อนุทิน 24735


กวิน
เขียนเมื่อ

เด็กดอยใจดี+แครอท (Carrot)+อัพยากตธรรม เกี่ยวข้องกันอย่างไร? @ 219256

"นิทานการจัดการเรื่องลาโง่กับไม้เรียว เป็นอมตะนิทานที่สอนเรื่องการจูงใจทีมงาน มานาน จนไม่แน่ใจว่ามีที่มาอย่างไร แต่ยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่ยุค Performance management เรื่องก็มีเพียงคำถามสั้นๆที่ว่า ชาวนาคนหนึ่งต้องพาลาไปทำงาน ถามว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ลาตัวนั้นเดินไปข้างหน้า มีคำตอบในเรื่องนี้อยู่ 2 แนวทาง โดยแนวทางที่ 1 ใช้ไม้เรียวตี (Stick) เมื่อลาถูกตีย่อมเดินไปข้างหน้า แต่ถ้าหยุดตีเมื่อไรลาตัวนั้นก็หยุดต้องตีต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่หมาย(Goal) แนวทางที่ 2 ใช้ไม้ยาวๆ ผูกแครอท ล่อไว้ที่หน้าของลา เมื่อลาอยากได้แครอทก็จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆเช่นกัน เรื่องนี้มีนัย อย่างไรในการบริหารจัดการ เราคงเดาได้ว่า ไม้เรียว คือสิ่งที่ลาไม่ชอบ เปรียบเสมือนการลงโทษ คำตำหนิ คำขู่ ฯลฯ ต่างๆ เมื่อลา (พนักงาน) ถูกลงโทษ ก็จะทำงาน ไปเรื่อยๆ เมื่อไรที่ไม่มีการลงโทษก็จะหยุด ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็น การเสริมแรงทางลบ ( Negative raienforcement) ปัญหาคือลูกน้องจะทำงานก็ต่อเมื่อมีแรงกระตุ้นที่พอดี แต่ถ้ากระตุ้นมากไป (ตีแรงไป) อาจโดนลาเตะเอาได้! ถ้าเช่นนั้นการใช้แครอท ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่มีข้อควรคำนึงไว้บางประการเกี่ยวกับลักษณะของการใช้แครอทดังนี้ 1. แครอทต้องมีขนาดที่พอดี บางคนบอกว่าจะใช้แครอทเพื่อล่อให้ลาเดิน แต่ใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กจน ลาไม่สนใจ จะล่อเท่าไรก็ไม่ไปสักที เลยเอาไม้นั้นแหละ หวดลาเข้าจนได้ เปรียบเสมือนบางบริษัทที่ให้ incentive ที่ไม่จูงใจเอาเสียเลย เมื่อพนักงานทำงานจนบรรลุ KPI ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย หรือการผลิต แบ่งมาแล้วได้เดือนละ ร้อยกว่าบาท อุตส่าห์ทำแทบตาย บางครั้งเจ้านายยังบอกว่าเป็นหน้าที่เสียอีก แล้วจะมีลา (โง่) ที่ไหนจะทำงานให้ 2. แครอทที่มีกลิ่นตุ เป็นการให้ผลตอบแทนที่ไม่จูงใจ เปรียบเสมือนเอาแครอทเน่าๆ มาล่อ บางองค์กรก็หารางวัลที่พนักงานไม่สนใจ หรือ อยากได้เท่าไร บางทีจึงมีวิธีการให้รางวัลที่หลากหลายตามกลุ่มของพนักงาน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่นพนักงานในวัยรุ่น ชอบรางวัลที่หวือหวา พวกเครื่องประดับ งานสังสรรที่มีบรรยากาศสนุกสนานฯลฯ แต่ขณะที่พวกสำนักงานชอบการท่องเที่ยว การพักผ่อน เรื่องสุขภาพ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม เงินเป็นรางวัลสากล ที่ทุกคนยอมรับกันอยู่แล้ว 3. แครอทที่อยู่ไกล ใช้ไม้ยาวเกินไปจนลา (ที่สายตาสั้นอยู่แล้ว) ก็มองไม่เห็น บางองค์กรบอกว่าจงทำงานให้เต็มที่ สิ้นปีจะมีโบนัสรออยู่ วาดฝันไกลอย่างนี้ พนักงานจะมีแรงกระตุ้นได้อย่างไร ควรมีการให้รางวัลระยะสั้นบ้างเป็นขวัญกำลังใจ 4. แครอทที่แกว่งไปมาบนไม้ บางบริษัทตั้งเงื่อนไขรางวัลไว้แบบยากเกินไป เช่นต้องสะสมคะแนนหลายๆ KPI แล้วเอามาคูณกัน จนคนทำงานจำไม่ได้ว่า KPI ตัวไหนทำได้เท่าไหร่ เลยไม่สนใจก้มหน้าก้มตาทำไปเรื่อยๆ ดีกว่า อย่างนี้ก็เหมือนแครอทที่แกว่งไปมาจนลามองจนตาลาย จะให้กินหรือเปล่านี่ ไม่สนใจดีกว่า คุณคงคิดได้อีกว่ามีแครอทประเภทอื่นๆ ได้อีก เรื่องทำนองนี้คงอยู่คู่กับหัวหน้า และลูกน้องไปอีกนาน ไม่ว่าจะใช้ดัชนีชี้วัดการทำงาน ของลาอย่างไร อย่าลืมให้ Carrot ที่เหมาะสมกับลาของเราด้วยหละ" (1)


อ้างอิง

(1) Wanna (นามแฝง). THE CARROT AND STICK. เวปไซต์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง April 2007 [cited 2008 October 28]. (0 screens). Available from: http://www.mmmru.com/php80/modules.php?name=Tutorials&t_op=showtutorial&pid=27



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท