค์กร/สินค้า/บริการของเจ้าของบัตรนั้น ๆ

2. กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์
วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่างนามบัตรที่มีอยู่ในท้องตลาด เลือกรูปแบบที่เหมาะกับนามบัตรที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจาก "ขนาดของงานพิมพ์นามบัตร" ที่ระบุข้างล่างได้เพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวนพิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างนามบัตรคร่าว ๆ (Layout) เพื่อดูว่ารูปแบบเหมาะสมและดูดีหรือไม่

3. ออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์ค
ในปัจจุบันจะใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้ Adobe Indesign, Illustrator ในการจัดทำต้นฉบับนามบัตรควรจัดทำเป็นชุดพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวจดหมาย และซอง เพื่อให้รูปแบบของเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นในทิศทางเดียวกัน
ในการทำอาร์ตเวิร์คสำหรับนามบัตรให้คำนึงถึงการวางข้อความและภาพประกอบ (หากมี) เนื่องจากนามบัตรมีขนาดที่จำกัด อีกทั้งอย่าให้ข้อความแน่นจนเกินไป ให้มีช่องไฟไว้พักสายตา นามบัตรบางชิ้นมีการทำไดคัตหรือมีการปั๊มนูน(Embossing) เป็นรูปให้ดูแปลกตา บางชิ้นเคลือบพลาสติกด้าน แล้วเคลือบ Spot UV บนภาพที่ต้องการเน้น

4. สั่งพิมพ์งาน
เมื่อจัดทำอาร์ตเวิร์คต้นฉบับของนามบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งไฟล์งานและสั่งโรงพิมพ์ดำเนินตามขั้นตอนการพิมพ์ได้ต่อไป

5. ขั้นตอนการสั่งซื้องานพิมพ์
อนึ่งงานพิมพ์นามบัตรที่ดี เริ่มจากต้นฉบับที่ดี ภาพที่คมชัด ใช้ซอฟแวร์ที่ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุด การพิมพ์ต้องได้คุณภาพ เมื่อได้นามบัตรที่ดีย่อมมีส่วนช่วยทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

6. ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์นามบัตร
6.1 รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์นามบัตร
ในการพิมพ์นามบัตรจะมีรูปร่างเป็นกระดาษแผ่นเดียว กระดาษที่ใช้มีความหนาเพื่อความแข็งแรงไม่ยับง่าย การพิมพ์นามบัตรจะมีที่พิมพ์เพียงด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้ อาจมีการพับ แล้วแต่การออกแบบ

6.2 ขนาดของงานพิมพ์นามบัตร
ขนาดมาตรฐาน 3.5”x 2.125” หากมีการพับ เมื่อพับแล้วให้ได้ขนาดดังกล่าว

6.3 กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์นามบัตร
สำหรับงานพิมพ์นามบัตรจะต้องใช้กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรมขึ้นไป กระดาษแฟนซี (กระดาษที่มีเนื้อและผิวพิเศษ) ซึ่งมักนิยมใช้กันมาก

6.4 การพิมพ์และตกแต่งผิวบนงานพิมพ์นามบัตร
มีการพิมพ์นามบัตร 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี (CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้ มักพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบซิลค์สกรีนหรือระบบดิจิตอลพิมพ์หน้าเดียวหรือ สองหน้าแล้วแต่การออกแบบงานพิมพ์นามบัตรสามารถเคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping)

6.5 แบบของการพับงานพิมพ์นามบัตร
อาจมีการพับ 2 ตอน พับ 3 ตอน (โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการพับ) นอกจากนี้ยังมีวิธีพับแบบอื่น ๆ แล้วแต่การออกแบบ

6.6 เพิ่มเติมสำหรับงานพิมพ์นามบัตร
สามารถทำการปั๊มไดคัท (Die-cut) เป็นรูปต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

6.7 การปรู๊ฟงานพิมพ์นามบัตรจากโรงพิมพ์ฯ
ปรู๊ฟจาก Computer Printer หรือผ่าน Fax สำหรับงานสีเดียว หรือ สองสี ควรปรู๊ฟแบบ Digital Proof หรือ ปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟหากเน้นเรื่องสีสันซึ่งจะถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับงานพิมพ์จริง

สื่อการสอน : แสดงขั้นตอนการ Sketch 

การ Sketch  แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1. Thumbnail Sketch

2. Rough Sketch

3. Comprehensive Layout

 และการใช้ระบบตารางเพื่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทนามบัตร

 

 

 01 Three type of layout

02 Grid 1

03 Grid 2

04 Thumbnail Sketch  -  Rough Sketch

05 Example

06 Art  work  form

07 Work  sheet

 

ตัวอย่างนามบัตร 101 แบบ 

http://noontoon2000.multiply.com/photos/album/11/Business_card_Paper#photo=1

http://www.behance.net/

http://www.overnightprints.com/main.php?A=designer&bgCategoryId=70

 http://office.microsoft.com/en-us/templates/CT101043091033.aspx

คำสำคัญ (Tags): #business card#นามบัตร
หมายเลขบันทึก: 102444เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจผลงานของอาจารย์ครับ call me 095-2933545

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท