อนุทิน 29912


กวิน
เขียนเมื่อ

"ผู้รู้(มาก)ไม่ค่อยพูด ผู้พูด(มาก)ไม่ค่อยรู้"

ประโยคนี้ไม่ถูกต้องนัก  เพราะถ้าถูกต้อง หากนำไปเทียบกับอีกตรรกะหนึ่ง อีกตรรกะหนึ่งนี้ก็ต้องถูกต้องด้วยนั่นคือ

"คนรักลูกมากมักไม่ค่อยเขียนถึงลูกมาก คนเขียนถึงลูกมากมักไม่ค่อยรักลูกมาก"

ศาสดาทุกศาสดา ทรงพูดมากเหมือนกันหมด (พูดสั่งสอนชาวประชา) เก้าะแสดงว่าท่านไม่รู้?

หรือ

"คนฉลาดย่อมไม่เชื่ออะไรง่ายๆ มาก คนเชื่ออะไรง่ายๆ มากมักไม่ใช่คนฉลาด"

หรือ

"คนฉลาดมากมักไม่ รัก โลภ โกรธ หลง มาก คนที่ยัง รัก โลภ โกรธ หลง มา คือคน โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่" (โง่มาก)

นั่นคือ เปลี่ยนจากการ เขียนบล็อก ดึกๆ ดื่นๆ บรรยายว่ารักลูก ไปดูแลลูกจะถูกกว่า

โดยสรุป คนฉลาดมาก  ทำอะไรก็มักจะถูกมาก/ ไม่ว่าจะเป็น ฟัง คิด ถาม เขียน (คนโง่ทำอะไรก็มักจะผิดหมด แต่ คนส่วนมากต้อง โง่ ก่อน จึงฉลาดทีหลัง?) เอแล้วทำไมหนังจีนจึงมีสำนวนที่ว่า รักนะเด็ก
โง่ (เด็กที่โง่ ทำอะไรก็คงจะดูน่ารักไปหมด แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ล่ะ?)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท