อนุทิน 29670


กวิน
เขียนเมื่อ

ห้องเรียนกวี 1 กลอนล้อบทครู @ 230617 โดย ครูกานท์ 

ครูครับ กลอนของ ด.ญ. ภูสุภา ที่ว่า

เสียงดอกไม้ริมทางดอกหนึ่ง       ตัดพ้อกับผึ้งน้อยน้อยว่า
เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้ มา           ครั้นสมปรารถนาแล้วลาไกล
เสียงใบไม้ริมทางอีกข้างหนึ่ง      สื่อสารถึงดอกไม้หวานหวามไหว
หมู่ภมรบินว่อนเร่ร่อนไป             ตัดพ้อฤๅมีวันผันเปลี่ยนแปลง

1. ที่ ด.ช. กวินเห็นจากกลอนของ ด.ญ.ภูสุภา ก็คือ มีการ ชิงสัมผัส ในกลอน เพราะคำว่า ไกล ส่ง สัมผัสระหว่างบท กับคำว่า ไหว แต่คำว่า ไม้ ดันมาชิงสัมผัสไปเสียก่อน เวลาอ่านออกเสียงจึงทำให้กลอนฟังแล้วแปล่งๆ หูนะครับ เอ๋ยเอิงเงิงเงย

2. ด.ญ.ภูสุภา ชี้นำผู้อ่าน (ไม่ควรทำ) คือ ในกลอนของ ด.ญ.ภูสุภานั้นใช้ คำว่า หิว เป็นสัญลักษณ์แทน ความรัก (ราคะ) จึงไม่น่าที่จะ เอ่ยชี้นำในกลอนอีกว่า  ความหิว นั่นน่ะหรือคือ ความรัก ยกตัวอย่างกลอนของ ด.ญ.ภูสุภา ท่อนที่ว่า "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา"

อนึ่งกลอนท่อนที่ว่า "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา" อาจเป็นไปได้ว่า ด.ญ. ภูสุภา ต้องการใช้คำว่า หรือ? ในเชิงตัดพ้อว่า  การที่คุณผึ้งบินมาหาคุณดอกไม้ นั้น เป็นเพราะว่าคุณผึ้ง มีความรัก+คิดถึง ต่อคุณดอกไม้ (บินด้วยความจริงใจ) หรือ เพราะว่าคุณผึ้ง หิว (หวังดื่มน้ำหวานจากเกสรดอกไม้) แล้วจึงบินมาหา คุณดอกไม้ (บินมาด้วยความไม่จริงใจ) 
 
และ ด.ญ. ภูสุภา ควรใช้คำว่า ได้มา เป็น บินมา แทนนะครับ เพราะคำว่า ได้มา นั้น ด.ช.กวินอ่านแล้วเข้าใจผิด และคิดว่า คำว่า ได้มา มีความหมายเหมือนคำว่า ได้(รับ)มา ทำให้ตีความแล้วขัดแย้งกับบริบท (งงไปพักหนึ่ง) 

แต่ถ้าหาก ด.ญ.ภูสุภา ใช้คำว่า บินมา แทน ยกตัวอย่างเช่น "เมื่อหิวนักหรือรักจึงบินมา" ก็จะทำให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าตัวละครในกลอนนั้นคือ ผึ้งตัวผู้  ได้บินมาเชยชมดอกไม้แล้วก็ บินไป

วกกลับมาพูดเรื่อง สัญลักษณ์ ที่ ด.ญ.ภูสุภา ใช้ โดยใช้ ความหิว เพื่อสื่อถึงความ ความรัก ด.ช.กวินเห็นว่า ความรักนั้น มีทั้งที่ทำให้ อิ่ม และที่ทำให้ หิว และที่ทำให้ ไม่อิ่มไม่หิว (อยู่ที่ว่าเราจะเลือกมีความรักแบบไหน?) เหมือนที่คุณ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ร้องเพลง น้ำตาหอยทาก ท่อนที่ว่า "เธอบอกว่ารักนั้นกินไม่ได้ เธอไม่เข้าใจ ยามรักไม่กินก็อิ่ม ลองทบทวนดูสัมผัสอ่อนนิ่มไม่อิ่มไม่หิวพร่ำเพ้อรำพัน" การให้คำจัดกัดความคำว่ารัก ว่าคือ หิว "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา" เช่นนี้นั้น ทำให้พาลนึกถึง เปรต ผู้มีความ หิว ด้วย อาจทำให้กลอนขาด สุนทรียะ ได้นะครับอาจารย์ครับ

จาก ด.ช.กวิน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท