อนุทิน 20456


กวิน
เขียนเมื่อ

กุง : ชีวิตนี้สั้นนัก @ 178711

สวัสดีครับพี่ชิว ขอแสดงทรรศนะทางภาษาศาสตร์ โดยใช้สูตร จริงเจ็ด เท็จ(มั่ว)สาม ดังนี้นะครับโดยยึด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย์ฯ ในการอ้างอิง

บิณฑ-  [บินทะ-]  แปลว่า ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).

คำว่า ปิณฑะ เวลาแจกแจงวิภัตติ (inflection) จะได้ว่า ปิณฺโฑ  ซึ่งอาจเพี้ยนเสียง เป็น ปิ่นโต (ที่ใส่ข้าว) 

บาต  แปลว่า ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น (suffix) เช่น

อสนีบาต = การตก แห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า
อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสงสว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต)
บิณฑบาต=การตกแห่งก้อนข้าว (พจนานุกู)

บิณฑบาต =น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยา  ที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง  กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาต  ให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).

 
ส่วนคำว่า บาตร  [บาด] แปลว่า ภาชนะชนิดหนึ่งสําหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร

บาตร กับคำว่า บาต มีรากศัพท์ (Root) เดียวกัน   แต่นำมาใช้ต่างกัน คำนี้คล้ายคำว่า

จันทะ=จันทรฺะ
อินทะ=อินทรฺะ

การแทรกเสียง ร แบบไม่ประวิสรรชนีย์ คาดว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ทราบว่า คำนั้นๆ ควรออกเสียง อะ แผ่วเบาลงกึ่งเสียง เทียบกับ

สรนุก (ในปัจจุบันเขียนว่า สนุก)
ครหึม (ในปัจจุบันเขียนว่า คระหึม)

บิณฑบาตร/บิณฑบาต เทียบกับคำว่า อินท-อินทรฺะ / จันท-จันทรฺะ
คำว่า บาต+ร  คำนี้น่าจะถูกตัดมาจากคำว่า บิณฑบาต ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึงการตกแห่งก้อนข้าว

คำว่า บิณฑบาต  ต่อมาความหมายของคำขยายกว้างขึ้น โดยใช้เรียก กริยาขณะที่พระสงฆ์ออกภิกขาจาร 

และคำว่า บาต+ร=บาตร แทนที่จะหมายความว่า ตก ,ตกไป ความหมายของคำก็กลับขยายกว้างขึ้น และถูกนำไปใช้เรียก ภาชนะชนิดหนึ่งที่ภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท