อนุทิน 23985


บุณยกร
เขียนเมื่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยตรัสถึงเรื่องการเมืองโดยเน้นไปยัง

บทบาทของผู้นำทางการเมืองเอาไว้ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พระราชา(=ผู้นำทางการเมือง)

ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้พวกข้าราชการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

แม้พราหมณ์และคหบดี(=ชนชั้นนำและชนชั้นกลางนักธุรกิจ)

ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เเม้ชาวนิคม(ชาวเมือง)และชาวชนบท

(ประชาชนทั่วไป)ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม...

  ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พระราชาตั้งอยู่ในธรรม แม้พวก

ข้าราชการ ก็ตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดี..

แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็ตั้งอยู่ในธรรม..

  หากพระราชา(ผู้นำ)ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองก็เป็นทุกข์

หากพระพระราชา(ผู้นำ)ตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองก็เป็นสุข

   ท่านพุทธทาสเคยกล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องมีธรรมะในการเมืองว่า

"ธรรมะกับการเมือง เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ แยกกันเมื่อไหร่

 การเมืองก็เป็นเรื่องทำลายโลกขึ้นมาทันที"

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)เคยกล่าวถึงการเมืองกับธรรมะว่า

   "คนที่ถือธรรมเป็นใหญ่ และยอมให้แก่ธรรมนั้นเรียกเป็นคำศัพท์ว่า

ธรรมาธิปไตย คนในสังคมประชาธิปไตยแต่ละคนจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ยกธงธรรมขึ้นนำหน้า เอาธรรมเป็นตราชู.."

  มหาตมะ คานธี ยืนยันว่าการเมืองเป็นเรื่องของธรรมะดังความตอน หนึ่งว่า

"ผู้ที่ที่พูดว่า ศาสนาไม่เกี่ยวกับการเมืองนั้น เป็นผู้ที่ไม่ทราบ

ความหมายของคำว่า..ศาสนา..สำหรับข้าพเจ้า การเมืองที่ปราศจากหลักธรรมทางศาสนา เป็นเรื่องของความโสมมที่ควร

สละละทิ้งเสียเป็นอย่างยิ่ง การเมืองเป็นเรื่องของประเทศชาติ

และเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของประเทศชาตินั้น(ดังนั้นการเมือง) ต้องเป็นเรื่องของผู้มีศีลธรรมประจำใจ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องนำเอาศาสนจักรไปสถาปนาไว้ในวงการเมืองด้วย"

_/!\_ปราชญ์จะไม่สร้างอำนาจให้แก่ตนจนคนกลัว

ไม่กล้าติไม่กล้าท้วง..ส่วนผู้แค่ฉลาด(เฉโก)จะสร้างอำนาจ

ให้แก่ตนจนคนกลัวไม่กล้าติไม่กล้าท้วง..._/!\_

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท