ก.วิทยาศาสตร์/แผนยุทธศาสตร์ HR


การบริหารความเป็นเลิศของคนในองค์กรไม่ใช่แต่ปลูกข้าว แต่ต้องดูว่าเก็บเกี่ยวได้ผลหรือเปล่า

สวัสดีครับ กลุ่มสำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมานี้ ผม และคณะ ได้เดินทางไปที่ จ.สมุทรสงคราม ณ บ้านท้ายหาด ครับ เพื่อมาเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแผนยุทธศาสตร์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

บรรยากาศดีมาก ครับ ทั้งสถานที่จัดสัมมนา และ ผู้เข้าร่วม ก็มีความกระตือรือร้น ในการร่วมแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเต็มที่ครับ

ซึ่งผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งจากการฟังการบรรยาย และร่วมแลกเปลียนประเด็นยุทธศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาบุคคลของสำนักงานปลัดในวันนั้น จะเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของทุกคน ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวไปข้างหน้าของกระทรวงวิทยาศาสตร์ บ้างนะครับ

อย่างเช่นทุก ๆ กลุ่มที่ผ่านมาที่ผมอยากจะให้ความรู้ที่เกิดขึ้นได้ถูกนำมาประมวลสรุป และถ่ายทอดไปสู่คนอื่น ๆ ในสังคมด้วย ก็ขอให้ใช้ Blog นี้เป็นสื่อกลางของพวกเรา

                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

                                                                         

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 102211เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ต้องขอขอบคุณอาจารย์และท่านปลัดกระทรวง ที่ได้จัดการประชุมครั้งนี้ การบรรยายของอาจารย์ดูแล้วระยะเวลายังสั้นไป เห็นด้วยถ้าสำนักงานปลัดกระทรวงจะใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มากกว่านี้ และต่อเนื่อง  

กลุ่มที่ 1 สิ่งที่จะทำได้ทันทีคือ 1.กำหนดแนวการสร้างแรงจูงใจ และ 2. กำหนดงบประมาณให้รายคน และไปหาหลักสูตรที่อยากพัฒนาเอง

กลุ่ม 2 Learning Organization น่าจะมีเวที Forum ที่ชัดเจน บุคลากรจะได้แลกเปลี่ยนแนวความคิด และทิศทางเพื่อไปด้วยกัน

ดร.จีระ เสนอว่า ให้ท่านปลัดฯ จัดเวที โดยเชิญกลุ่มเพื่อนของทางสำนักปลัดมาร่วมด้วย เป็นลักษณะ Global Network

กลุ่ม 3 การแสวงหาความรู้ใหม่ทุกวัน เป็นสิ่งที่ทำได้ทันทีเลย

ดร.จีระ เสนอว่า

·        ก่อนเข้าห้องเรียน ควรจะมี morning coffee ก่อน ควรจัดบรรยากาศแบบสบาย ๆ เพื่อสร้างความ relax

·        ไม่ต้องบริหาร Project มาก และสนับสนุนการหาความรู้

·        ควรมีความพร้อมด้านสุขภาพกาย และใจ และหามุมสงบมุมหนึ่ง

·        สร้างวัฒนธรรมในการใฝ่รู้

·        ทำตัวเป็น โค้ช และ พี่เลี้ยงมากกว่าเป็น Boss

·        สร้าง Network

กลุ่ม 4  ในองค์กรนี้คนสำคัญที่สุด

·        เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งาน คนจบทางด้านสายนี้พอหรือไม่

·        การสร้างแรงจูงใจของภาคเอกชนเยอะกว่าทำให้คนอยากไปสมัครที่ภาคเอกชนมากกว่า

·        จะสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานที่ ก.วิทยาศาสตร์มากขึ้น ต้องทำอย่างไร

ดร.จีระ เสนอว่า

·        ความรู้ เฉพาะทางไม่เพียงพอ ควรนำทฤษฎี recruitment ,การให้ทุน, การไปเยี่ยมที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ

·        ควรสร้างสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรสามารถดูแลได้ จะเห็นได้ว่าในยุคหลังส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนจงรักภักดีกับองค์กรเท่าไหร่นัก

·        สร้าง Happiness , Job enrichment, Job Satisfaction

·        การดูแลทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของทุกคนในห้องนี้

·        ทฤษฎี 2 L คือ Listen and Learn

·        9 ยุทธศาสตร์ที่เสนอ ควรโยงไปกับเป้าประสงค์ให้ดี

·        เราจะแสวงหาความรู้อะไร

·        ปัญหาเกิดขึ้นจากตัวเราเอง

กลุ่ม 5  การมีสายบังคับ บัญชาที่ยาว ทำให้ เกิดปัญหาในองค์กร แต่ความจริงควรมีสายบังคับที่สั้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ จะใช้กระบวนการจัดการอย่างไรไม่ให้กระทบกับหลักปฏิบัติ

ดร.จีระ เสนอว่า

·        ควรมีการบริหารแบบ formal และ informal

·        เป้าหมายอยู่ที่ Customer แค่ใช้ function ไม่พอ

·        ระบบราชการที่ฝังรากมากนาน ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้จัก และสนิทกันให้มากขึ้น

·        Relationship ความสัมพันธ์เพื่อสร้าง informal Network

·        ต้อง Please Customer

·       ต้องมีแรงกดดัน ทำงานให้ดี และ focus ที่ Customer

·        What is my purpose ? ทำงานเพื่อประชาชน

กลุ่ม 6  มาจากส่วน IT คนเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก IT ให้คุ้ม ความรู้ ความสามารถนั้นไม่ได้มาจากแหล่งเดียว มาจากหลายแหล่ง

ดร.จีระ เสนอว่า

·        ความรู้ต้องเป็นแบบ Life long learning

·        ความรู้ไม่ได้เกิดแต่ในห้องเรียน ต้องเกิดบรรยากาศ และสร้าง Learning Environment

·        Morning,Lunch,Dinner สร้างบรรยากาศที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

·        ก.วิทยาศาสตร์จะขาย Brand ได้อย่างไร ต้องสร้างให้เกิดความเป็นเลิศก่อน

คนที่ 7  ถ้าเกิดแผนยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ขึ้นมาก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ต้องขอขอบคุณ ดร.จีระที่มาช่วย ในตัวชี้วัด กับเป้าหมายกลยุทธ์ส่วนใหญ่ เน้นไปทางปริมาณ แต่ควรวัดที่คุณภาพด้วย

          สำหรับ แผน 7 การบริหารจัดการองค์ความรู้ เคยมีแผนมาแล้ว เมื่อทำให้ กพร. ดังนั้น ควรสร้างโอกาสให้เอามาใช้ได้

             การบริหารจัดการความรู้ น่าจะวัดจาก Impact ที่เกิดขึ้น ถ้ามีความร่วมมือ ก็สามารถวัดจาก COP ได้ สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ได้

ดร.จีระ เสนอว่า

·        การทำ Coaching 60 ชั่วโมง ก็สามารถเสนอให้เห็นการปรับเปลี่ยนได้  และเห็นด้วยที่ยุทธศาสตร์ไม่ควรเน้นที่ปริมาณแต่อย่างเดียวควรเน้นปัจจัยที่วัดไม่ได้ด้วย

·        คล้ายการวัด intangible , สร้างสังคมการเรียนรู้, ความต่อเนื่อง , มูลค่าเพิ่ม Translate Happiness เป็นเครื่องวัด Qualitative  ควรช่วยกันเสนอ Case Study ร่วมกัน

คนที่ 8 วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมาก ควรเตรียมตัวให้พร้อม

·        ภาระที่มีอยู่ไม่สามารถเตรียมพร้อมรองรับได้ทัน

·        การตอบ KPI บางอย่าง ทำให้ต้องทำงานเพิ่มขึ้น แต่กำลังคนไม่มี

·        อัตรากำลังคนไม่ตรงตามความต้องการที่รองรับ

·        นโยบายรัฐบาลเปลี่ยนเรื่อย ๆ หลายอย่างไม่สอดคล้องแต่ต้องทำอยู่ เพื่อสอดรับกับนโยบายรัฐบาล

·        อัตรากำลังไม่เพิ่มขึ้น ตามกฎที่ไม่ได้รับอัตรากำลังใหม่

·        อัตรากำลังไม่มีความหลากหลายเพียงพอ

ดร.จีระ เสนอว่า

·        เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คนเข้ามาในอาจารย์ในระบบราชการต้องเป็นมันสมองของประเทศ แต่ปัจจุบัน คนไม่เก่งก็สามารถเข้ามาเป็นอาจารย์ได้

·        ก.วิทย์ฯ เรื่อง recruitment ต้องเอาจริง และเห็นคนเป็น Potential

·        ฝ่าย HR ควรมีแผนในการปฏิบัติตาม

·        ดาวรุ่งที่ กพร. 50 คน ก็น่าจะสามารถขอมาทำงานที่ ก.วิทย์ฯได้

·        ปัจจุบันประเทศก้าวหน้าในยุคโลกาภิวัตน์ แต่คนกลับพัฒนาแย่ลง เป็นการพัฒนาทิศทางตรงกันข้าม

·        เราเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องดูแลภารกิจ และคนที่เข้ามาใหม่ให้ดี ต้องรู้จักวิเคราะห์ และพัฒนาคนรุ่นใหม่ ๆ ให้ได้

รองปลัดฯ  เสนอว่า สิ่งที่สำคัญคือร่วมกันพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรียนรู้สิ่งที่จะเอาความคิดมาใช้

1.    สิ่งที่ขาดคือการกระจายข้อมูลระหว่างองค์กร จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสาร และ Cross functionให้มาก

2.    การมี Command and Control ไม่สามารถแก้ได้ทันที ต้องค่อยเป็นค่อยไป

     ดร.จีระ  อยากให้เน้นเรื่อง Empowerment ในองค์กร ให้คนถูกฝึกให้ทำงานยากขึ้นตั้งแต่เด็ก ๆ อาจมีการผิดพลาดบ้าง แต่จะมีอิสรภาพของตัวเอง

3.    อยากให้แต่ละคนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ มีการเพิ่ม Creativity ในการทำงาน

     ดร.จีระ เสนอว่า CK Plahalad เน้นให้ผู้นำปล่อยวางบ้าง โดยเฉพาะผู้นำในเอเชีย ถ้าปล่อยให้คนที่เก่งทำงาน ไม่ต้องเป็นครอบครัวตัวเองทำ บางครั้งธุรกิจอาจเติบโตดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท