การประชุมผู้บริหารกรมฯครั้งที่ 29/2550


สินค้าที่ชาวบ้านผลิตกรมส่งเสริมการเกษตรให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและเป็นงานที่เราให้การสนับสนุนเกษตรกรตลอดเวลามานาน

การประชุมผู้บริหารกรมฯครั้งที่ 29/2550 วันที่ 5 มิถุนายน 2550 มีสาระสำคัญดังนี้

  • การรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปี 2550 มีการเบิกจ่ายไปแล้วคงเหลือร้อยละ 58(1,722 ล้านบาท) ขณะนี้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน และมอบหมายให้ทุกเขตรวบรวมการใช้จ่ายเงินและความก้าวหน้าโครงการ

 

  • การสร้างรายได้ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณได้ลดลงและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ดังนั้นศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้ง 48 ศูนย์จะมีปัญหาเรื่องงบประมาณ ทำอย่างไรจึงจะสร้างรายได้จากกิจกรรมที่ศูนย์มีและมีความถูกต้อง กรมฯจึงได้หารือกระทรวงการคลัง ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบ อย่างไรก็ตามท่านอธิบดีได้สั่งการให้มีการศึกษาแนวทางและวิธีการต่าง ๆ จากหน่วยงานที่มีการดำเนินงานในลักษณะนี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับการทำงานของกรมฯต่อไปเช่นกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ฯลฯ และให้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน โดยอาจเชิญกรมบัญชีกลางลงดูพื้นที่ด้วย ในระยะยาวควรมีการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรม และจะสามารถนำรายได้เหล่านี้มาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้และปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น

 

  • การสำรวจข้อมูลสินค้าเกษตรที่มีตรากรมส่งเสริมการเกษตร โดย สพส.ดำเนินงานใน 60 จังหวัด ปรากฎว่าสินค้าสดมี 145 รายการ แปรรูป 726 รายการ อื่น ๆ 102 รายการ แหล่งผลิตได้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 291 กลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 81 กลุ่ม ศูนย์ข้าวชุมชน 6 แห่งฯลฯ ที่ประชุมมีความเห็นว่าสินค้าที่ชาวบ้านผลิตกรมส่งเสริมการเกษตรให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและเป็นงานที่เราให้การสนับสนุนเกษตรกรตลอดเวลามานานแล้วด้วย ดังนั้นการให้กำลังใจแก่ผู้ผลิตเป็นเรื่องที่กรมฯควรให้การสนับสนุน จึงควรมีตรากรมฯ รับรองว่ากรมฯได้มีการให้การสนับสนุนสินค้าของเกษตรกรเหล่านี้ โดยจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ในการรับรองที่ชัดเจน และควรมีการโหวตแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้จากข้าราชการของกรมฯในระบบอินทราเน็ตต่อไปเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเพื่อความรอบคอบในการดำเนินงาน

 

  • การพัฒนาคุณภาพลิ้นจี่ นำเสนอโดยเขตที่ 6 

ผลผลิตลิ้นจี่ปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว ราคาตกต่ำลงเพราะมีผลไม้ออกมามาก แต่จังหวัดต่าง ๆ มีการส่งเสริมการขาย ขณะนี้มีลิ้นจี่ประมาณร้อยละ 20

มีข้อเท็จจริงปรากฎว่าพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ปัจจุบัน บางพื้นที่ไม่มีความเหมาะสมเพราะการปลูกมีเรื่องราคาเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรปลูกดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบางแห่งจึงเป็นเรื่องยาก สำหรับภาคเหนือ มีการปลูกมากในจ.เชียงใหม่  เชียงราย พะเยาและน่าน

แนวทางการพัฒนา

  • พัฒนาตาม zone การปลูก(เหมาะสม และไม่เหมาะสม)
  • ปรับปรุงดิน
  • รณรงค์เรื่องการเก็บเกี่ยวช่วงแก่เต็มที่
  • การคัดผลผลิตและบรรจุหีบห่อ
  • การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ผลผลิตชนิดใหญ่(จัมโบ้)
  • งดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว 25 วันเพื่อป้องกันไม่ให้มีสารเคมีตกค้าง

 เรื่องนี้ประธาน(ผอ.ปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ)กล่าวว่าควรมีการจัดทำในลักษณะกลุ่มคุณภาพนำร่องโดย สสจ.รับไปดำเนินการร่วมกับ สพส.และเขตต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีแนวทางที่ชัดเจนอันจะนำไปสู่การขยายผลต่อไป

  • การจัดสัมมนาเกษตรตำบลทั่วประเทศเพื่อรับทราบนโยบายและการเชื่อมโยงนโยบายต่าง ๆ ประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2550 กำหนดการจะแจ้งให้ทราบต่อไป

บันทึกมาเพื่อการแลกปลี่ยนเรียนรู้คะ

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

6 มิถุนายน 2550

หมายเลขบันทึก: 101082เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ต้องขอขอบคุณ คุณธุวนันท์ ที่ได้สะทอ้นมุมมอง สาระสำคัญของงานส่งเสริมการเกษ ตรจากแนวทาง ของนโยบายสู่การปฏิบัติ   นักส่งเสริมการเกษตรระดับการปฏิบัติอยู่ในภาคสนาม ก็คือคุณกิจ   จะต้องรับรู้เพื่อแปลงไปสู่การปฏิบัติจริง แต่ก็ต้องอาศัยทีมKMทุกระดับ โดยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ถ้าหากช่วยกันสร้างเครือข่ายทั้งในและนอกหน่วยงาน  งานที่คุณเล่ามาดังกล่าวนั้นคงจะพอมีทางสำเร็จ ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง เพราะว่าในอดีตรู้สีกว่าจะเคยทำกันมาแล้วทั้งนั้น แต่เราไม่ควรมองว่าเป็นภารกิจของเราคนเดียวนะใช่หรือไม่ครับ ถ้าพูดง่ายฯก็คือเราต้องบูรณาการกับหน่วยงานอื่นฯด้วยทุกระดับ วันนี้ผมขอลปรรแค่นี้ก่อนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท