อนุทิน 32317


วาสนาอธิษฐาน
เขียนเมื่อ

กรณีศึกษาเรื่อง "การุณยฆาต" ไปอ่านเจอ น่าสนใจขอแปะไว้ก่อน

   “การุณยฆาต” ในแนวคิดที่ 3 ที่ว่า ผู้ป่วยไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และไร้การรับรู้ทางสมอง กาืรยืดชีวิตไว้ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยหรือไม่ เราจะมีทางเลือกอย่างไรบ้าง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ “ฟื้นไม่ได้ ตายไม่ลง” จะถือว่าเป็นการยืดชีวิตโดยที่ผู้ป่วยไม่ปรารถนาจะทนกับภาวะทรมานนั้นอีกต่อไปหรือไม่ (ทั้งที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน และไร้การรับรู้) ทางออกที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ การให้สิทธิผู้ป่วยวาระสุดท้าย อยู่ในสภาพที่พร้อมตายอย่างมีศักดิ์ศรี สงบ และมีสติ โดยมีคนรักรอบข้างที่ยอมรับการจากไปอย่างมีสติและเห็นความตายเป็นธรรมชาติ แนวคิดในซีกวัฒนธรรมตะวันตกเช่นนี้เป็นที่มาของการจัดหาสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 7 (hospiceหรือ in-home hospice ) ให้เตรียมตัวตายอย่างมีศักดิ์ศรี และตายอย่างมีสติ ปราศจากการยืดชีวิตไว้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ

ที่มาจากลิงก์นี้ วาระสุดท้ายแห่งชีวิตและสิทธิการตาย http://www.ipsr.mahidol.ac.th/content/Home/ConferenceII/Article/Article14.htm



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท