อนุทิน 20759


กวิน
เขียนเมื่อ

น้องพลอย ม.บูรพา กำลังเรียนวิชาร้อยกรอง เลยวานให้ เฮียเต๋า (กวิน) แต่งโคลงกระทู้ เกี่ยวกะ พันธมิตรฯ ให้ ถามน้องเขาว่า อยากได้แบบ แนวคิดลบ หรือแนวคิดบวก  น้องเขาบอกว่า อยากได้แนวคิดลบบ้างเพราะแนวคิดบวก มีคนแต่งเยอะแล้ว ก็เลยแต่งให้น้องเขา 2 บท ใช้เวลาประมาณ 2 นาที พร้อมคำแปล กลัวโดนอาจารย์ซักแล้วจะตอบอาจารย์ไม่ได้ (เฮียเต๋าเป็นคนรักเด็ก)

พัน
พัวมัวกู้ชาติ-           สยาม
รณิศติดไฟลาม          ระอุแท้
มิ ดับอัคคีความ-           เคืองเคียด
ตรา กฏกูไว้แก้-             ก่อเกื้ออัตตา

พัน ผูกปลูกโกรธแค้น-    ขุ่นกมล
เลาะเบาะแว้งจน         จริตบ้า
มิ ใช้ อเวร วน-              เวียนว่าย เวรเอย
ตรา บ่ บอดโพกผ้า        เก่งรั้นกฎหมาย       (ตาไม่บอด แต่เอาผ้ามาโพกหน้าโพกตา ทำให้มองไม่เห็นกฎหมาย)

1.ตรงวรรคที่ว่า  "พันพัวมัวกู้ชาติ สยาม" ตำแหน่งตรงคำว่า กู้ชาติ ตามฉันทลักษณ์โคลง เอกโท/โทเอก สามารถสลับที่ได้

2.ตรงวรรคที่ว่า "ณิศติดไฟลาม ระอุแท้" วรรคแรก และวรรคที่สองนี้ใช้คำเกินกว่าที่ฉันทลักษณ์โคลงกำหนด (วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 2 พยางค์+คำสร้อย 2 พยางค์) ซึ่งในโคลงต้นแบบใช้คำเกินคือวรรคแรกใช้ 6 พยางค์ วรรค์สอง ใช้ 3 พยางค์ ด้วยเหตุเพราะ คำว่า  ณิศ คำว่า ระ เป็นคำ ลหุ ถือว่า ณิศ  เมื่ออ่านเร็วๆ จะทำให้พยางค์ในการออกเสียง ลดลงเสมือนมีแค่ 2 พยางค์ เช่นเดียวกันกับวรรคหลัง คำว่า "ระอุแท้" (3 พยางค์) จริงๆ แล้วคำว่า ระอุ (เป็นคำ ลหุ ทั้งคู่) แต่เมื่ออ่านควบกับคำว่า "ระอุแท้" คำว่า อุ เสียงจะแผ่วเบากว่าคำว่า ระ ดังนั้นเมื่ออ่านเร็วๆ จะทำให้พยางค์ในการออกเสียง ลดลงเสมือนมีแค่ 2 พยางค์ 

3. ท่อนที่ว่า "ขุ่นมล" หรือ "ริตบ้า" ก็เช่นเดียวกัน หลักการณ์เช่นเดียวกันกับข้อ 2

4.ธรณี+อิศ (เข้าลิลิต อิศ) เป็น ธรณิศ ความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม แปลว่า แผ่นดิน

5.วรรคที่ว่า "มิใช้อเวรวนเวียนว่ายเวรเอย" อเวร นี้มาจาก สพฺเพ  สตฺตา  อเวรา โหนฺตุ  ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด"

จะทำให้พยางค์ในการออกเสียง ลดลงเสมือนมีแค่ 2 พยางค์

7. โคลงบทที่สองวรรค 4 สำนวนเดิมใช้ว่า "ตรา รางขังผู้กล้า เก่งรั้นกฎหมาย" แก้เป็น "ตรา บ่บอดโพกผ้า เก่งรั้นกฎหมาย" เหตุผลที่แก้เพราะคำว่า ราง (เสียงสามัญ) แต่ฉันทลักษณ์ของโคลงวรรคนี้ กำหนดให้ใช้คำที่มีเสียง เอก จึง ต้องแก้ทั้งวรรค



8. การใช้คำว่า าราง=ตาราง และ ตาบ่บอด=ตาบ่บอด การแทรก กลางคำเช่นนี้ถือเป็นอักขรวิธีโบราณที่กวีโบราณนิยมใช้ ยกตัวอย่าง เช่น สนุก โบราณ เขียนว่า นุก หรือดังที่นายผี แทรก เอาไว้ในคำว่า โซ่ ว่า โซร่ ใน บทกวีนิพนธ์ "(เรา)ชนะแล้วแม่จ๋า" ความว่า

คิดคิดยิ่งขื่นขม         ยิ่งระทมระทวยใน
ใจเจ็บยิ่งเจ็บใจ         ยิ่งเจ็บแค้นบ่แคลนคลอน
คิดแค้นความบีบคั้น   ที่อาธรรม์อนาทร
เคียดใจคือไฟฟอน    ขอฝากไว้แก่วันคืน
ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้          ไม่พรุ่งนี้ก็มะรืน
จะล้างให้โหดหืน        นั้นเหี้ยนหายทุกแห่งหน
หน้านิ่วคิ้วขมวด         ให้เจ็บปวดไปทั้งตน
ร้อนไล้ดั่งไฟลน         ทะลึ่งลุกด้วยฤทธา
ชี้นิ้วระริกริก               เพียงผลุนพลิก พสุนธรา
เหม่มึงนี่หนอมา          ประมาทกรแก่พวกกู
จะเอาให้พลิกคว่ำ        คะมำหงายแลจงดู
จะเอาให้เหล่าสู          ลงซบดินลงแดยัน
เสียงศาปเสทื้อนไป     ทั้งหล้าโลกระรัวรัน
เสียงโซร่ที่สอดพัน-     ธนาการก็กร่างดัง
ดังรับทุกแห่งหน          ทั้งสากลที่เกอะกรัง
เลือดกรรมกรทัง-         หมดบ่หมาดก็มีใจ
ปางนั้นแลน้องแก้ว-      กรรมกรผู้เกรียงไกร
เอ็นดูแก่น้องใน-          อ้อมอกแม่มาอาดูร
ทรุดนั่งลงเคียงน้อง      ตระกองกอดแก้วกำลูน
ร่ำร่ำพิลาปปูน-            จะปราศห้วงหัวใจจร

(อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 521)


จบการ เลคเชอร์ ให้เด็กน้อย ในวิชา ร้อยกรองไทย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท