อนุทิน 29260


krutoiting
เขียนเมื่อ

การอ่านบันทึกนี่ดีมาก เพราะนอกจากจะได้ความรูเพิ่มเติม แบบสบายดี ไม่มีตัวกำหนดกฏเกณฑ์ ของการเรียนรู้ รู้ ในสิ่งที่อยากรู้ พอใจเรียนก็เรียน เป็นการเรียนที่ลุ่มล฿ก เพราะเกิดจากความต้องการ และมีความสุข วันนี้ได้อ่านบันทึกการจัดกิจกรรมค่ายของอ.ขจิต หลายคนบอกว่า อ. จัดกิจกรรมแบบเดียวกัน เหมือนๆ กัน แต่สำหรับฉัน นั้น ไม่รู้สึกอย่างนี้เลย เพราะกิจกรรมเหมือนกัน แต่ต่างวาระ ต่างสถานที่ ต่างบุคคล ผู้จัดต้องมีความชำนาญมาก กิจกรรมจึงจะบังเกิดผลตามคาดหวัง  นอกจากนี้ เราจะพบว่าการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง แม้ในสภาพที่เหมือนกัน ผู้จัดต้องนำจิตวิทยาการเสริมแรงมากระตุ้น มาท้าทายให้เด็กเกิดความต้องการเรียนรู้ ปัญหาจึงอยู่ที่ทำอย่างไรจะดำเนินกิจกรรมนั้นๆกับกลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่มได้  การนำเสนอกิจกรรมก็มีเทคนิคที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยูกับสภาวะของผู้เรียนในจณะนั้น   การประเมินผลการการเรียนรู (การเล่น) และการประเมินหลังเล่น รวมทั้งการสัมภาษร์ความรู้สึก ล้วนเป็นกระบวนการของความสำเร็จทั้งสิ้น

สำหรับกิจกรรมที่อ.อยากถามเด็กๆ (กิจกรรม scissor ,hammer , paper เด็กเป่ายิงฉุบ ตอนแรกทุกๆคนต้องเป็น frog ถ้าชนะถึงเป็น monkey ชนะอีกเป็น bird ในที่สุดถึงเป็น human กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้คำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์และ scissor ,hammer , paper จริงแล้วกิจกรรมนี้อยากสัมภาษณ์(interview) คนแพ้ว่ารู้สึกอย่างไร ให้คนแพ้แสดง ) ฉันเองก็พอมีข้อมูลที่เก็บความรู้สึกของเด็กๆหลังจากพ่ายแพ้ไว้ เป็นความรู้สึกที่ครูต้องหากิจกรรมมานำเสนอเด็กๆ เพื่อก้าวไปส่การแก้ไขด้านจิตใจ เพราะแพ้บ่อยก็ไม่ดี มันจึงเป็นศิลปะแห่งการจักกิจกรรม  จัดอย่างไรให้สนุกอย่างมีความหมาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท