ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสมองของนักเรียน


เชื่อว่า.....  นักเรียนมีความรู้เดิมมาบ้างแล้ว 
ดังนั้น  เมื่อเสริมการเรียนรู้ใหม่  จึงต้องมีการเชื่อมโยงสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่  กับสิ่งที่รู้มาก่อนแล้ว  
การที่นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้รับ  เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่อยู่ในสมอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการมีประสบการณ์มาก่อน  เป็นพื้นฐานเพื่อจะให้ได้ความคิดรวบยอด  ทักษะ  และความรู้ใหม่ 
ซึ่งประมวลกันขึ้นเป็นเรื่องใหม่ที่จะเรียนรู้  
ศึกษาทดลอง  และลงมือทำซ้ำ  ทำให้สมองรู้จัก  คุ้นเคยกับความคิดรวบยอด  ทักษะความรู้ใหม่ที่รับเข้ามานั้น 
ศึกษา ทดลอง และลงมือทำซ้ำให้มากยิ่งขึ้น  จะทำให้ความเข้าใจ  ความคิดรวบยอด  ทักษะ  และความรู้ใหม่ได้ 
อ่านและฟังบรรยาย  จะสามารถสะท้อน  วิเคราะห์  อภิปราย  อธิบาย  เปรียบเทียบความคิดรวบยอด  ทักษะและความรู้ของเรื่องที่กำลังเรียนรู้นี้กับเรื่องอื่นๆได้  เป็นการเริ่มสู่การคิดสร้างสรรค์  ประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ  การใช้ความคิดรวบยอด  ทักษะและความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆในชีวิต 
การผสมผสานสิ่งที่รู้เข้ากับเรื่องที่เรียนรู้อื่นๆ  นำไปสู่การมีความคิดระดับสูงขึ้น  และมีความคิดสร้างสรรค์  ขัดเกลา  และปรับปรุงผลงาน   ทำให้สามารถเข้าใจความคิดรวบยอด  ทักษะและความรู้นั้นได้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น 
แต่นี่ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเรียนรู้  หากเป็นเพียงพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้สูงขึ้นไป 
หากครูผู้สอน....เข้าใจกระบวนการทำงานของสมอง   ได้ออกแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการทำงานของสมองแล้ว   นักเรียนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
หมายเลขบันทึก: 102201เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท