อนุทิน 22777


กวิน
เขียนเมื่อ

"ไม้บรรทัดวัดระยะกะกำหนด 
หากโค้งคดหมดคุณค่าหมองราศี
ตาชั่งเฉียงเอียงเพราะทรัพย์สุดอัปรีย์
โอ้ความดีนี่หนอแพ้แก่ศฤงคาร
" (1)

ไม้บรรทัด เมื่อโค้งคดไม่เที่ยงตรง เสียแล้ว จะนำไว้ วัดวาสิ่งใดได้ตรงและเที่ยง ตาชั่ง เมื่อเอียงกระเท่เร่ จะใช้ชั่ง ได้อย่างสมดุลไฉน?

ในสภาพสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สิ่งที่จะทำให้ ไม้บรรทัด และตาชั่ง พิกลพิการ ก็ด้วยเพราะ อคติ นั่นเอง วันนี้ผู้เขียนจักขออรรถาธิบายถึงคำว่า คติ และ อคติ ไว้ดังนี้

คดี=คติ=คต= โดยบริบทแปลว่า ทาง มาจากคำว่า

ค(ไป)+ติ(ปัจจัย/suffix) = คติ แปลว่า ไปแล้ว
ค(ไป)+ต(ปัจจัย/suffix) = คต แปลว่า  การไป

คำว่า อคติ=อ+คติ แปลว่า ไม่ไปตามทาง(เดิน) ไม่ทีทาง(เดิน) หรืออาจแปลว่า ไม่ควรเดิน ไม่ควรไป หรืออาจแปลว่า ไม่ควรประพฤติ ก็ได้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า อคติ ไว้ความว่า 

"อคติ [อะคะ] น. ความลําเอียง มี 4 อย่าง คือ" (2)
 
      1. ฉันทาคติ  แปลว่า ลำเอียงเพราะรักกัน 
      2. โทสาคติ  แปลว่า ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน หรือเพราะโกรธกัน
      3. โมหาคติ  แปลว่า ลำเอียงเพราะโง่เขลา เพราะความหลงงมงาย เพราะความไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไรถูก อย่างไรผิด อย่างไรควร อย่างไรไม่ควร
      4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะความเกรงใจ

มีต่อ...

อ้างอิง

(1) กวิน (นามแฝง). กฎหมาย กลายหมด. กวีนิพนธ์ (poem). [cited 2008 October 7]. Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/pbk/187392

(2) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. [cited 2008 October 7]. Available from: URL;  http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท