อนุทิน 30817


กวิน
เขียนเมื่อ

คนไม่มีราก @30788 + @25529  

"ความผิดพลาดของคนอื่นเรามักจะเห็นชัดเจนใหญ่โตแต่ความผิดพลาดของตัวเองเรามองเท่าไหร่ก็มองไม่ค่อยจะเห็นเอาเสียเลย"

อรรถ นี้ ตรงกับอรรถ ในโคลงโลกนิติที่ว่า

โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง   เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา        ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา       หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น   เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛

เมล็ดงา กับภูเขา คือ อุปมาอุปไมย (metaphor) ระหว่าง ความผิดของคนอื่น (เมล็ดงา/เล็กน้อย) กับความผิดของตนเอง (ภูเขา/ใหญ่โต) จริงๆ ถ้าใช้การคิดบวก (Posivtive thinking) เข้ามาอธิบายอรรถ ดังกล่าวก็จะได้ว่า คนที่เพ่งโทษของผู้อื่นนั้น เขากำลังทำ SWOT Analysis ให้กับผู้อื่นอยู่ แต่ทว่าเป็น SWOT Analysis ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมนุษย์ย่อมมี พฤติกรรม(ดี/เลว) ที่ตนเองทำไปแล้ว ตนเองไม่รู้ แต่ผู้อื่นรู้ (บริเวณจุดบอด) หรือ พฤติกรรม(ดี/เลว) ที่ตนเองทำไปแล้ว ทั้งตนเองและผู้อื่น ก็ไม่รู้ (บริเวณมืดมน) 


[ทฤษฎีทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ : แบบลายเส้นของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (The Johari-Window : graphic Model of Awareness in Interpersonal Relation) ของ โจเซฟ ลุฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม (Joseph Luft and Harry Ingham)] 

งงมั้ย จะยกตัวอย่าง กรณีศึกษา (Case study) ให้ฟัง 

Ex :

ผู้หญิงคนหนึ่ง แอบชอบผู้ชายคนหนึ่ง ผู้ชายคนนี้ชอบถ่ายรูป วาดภาพ พอเรียนจบมหาวิทยาลัย ทั้งสองคนไม่ได้แต่งงานกัน ผู้หญิงคนนี้ ก็ยังรักผู้ชายคนนั้นอยู่ แม้นต่อมาเธอจะแต่งงานมีลูกกับผู้ชายอีกคนแล้วก็ตาม ฉะนั้นกิจกรรมที่ผู้ชายที่เธอรักชอบทำ เช่นถ่ายรูป วาดภาพ แต่งกลอน เธอก็รักด้วยเช่นกัน ต่อมาเมื่อเธอระหองระแหงกับสามี สามีไม่ให้เวลากับเธอ เธอก็จึงรู้สึกเคว้งคว้าง และรู้สึกว่าตนเองขาดความรักความอบอุ่น แม้นเธอจะไม่ได้แต่งงานกับคนที่เธอรัก แต่เธอก็เลือก ทำกิจกรรมเลียนแบบคนรักเก่าของเธอ (ถ่ายรูป วาดภาพ แต่งกลอน) และเมื่อเธอ เห็นผู้ชายบางคนที่ชอบถ่ายภาพ วาดรูป แต่งกลอน เธอก็จะรู้สึกดีๆ ด้วย และรู้สึกเหมือนกับว่าเธอนั้นได้อยู่ใกล้ๆ กับผู้ชายคนที่เธอรัก ฉะนั้นแม้นว่า เธอจะอยู่กับสามีของเธอ ในยามที่เธอวาดรูป หรือถ่ายภาพ หรือแต่งกลอน (เธอก็ย่อมคิดถึง แฟนเก่า) หรือในยามที่เธอไปกับผู้ชายคนอื่นที่ไม่ใช่สามี ในที่นี้หมายถึงเพื่อนๆ ของเธอ เพื่อถ่ายรูป วาดภาพ หรือแต่งกลอน (เธอก็ย่อมคิดถึงแฟนเก่า) พฤติกรรมที่เธอทำไปทั้งหมดนี้ ตัวเธอเองอาจจะมองว่าไม่มีอะไรเสียหาย แต่คนทั่วไปจะมองว่าไม่เหมาะสม (การมีผู้ชายมากหน้าหลายตาเข้ามาพัวพันในชีวิตย่อมไม่เหมาะสม) เพราะเป็นสภาวะที่เธอขาดความเข้มแข็ง ขาดความอบอุ่น ขาดความเชื่อมั่นที่จะรักตนเอง โหยหาความรักความอบอุ่นจากผู้อื่น (ผู้อื่นที่เธอคิดว่าเหมือนแฟนเก่าของเธอ : สิ่งที่เธอรู้สึกว่าขาด ก็คือความรักจากแฟนเก่า และสามี)

บริเวณเปิดเผย ก็คือ เธอชอบ วาดภาพ ถ่ายรูป แต่งกลอน มีครอบครัวอบอุ่น

บริเวณซ่อนเร้น ก็คือ ญาติ/มิตร (บางคน) ของเธอไม่รู้ว่าเธอมีปัญหากับสามี

บริเวณจุดบอด ก็คือ เธอมองว่าเธอมีสุขกับการถ่ายรูป วาดภาพแต่งกลอน และมีคนมาเอาอกเอาใจ ห่วงใย (สิ่งที่เธอขาดจากสามี และแฟนเก่า) แต่ผู้อื่นมองว่า ไม่เหมาะสมที่เธอจะนำเรื่องราว ของครอบครัวตนเองไปเล่าให้ผู้ชายผู้อื่นฟังเพื่อเรียกร้องความสนใจ (แทนที่จะเล่าให้ญาติพี่น้องของเธอฟัง) และผู้อื่นที่รู้ย่อมมองว่า เธอไม่ได้รักลูก ของเธอ แท้ที่จริงแล้วเธอรักตัวของตัวเธอเอง

บริเวณมืดมน
(ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ แม้นแต่ตัวเธอเอง)

ฉะนั้นการทำ SWOT Analysis (ที่ไม่สมบูณ์) ให้เธอจึงยังมีความจำเป็นอยู่ (แม้นว่า คนอื่นๆ รวมทั้งตัวเธอจะมองว่าเป็นเรื่อง เมล็ดงา) ก็ตาม คนเราถ้ารู้ว่า คนอื่นมองตนเองอย่างไร ก็น่าที่จะปรับปรุงตัวให้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป กว่าที่เป็นอยู่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท