ระบายความกดดันจากการทำงานผ่านบันทึกใน blog


ในระหว่างการทำงานแต่ละวัน ย่อมพบกับปัญหาร้อยแปดพันอย่างทั้งจากผู้ร่วมงาน และสิ่งรอบข้าง
โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการหลายแห่ง
วิธีการทำงาน ทักษะ และความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ไอที ทั้งคอมพิวเตอร์ prinet Internet ฯลฯ แต่ละคนมีพื้นฐานในการใช้งานที่แตกต่างกัน

มีหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ต้องเสียความรู้สึก เมื่อจู่ๆฝ่ายหนึ่งในหน่วยงานนั้น มายกเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากห้องทำงานของเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์อย่างหน้าตาเฉย ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง แล้วเปลี่ยนเอาเครื่องที่มีสมรรถนะด้อยกว่ามาแทน


เมื่อเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์รู้เรื่อง ก็จำใจยอมรับ เพราะเจ้าหน้าที่ในฝ่ายนั้น มีอาวุโสมากกว่า
แต่การนำคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ไปใช้ ก็จะต้อง set up รายละเอียดต่างๆหลายอย่าง การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สำนักงาน เชื่อมต่อเครือข่าย และ internet สารพัด ทำให้เจ้าหน้าที่ในฝ่ายนั้นต้องเรียกเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์มาดำเนินการให้ ทั้งวัน จนเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์แทบจะไม่ได้ทำงานที่ตนเองรับผิดชอบเลย

มานึกอีกทีแล้ว ก็น่าน้อยใจ
ดูเหมือนว่า เจ้าหน้าที่ในฝ่ายนั้น คิดแต่เพียงว่า เมื่อเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่แล้ว การใช้งานน่าจะสะดวกราบรื่นขึ่น และคิดว่า เมื่อได้ไปอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของฝ่ายนั้นมา คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่น่าจะดีกว่า

แต่ไม่ได้สอบถาม ปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์เลย แต่ตัดสินใจยกมาโดยพลการ ตามใจชอบ

ในส่วนของเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีงานในส่วนที่ตนเองต้องรับผิดชอบ และได้สั่งซื้อ คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานในความรับผิดชอบของตนเองแล้ว เมื่ออยู่ๆมาถูกยกคอมพิวเตอร์ไปเฉย โดยไม่บอกกล่าวก่อน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด และกดดันอย่างมาก

ข้อมูลต่างๆที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ยกไป ยังไม่ทันได้บันทึก หรือทำสำเนาไว้ แต่อีกฝ่ายยกเอาไปใช้แล้ว
เมื่อเกิดติดขัด หรือมีปัญหากับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ สิ่งที่ทำได้ คือ ไปเรียกเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์มาแก้ไขให้ ทั้งปัญหาเล็กๆ และเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง นับตั้งแต่ไฟตก เป็นต้นไป


การทำในแบบนี้ ดูเหมือนจะยึดเอาตนเองเป็นที่ตั้ง และคิดเอาเองว่า ไม่เป็นไร เพราะเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้ว่าอะไร

ก็ใครจะไปกล้าว่าอะไรล่ะครับ ในเมื่อท่านอาวุโสมากกว่า และมีมารยาทมากกว่า

การทำงานที่พบในระบบราชการในแบบนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ อึดอัด อยากจะไปตะโกนดังๆในป่า น้อยใจอยากจะลาออกจริงๆ

แต่เพราะอยู่ในตัวเมือง ส่วนหนึ่งที่ทำได้ คือ โทรมาระบายกับนายบอน แต่ไม่รู้ว่า จะคลายความกดดันลงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะยังคงจะต้องพบเจอกับปัญหาในลักษณะนี้แบบรายวันในที่ทำงานอยู่เสมอ

เมื่อเข้าป่าไม่ได้ก็ต้องหาหนทางระบายความกดดันในความรู้สึก อีกช่องทางหนึ่งได้แก่ การเขียนบันทึกใน blog
จะ blog ไหนก็ย่อมได้ เพียงแต่ให้มีโอกาสได้ระบายความรู้สึกที่อึดอัดออกมาเท่านั้น
การเขียนออกมา ทำให้ได้ระบาย ได้กลั่นกรองความคิด ออกมาเป็นตัวอักษร



..เมื่อได้เขียนระบายออกมา จนหมดในสิ่งที่อยากจะระบายแล้ว ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นบ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม


ในส่วนของนายบอน เมื่อพบกับปัญหาทั้งเล็กทั้งใหญ่ เมื่อไม่สามารถที่จะไปพูดคุยหรือระบายกับใครได้ ก็ระบายผ่านการเขียนบันทึกนี่เอง ทั้งเขียนบันทึกใน gotoknow และไปเขียนระบายในที่อื่นๆ ซึ่งในที่อื่นๆนั้น ระบายออกมาอย่างเต็มที่ รุนแรงไปตามความรู้สึก เมื่อได้ปล่อยออกมาหมดแล้ว จะเริ่มรู้สึกอารมณ์เย็นลง

ข้อดีของการระบายความรู้สึกออกมาเป็นบันทึก
เมื่อเราอารมณ์เย็นลงแล้ว และเวลาผ่านไป เมื่อกลับมาเห็นบันทึกนั้นอีก จะทำให้เรานึกย้อนกลับไปได้ว่า ณ เวลานั้น เกิดข้อผิดพลาด เกิดปัญหาที่ตรงไหน และเมื่อสงบลงแล้ว ควรจะแก้อย่างไร

เป็นการทบทวนตัวเองไปในตัวด้วย

นี่คือ อีกมุมหนึ่งของการระบายความกดดันผ่านบันทึกใน blog ครับ

หมายเลขบันทึก: 101305เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบอน

ในช่วงขณะนั้นขณะที่กำลังเกิดความรู้สึกที่อยากจะระเบิดความรู้สึกออกมา..อยากตะโกนดังๆ พอได้ทำอย่างงี้มันเหมือนได้ปลดปล่อยความรู้สึก..ตูมมม ออกไปแล้วมันก็จะโล่ง..เพราะขณะที่กำลังเครียดและเก็บกดอยู่ขณะนั้นไม่สามารถเลยจริงที่จะเขียนระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาได้..ร้องไห้แน่เลย

เขียนได้ก็ดีนะครับ จะได้ทบทวนความรู้สึกที่ผ่านมาได้ด้วย
แต่ระบายออกทางอื่นได้ก็ดีเหมือนกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท