อนุทิน 25900


กวิน
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับอาจารย์ wwibul @25892 และพี่ ภูสุภา @25875 

ศ.ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ (ราชบัณฑิต) อรรถาธิบายถึงหลัก "การกลมกลืนเสียงตามตัวหลัง (Regressive assimilation) ไว้ในหนังสือ ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น หน้า 139-140 ความว่า การกลมกลืนเสียงตามตัวหลัง (Regressive assimilation) เกิดขึ้นในกรณีที่เสียงของหน่วยคำหลัง มีอิทธิพลทำให้เสียงในหน่วยคำข้างหน้าต้องคล้อยตาม เช่น

คำว่า พรุ่งนี้ มาจากคำว่า พรุ่กนี้
(ก) ถูกอิทธิพลของ (น) ซึ่งตามมาข้างหลังกลมกลืนให้เป็นเสียงนาสิกมีฐานเสียงที่เพดานอ่อน จึงกายเป็น (ง)

คำว่า (คิดเอาเอง)ถ่ายเดียว (rationalization) มาจากคำว่า (คิดเอาเอง)ฝ่ายเดียว (rationalization) 
(ฝ) ซึ่งเป็นเสียงเสียดแทรก (ฟ) ถูกอิทธิพลของ (ด) เป็นเสียงหยุดมีฐานที่ปุ่มเหงอก ทำให้ (ฟ) กลายเป็น เสียงหยุดมีฐานที่ปุ่มเหงือกเช่นเดียวกัน และยังคงลักษณะธนิตและเสียงวรรณยุกต์เอกไว้เช่นเดิม" (1)

อนุสติ  ขนาดการออกเสียง ก็ยังสามารถเกิด ปรากฎการณ์ เออ-ออ-ห่อ-หมก  ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความวิปริตผิดเพี้ยนในการออกเสียง ปรากฎการณ์ เออ-ออ-ห่อ-หมก นี้จะเกิดขึ้นได้น้อยลง เมื่อมนุษย์เลือกที่จะ หมกมุ่น ศึกษาหาความรู้ในแขนงวิชา นิรุกติศาสตร์ เพิ่มเติม จะเห็นได้ว่าความ ผิด/เพี้ยน นั้นก็สืบเนื่องมาจากกลไกทางกาย ซึ่งหากปล่อยให้เกิดการ พูดที่ ผิด/เพี้ยน บ่อยครั้งขึ้น(โดยไม่พยายามแก้ไขปรับปรุง/นิ่งเฉย/ไม่สะทกสะท้าน) จนทำให้ การพูด ผิด/เพี้ยน  นั้นเกิดเป็น นิสัย สิ่งที่จะตามมาจากการพูด ผิด/เพี้ยน ก็คือ  คำพูดที่ ผิด/เพี้ยน

เมื่อเกิด คำพูดที่ ผิด/เพี้ยน ก็อาจจะเกิดความเข้าใจที่ เพี้ยน+ผิด ในท้ายที่สุด เมื่อสังคม ยอมรับในสิ่งที่ เพี้ยน+ผิด สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่ ผิดเพี้ยน


(1) อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ต้นธรรม ; 2537.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท