อนุทิน 31670


กวิน
เขียนเมื่อ

บางขุนเทียน @  173513

การที่สันนิษฐานว่า คำว่า บางขุนเทียน นั้น เพี้ยนมาจากคำว่า "บางขุนเกวียน" โดยเชื่อว่า บริเวณนี้เคยที่ชุมชนเกวียน ซึ่งแต่ละกองเกวียนจะมีผู้นำคอยอารักขาที่เรียกว่าขุนนั้น แม้นว่า เมื่อดูผิวเผิน การเพี้ยนเสียงอาจจะเป็นไปตามกฎของกริมม์ (ตามข้อสันนิษฐานที่ว่าเกิดจาการเพี้ยนเสียงจากคำว่า เกวียน เป็น เทียน) ทว่า การเพี้ยนเสียงตามกฎของกริมม์นี้หากสังเกต จะเพี้ยนอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ในกลุ่มที่มีแหล่งกำเนิดเสียงเดียวกัน ตามตารางสรุปความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงของบาลีและสันสกฤต

ตัวอย่างเช่นการเพี้ยนเสียงของ กลุ่มเสียง T เพี้ยนเป็น A 

- เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ โอฏฐชะ(ริมฝีปาก) ได้แก่

ปฺราสาท เพี้ยนเป็น าสาท (ภาษาอีสาน)
ปฺรชฺญา  เพี้ยนเป็น ญา

- เพี้ยนเป็น ซ (ส,ษ,ศ) หรือกลับกัน  ซ (ส,ษ,ศ) เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ทันตชะ(ฟัน) ได้แก่
กุล เพี้ยนเป็น ตระกูล
ภิกษุ เพี้ยนเป็น ตุ๊ (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ตาลุชะ (เพดาน) ได้แก่
ฎฺฐา เพี้ยนเป็น เษฎา
ายา เพี้ยนเป็น าญา (มโนหรานิบาต ฉบับสงขลา)
าติ เพี้ยนเป็น จ้าด (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น  หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ กัณฐชะ (ลำคอ)
กุณฺโฑ เพี้ยนเป็น นโท
กุณฺฑี  เพี้ยนเป็น นที
กฺษีร (เกษียร) เพี้ยน เป็น เษียร 


ฉะนั้น คำว่า เกวียน จะเพี้ยนเป็น คำว่า เทียน {เสียง ท ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณทันตชะ (ฟัน)}  นั้นเป็นไปได้ยากมาก อนึ่งในปีที่ นายนรินทรธิเบศร์ แต่ง นิราศนรินทร์ (ประมาณปี พ.ศ.2336) ได้เดินทางผ่านบริเวณเขต บางขุนเทียน และได้เอ่ยนาม บางขุนเทียน ไว้ในโคลงนิราศ ทว่านายนรินทร์กลับมิได้บรรยายถึง กองคาราวานเกวียน ที่น่าจะมีอยู่คับคั่งบริเวณนั้น จากโคลงนิราศนรินทร์เราจึงพอที่จะอนุมานได้ว่า ในปี พ.ศ.2336 ลงมา คนไทยในสมัยนั้นใช้คำว่า บางขุนเทียน เป็นที่แพร่หลายแล้ว

คำว่า ขุนเกวียน นี้ มีความหมายพ้องกับ คำว่า นายฮ้อย ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน คำว่า นายฮ้อย ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการค้าขาย และมักเรียกตามชื่อประเภทสินค้า ดังนั้นกลุ่มคนที่ค้าขาย วัว-ควาย จะถูกเรียกขานว่า นายฮ้อยวัว-ควาย 
'ตลาดวัว-ควาย' ในขณะนั้นอยู่ในถิ่นภาคกลาง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางยาวนานรอนแรมหลายเดือน ดังนั้นการจะนำวัว-ควาย ไปขายจึงต้องอาศัยการรวมตัวเดินทางกันเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัย (7)

บริเวณที่มีขบวนเกวียนมาพักอาศัยบ่อยๆ จนเกิดความคุ้นเคยกับชาวบ้านในละแวกนั้น ชาวบ้านละแวกนั้นก็น่าที่จะเรียก สถานที่นั้น ว่า บางนายฮ้อย ตามภาษาอีสาน มากกว่าที่จะเรียกว่า บางขุนเกวียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาคกลาง
 และที่สำคัญที่สุด คำว่า เกวียน และ เทียน นั้น ไม่น่าที่จะเพี้ยนได้ในระยะเวลาแค่ 200 กว่าปี เพราะเป็นคำที่คนไทย รู้จักดี ทั้งคำว่า เกวียน และเทียน ฉะนั้นตาม ทรรศนะของผู้เขียนคำว่าบางขุนเทียนนี้ มิได้เกิดจากการเพี้ยนเสียง และมิได้เรียกชื่อตามกองคาราวานเกวียน หากแต่คำว่า เทียน นี้น่าจะเป็นคำที่ใช้เรียก ชื่อเต่า ซึ่งมีอยู่มากมายบริเวณเขตชายทะเล  ซึ่งเนื้อหาจะอธิบายในย่อหน้าถัดๆ ไป ในลำดับนี้จะขอวิเคราะห์ศัพท์ ที่ปรากฎในคำว่า บางขุนเทียน ดังต่อไปนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (ออนไลน์) ให้คำจำกัดความ คำว่า บาง ไว้ความว่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท