วิธีแก้ปัญหาซึมเศร้าหน้าหนาว


ฤดูหนาวเป็นฤดูแห่งเทศกาลและการเฉลิมฉลอง... ขณะที่คนหลายกำลังมีความสุขสนุกสนานกลับมีคนอีกหลายคนมีแนวโน้มจะซึมเศร้าในฤดูหนาว

ฤดูหนาวเป็นฤดูแห่งเทศกาลและการเฉลิมฉลอง คนในประเทศตะวันตกต่างพากันรอคอยวันหยุดยาวตั้งแต่คริสตมาสจนสิ้นปีใหม่

ขณะที่คนหลายคนกำลังมีความสุขสนุกสนานกลับมีคนอีกหลายคนมีแนวโน้มจะซึมเศร้าในฤดูหนาว (seasonal affective disorder / SAD, winter blue, seasonal depression)

ประชากรสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะซึมเศร้าในฤดูหนาวประมาณ 10-20 % ผู้หญิงมีอาการนี้มากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 3 ต่อ 1

เกือบทั้งหมดมีอาการไม่มาก อาการมักจะทุเลาหรือหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่มีบางคนเป็นมากถึงกับฆ่าตัวตายได้

สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากฤดูหนาวมีช่วงเวลากลางวันลดลง เมื่อร่างกายได้รับแสงน้อยลงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงจรหลับ-ตื่น (sleep-wake cycle) และมีการหลั่งฮอร์โมนแห่งการหลับ หรือเมลาโทนินลดลง

ดร.ดักลาส ยาคอปส์ ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชแห่งฮาร์วาร์ดเมดิคอลสกูลแนะนำว่า คนที่มีอาการดังกล่าวควรหาโอกาสนั่งใกล้หน้าต่างให้มากขึ้น หรือออกไปรับแสงแดดให้มากขึ้น

ผู้เขียนขอแนะนำว่า คำแนะนำนี้น่าจะดีกับประเทศเขตหนาว หรือเขตอบอุ่น แต่น่าจะไม่เหมาะกับเขตร้อนเช่นประเทศไทย

เนื่องจากมีส่วนทำให้ได้รับรังสียูวีมากเกิน ผิวหนังจะเสื่อมเร็ว เสี่ยงมะเร็งผิวหนังและเสี่ยงต้อกระจก

อาจารย์ยาคอบส์แนะนำให้ไปอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากขึ้น เช่น ไปอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างมากหน่อย ฯลฯ

ตัวอย่างได้แก่ ห้องที่ติดหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือนีออนเพิ่มขึ้น ถ้าอาการมากอาจจะต้องรักษาด้วยการให้ไปอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมาก (light therapy) ให้ยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งส่วนใหญ่ได้ผลดีมากทีเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีจิตใจสดชื่น แจ่มใสไปนานๆ ครับ

  แหล่งที่มา:                                      
  • Graciele Flores. Help for people with seasonal depression > [ Click ] > http://go.reuters.com/newsArticle.jhtml?type=healthNews&storyID=10614283&src=eDialog/GetContent > December 16, 2005.
  • ท่านที่สนใจเรื่องอาโลกสัญญาโปรดค้นคว้าจากอรรถกถาวิสุทธิมรรค ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือฉบับมูลนิธิปราณี สำเริงราชย์.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
หมายเลขบันทึก: 10036เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2005 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท