somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

โรงเรียนพระยาประเสริฐฯ ร่วมโครงการ “การจัดการความรู้ KM" ครบรอบ 1 ปี


โรงเรียนพระยาประเสริฐฯ ร่วมโครงการ “การจัดการความรู้ KM" ครบรอบ 1 ปี จึงมีการทบทวน ตรวจสอบ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหาร ยกประเด็นแนวคิดของ..............
10 วิธีการจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กร 

โรงเรียนพระยาประเสริฐฯ  ร่วมโครงการ  การจัดการความรู้ KM"  ครบรอบ 1 ปี  จึงมีการทบทวน  ตรวจสอบ  ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหาร  ยกประเด็นแนวคิดของ..............

 

 ศ.นายแพทย์วิจารณ์ พานิช  ได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นแก่นเพื่อการปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นหัวใจ   ในการดำเนินงานจัดการกับความรู้ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาองค์กร

 

ประการที่ 1 จะต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยราชการจากวัฒนธรรมอำนาจ เป็นวัฒนธรรมความรู้ จากการบริหารงานแบบควบคุม สั่งการ รวบอำนาจ (command and control) แบบหวงอำนาจ เป็นบริหารงานแบบฟื้นฟูพลังอำนาจ (empower) ที่มีอยู่ในตัวตนของคนในองค์กร ในลักษณะการเรียนรู้ด้วยกัน

 

ประการที่ 2 การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) จะต้องดำเนินการให้คนในองค์การร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ (ปณิธาน) ความมุ่งมั่น (purpose) และเป้าหมาย (goal) ในการทำงานร่วมกัน โดย ไม่ได้แค่ร่วมกันกำหนดเท่านั้น แต่ต้องร่วมกันตี ความ ทำความเข้าใจซ้ำๆ จนลึกลงไปถึงวิธีปฏิบัติ พฤติกรรม ความเชื่อ และคุณค่า จนเกิดสภาพความเป็นเจ้าของ (ownership) ในวิสัยทัศน์นั้นในสมาชิกทุกคนขององค์การ ซึ่งเป็นการนำไปสู่การสร้างพลังรวมหมู่ สร้างพลังทวีคูณ (synergy) ในการทำงาน

 

ประการที่ 3 การสร้างและใช้ความรู้ในการทำงาน เมื่อมีการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานจะมีประสบ การณ์ ในประสบการณ์มี "ความรู้ในคน" (tacit knowledge) อยู่ ถ้าเอาความรู้จากประสบการณ์ ในผู้ร่วมงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจะเกิดการยกระดับความรู้ สำหรับนำไปใช้ในการทำงานให้มีผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

 

ประการที่ 4 การใช้ยุทธศาสตร์ "เรียนลัด" ในการทำงาน รู้จักเสาะหาความรู้ที่มีอยู่แล้ว ใช้การได้ดีอยู่แล้ว มาต่อยอดดัดแปลงใช้งานให้เหมาะสม โดยไม่ทำให้ต้องเสียเวลา มุ่งคิดค้นหาวิธีทำงานใหม่ๆ ด้วยตนเอง

 

ประการที่ 5 การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยยุทธศาสตร์เชิงบวก คือการเสาะหาตัวอย่าง "วิธีการยอดเยี่ยม" ในการบริหารจัดการเน้นคนเป็นศูนย์กลางให้พบ แล้วนำมายกย่องและจัดกระบวน การ "แบ่งปันความรู้" เพื่อขยายผลไปหน่วยงานอื่นๆ ภายในองค์การ ยุทธศาสตร์นี้ไม่มุ่งเน้นเสาะหาปัญหา ไม่เน้นการแก้ปัญหา แต่มุ่งเสาะหาความสำเร็จ เน้นการขยายผลสำเร็จ และยกระดับผลสำเร็จ ซึ่งยิ่งสร้างเจตคติเชิงบวก วิธีคิดเชิงบวก

 

ประการที่ 6 การจัดพื้นที่หรือเวที สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งอย่างไม่เป็นทางการ และอย่าง เป็นทางการ สำหรับให้คนในองค์การได้พบปะกันโดยตรง

 

ประการที่ 7 การพัฒนาคน โดยเน้นการพัฒนาคนผ่านการทำงานไปพร้อมๆ กัน คนที่เกิดการพัฒนาจะเป็นบุคคล เรียนรู้ มีทักษะในการ "เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติงาน" (interactive learning through action) มีทักษะในการใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน มีทักษะในการเรียนรู้จากผู้อื่น มีทักษะในการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

 

ประการที่ 8 การจัดระบบให้คุณให้รางวัล รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน ยศถาบรรดาศักดิ์เสมอไป รางวัลแก่ผลงานอาจต้องให้ แต่ทีมงานที่ร่วมกันสร้างผลสำเร็จ ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษความล้มเหลวที่เกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การ แต่ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้จากความล้มเหลว

 

ประการที่ 9 การสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อเพื่อนร่วมทาง การทำงานโดดๆ ตามลำพังแต่เพียงองค์กรเดียวจะขาดพลัง พอทำไประยะหนึ่งจะล้า ท้อถอย และอาจล้มเหลวได้

 

ประการที่ 10 การจัดทำ "ขุมความรู้" (knowledge assets) ขุมความรู้เป็นการรวบรวมความรู้ที่ถอดมาจากการทำ "ความรู้จากการปฏิบัติ" และความรู้เพื่อการปฏิบัติ เมื่อได้รวบรวมเป็น "ขุมความรู้" บันทึกไว้ก็จะทำให้ความรู้ของบุคคลกลายเป็นความรู้ขององค์การ สามารถนำมาใช้ได้ง่าย และมีการจัดระบบให้ค้นหาง่าย รวมทั้งคอยปรับ ปรุงให้ "สด" ทันสมัย

 

การจัดการกับความรู้ตามวิธีการดังกล่าวนี้   น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการที่ผู้บริหารองค์กรนำไปใช้ในทางปฏิบัติ   เพื่อ ให้สามารถนำกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
หมายเลขบันทึก: 100194เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

อาจารย์ขา   กระต่ายน่ารักค่ะ

อยากได้รปูวันกีฬาสีจังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท