ยุทธศาสตร์ไข่เจียว


การสื่อสารในองค์กรก็เช่นกัน หากเราเปิดใจให้และรับ feedback โดยปราศจากอคติและลำเอียง ผมเชื่อว่าปัญหาเรื่องการสื่อสารในองค์กรจะค่อยๆหายไป คนในองค์กรก็จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ถ้าเริ่มต้นด้วยการใช้ปิยะวาจา และจริงใจต่อกัน

          ผมไม่แน่ใจว่าในองค์กรที่ทำ KM กันแล้วจะยังคงพบเจอปัญหาการเรื่องสื่อสารภายในองค์กรหรือไม่ แต่สำหรับองค์กรที่ยังไม่รู้จัก LO & KM เชื่อว่าปัญหานี้ยังไงก็หนีไม่พ้น

         ในองค์กรที่ผมรู้จักคุ้นเคยอยู่ขณะนี้ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ขอนำปัญหาเรื่องการสื่อสารง่ายๆมาเล่านะครับ...เรื่องแม่บ้านทำอาหารไม่อร่อย

         ผมมองแบบกลางๆว่า โดยไม่เข้าข้างแม่บ้านว่า การที่แม่บ้านทำอาหารไม่อร่อยแล้วพนักงานที่ทานมานั่งบ่นโดยที่แม่บ้านไม่ได้รับรู้ด้วย เมื่อไหร่คุณจะได้ทานอาหารอร่อยกันซะที??? .....นี่คือคำถามที่ผมถามเขาอยู่ในใจ

         ถ้าผมไม่ได้ทานอาหารกับพวกเขาด้วย ผมก็คงปล่อยให้เขาทานอาหารไม่อร่อยแบบนั้นไปเรื่อยๆ แต่ผมต้องทานกับพวกเขาด้วย

         ผมมองแบบกลางๆ โดยไม่เข้าข้างพนักงานว่า ผมเห็นด้วยว่า แม่บ้านทำอาหารไม่อร่อยจริงๆ

แล้วทำไงล่ะ ผมถึงจะได้ทานอาหารกลางวันที่อร่อยขึ้นกว่าเดิม?

ปิ๊ง....ทุกอย่างต้องมียุทธศาตร์

นี่เป็นคำที่จำได้แม่นยำมากหลังจากที่เคยมีโอกาสฟังซีดีการบรรยายเรื่องการวางยุทธศาสตร์ของท่าน ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) แล้วประทับใจมาก ทั้งฮา และได้แง่คิดดีๆ

ผมเริ่มวางยุทธศาตร์ด้วยการทักทาย ทำความคุ้นเคยกับแม่บ้าน ถามว่าวันนี้มีเมนูอะไรครับ โอ้โห..วันนี้ผัดอะไรครับน่าทานจัง...... ใช้ปิยะวาจา จนตอนนี้ลูกของแม่บ้านมาติดพัน ขณะนี้สาวผู้นั้นเพิ่งอายุขวบเศษๆเองครับ  แต่เราคุยกันรู้เรื่องครับ ทั้งๆที่แกยังพูดไม่ได้ ฮ่าๆๆ

ถึงไหนแล้วล่ะครับ...หลังจากที่ประเมินแล้วว่า แม่บ้านพร้อมที่จะรับฟังคำติชมจากผมได้ ผมจึงเริ่มต้นด้วยการให้ความเห็นว่าในเมนูที่ผมคิดว่าใกล้ตัว และง่ายที่สุด นั่นคือ ไข่เจียว เพราะก่อนหน้านี้แม่บ้านเจียวไข่ใส่กระเทียมครับ ซึ่งผมคิดว่าหลายท่านชอบใส่ต้นหอม หรือไม่ก็หอมหัวใหญ่เพื่อเพิ่มความหอมและรสชาติกลมกล่อมจากความหวานแบบธรรมชาติ

ผมเสนอว่า พี่ครับ วันหลังพี่ลองเจียวไข่ใส่หอมหัวใหญ่บ้างซิ ผมว่ามันจะทำให้ไข่เจียวหอมขึ้นนะ (จริงๆแล้ว...มันจะทำให้ไข่เจียวอร่อยขึ้น แล้วผมจะไปพูดเช่นนั้นให้แม่บ้านรู้สึกไม่ดีทำไมกัน เพราะเราเริ่มต้นยุทธศาสตร์ด้วยการใช้ปิยะวาจา)

แม่บ้านบอกว่า เหรอจ๊ะ คราวหน้าพี่จะลองทำ แถวบ้านพี่มักใส่แต่กระเทียมน่ะ

ผ่านมาประมาณ 1 เดือนเศษหลังจากที่ผมเสนอเมนูไข่เจียวใส่หอมหัวใหญ่ วันนี้เมนูนั้นก็ปรากฏอยู่ตรงหน้าให้ได้รับประทานอย่างเอร็ดอร่อย

อย่างน้อยผมก็รู้ว่ายุทธศาสตร์ที่ผมนำมาใช้ได้ผล การสื่อสารในองค์กรก็เช่นกัน หากเราเปิดใจให้และรับ feedback โดยปราศจากอคติและลำเอียง ผมเชื่อว่าปัญหาเรื่องการสื่อสารในองค์กรจะค่อยๆหายไป คนในองค์กรก็จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ถ้าเริ่มต้นด้วยการใช้ปิยะวาจา และจริงใจต่อกัน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 101561เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยกับการใช้กลยุทธิ์นี้ค่ะ เคยใช้มาค่ะ

P
  • สวัสดีครับ
  • มีผู้ยืนยันว่ายุทธศาสตร์นี้ใช้ได้ผล...ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะ  (*_*)

  • อ่าน แล้ว คิด คิด คิด  ในที่สุดก็  ปิ๊ง  ปิ๊ง  ปิ๊ง
  • ขอบคุณค่ะ

 

ช่างแยบคาย แยบยลแท้ท่านจอมยุทธ์ ศิษย์จิวแป๊ะธง

         น่าได้จตุพลังอะไรนั่นนะบันทึกนี้

         ที่จริงการทำความรู้จักกับแม่ค้านั้นเป็นยุทธศาสตร์ที่เก่าแก่มานาน  เพียงแต่ปัจจุบันเราให้คุณค่าของแม่ค้าน้อยลงไป หรือในที่นี้คือแม่บ้านทำกับข้าวนั่นล่ะครับ ก็เป็นแม่ค้าเหมือนกัน

         แม่ค้าย่อมอยากพูดคุยกับลูกค้า อยากทราบว่าผลงานของเขาเป็นแบบไหน และแน่นอนเขาอยากได้แค่คำชมเท่านั้นล่ะคำติรับกันยาก

         วิธีชมจึงไม่ควรเวอร์เกิน วิธีติก็ไม่ควรให้ฟังดูรู้ออกในขณะนั้น ๆ

         ผมเห็นด้วยครับ  ยุทธศาสตร์ไข่เจียว น่าจะเป็นยุทธศาสตร์แม่ค้านะครับ

สวัสดีค่ะคุณข้ามสีทันดร

หิวข้าว...ได้ข้าวสวยร้อนๆมีไข่เจียวฟูๆ กรอบๆ หอม ๆใส่หอมหัวใหญ่...โอย ! คิดแล้วหิว..

ปิยะวาจาใช้ได้ทุกที่เลยนะคะ..

ขอบคุณค่ะสำหรับเทคนิคดีๆ

P

สวัสดีครับ

          พอจะเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ไหมครับที่ว่า คิด คิด คิด ในที่สุดก็ปิ๊ง ปิ๊ง ปิ๊ง นั้นน่ะคืออะไร เพื่อเป็นการต่อยอดความดี

P

สวัสดีครับ

แม่ค้าย่อมอยากพูดคุยกับลูกค้า อยากทราบว่าผลงานของเขาเป็นแบบไหน และแน่นอนเขาอยากได้แค่คำชมเท่านั้นล่ะคำติรับกันยาก

ในการทำงานก็เช่นกันครับ เราและเขาต่างก็เป็นลูกค้าภายในของกันและกัน การให้ feedback จำเป็นมากๆ สำหรับเรื่องการกล้าเปิดใจให้รับคำติ (เพื่อก่อ)  ก็ถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของผู้ฟังที่รู้จักฟังแบบแยกแยะได้ เป็นการฟังเชิงลึก

ขอบคุณครับ

P

สวัสดีครับ

ผมอ่านที่คุณเบิร์ดเขียนว่า...ข้าวสวยร้อนๆมีไข่เจียวฟูๆ กรอบๆ หอม ๆใส่หอมหัวใหญ่...ขอสารภาพว่ากลืนน้ำลายเลยครับ

เห็นด้วยครับ ปิยะวาจาใช้ได้ทุกที่ บางครั้งปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขยากก็กลับแก้ได้ง่ายถ้าเรากล้าเปลี่ยนแปลง กล้าปรับกรอบความคิดของเรา หลังจากนั้นคำพูดและการกระทำจะตามมาเอง 

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ 

แวะย้อนมาอ่าน"ยุทธศาสตร์ไข่เจียว" ..เลือก"ปิยวาจา"มาใช้ นับว่าแยบยลทีเดียวเชียว

เดี๋ยวนี้มีคำพูด"ผรุสวาจา" มากมายเหลือเกินจนน่าห่วง ครับ

ครับ...คุณ augustman

ช่วงนี้ผมได้ทานไข่เจียวใส่หอมใหญ่ตามยุทธศาสตร์บ่อยขึ้น แม้จะเป็นประเด็นเล็กๆน้อยๆก็ตาม แต่ผมว่าเราสามารถอนุมานได้.....กรณีนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดได้อย่างหนึ่งว่า เขาไว้ใจเรา เขาจึงปฏิบัติตามคำแนะนำครับ

อ่านแล้วยิ้มออกครับ  "ยุทธศาสตร์ไข่เจียว" ...น่ารักมาก

วางยุทธศาสตร์  เดินทางมีเป้าหมายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท