อนุทิน 29076


กวิน
เขียนเมื่อ

อาจารย์ของกวินเขียนคำพูดของ อริสโตเติลติดไว้ที่ข้างๆ โต๊ะทำงานว่า "ความดีของมนุษย์ สิ้นสุดเมื่อเล่นการเมือง" (หรืออาจารย์จะเตือนตัวเองว่าอย่าใจอ่อนผันตัวเองไปเล่นการเมือง) สำนวนนี้คงจะหมายถึงว่าคนดีๆ ก็ถูกป้ายสีให้ดูเลวร้ายไปได้ หรือคนที่ดีๆ เมื่อตกอยู่ในวังวนของระบบการเมืองที่ชั่วร้ายก็อาจจะพลอยชั่วร้ายไปด้วย อีกสำนวนหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ ในวิชารัฐศาสตร์ก็คือ "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร" คงจะหมายถึง ในยามที่มีผลผระโยชน์เกื้อกูล แม้ศัตรูก็อาจจะโอนอ่อนมาเป็นมิตร (เพราะหวังผลประโยชน์) และแม้เป็นมิตร แม้ไม่มีผลประโยชน์เกื้อกูลกัน หรือขัดผลประโยชน์กัน มิตรภาพนั้น ก็อาจจะกลายเป็นศัตรู ไปเสียก็ได้ เมื่อใดก็ตามที่นักการเมืองคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์แห่งตน หรือคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง ก็นับได้ว่าไม่มีความเลวใดที่นักการเมืองจะทำไม่ได้  แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้อภัย ดูอย่าง จอมพลถนอม หรือ พลเอกสุจินดา ที่เคยมีคนเคยออกมาเดินขบวนขับไล่ประท้วง พอถึงบั้นปลายชีวิต พวกเขาก็กลับมายังแผ่นดินไทยได้ จริงๆ การให้อภัย+ลืมง่าย (โกรธง่ายหายเร็ว) นี้ เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ของสังคมไทยในคราวเดียวกัน นักการเมืองไม่เกรงกลัว กฎหมาย มีเพียง กฎแห่งกรรม เท่านั้นที่นักการเมือง พอที่จะยำเกรงอยู่บ้าง ภาวนา+ให้อภัย ให้แก่นักการเมืองที่เคยทำผิดมาก่อน คงไม่มีใครไม่เคยทำผิด ขอให้เริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีๆ และเกรงกลัว อำนาจกรรม ให้เยอะๆ สังคมก็คงสงบสุขกว่านี้นะครับ :)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท