อนุทิน 17451


กวิน
เขียนเมื่อ

สุขทุกข์ คือของคู่โลก (โลกธรรมแปด : มีลาภ คู่กับเสื่อมลาภ มียศ คู่กับเสื่อมยศ มีสุข คู่กับ เสื่อมสุข/เสื่อมสุขจึงมีทุกข์ มีสรรเสริญ คู่กับเสื่อมสรรเสริญ/ถูกนินทา) ฉะนั้น เมื่อมีสุข ควรพิจารณาให้รู้เท่าทัน ว่า สุขหนอ สุขหนอ สุขหนอ สักสามหน ก็จะได้สติกลับคืนมา  เมื่อมีความสุข หรือเมื่อมีความทุกข์ ควรทำใจให้ เป็นกลางๆ สุขมากก็เพราะทุกข์น้อย ส่วนทุกข์น้อย ก็เพราะมีสุขมาก เวลามีสุขสุขหัวใจก็จะโป่งพอง เอ้ย พองโต เวลามีทุกข์ หัวใจก็จะ ห่อเหี่ยว แต่อย่างไรก็ดีโลกธรรมแปด นั้นก็เป็นไปตามหลัก ไตรลักษณ์ คือล้วนแล้วแต่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป  นั่นคือ เมื่อมีเหตุแห่งความสุข ความสุขย่อมเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสุขขึ้นก็จึงตั้งอยู่ แต่ไม่นานความสุขก็ย่อมจะดับไป เช่นเดียวกันกับความทุกข์  เมื่อมีเหตุแห่งความทุกข์ ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้น ก็จึงตั้งอยู่ แต่ไม่นานความทุกข์ก็ย่อมจะระงับดับไป (ติด->ดับ) เมื่อมี่ความทุกข์ พิจารณาให้รู้เท่าทัน ว่า ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ สักสามหน เมื่อรู้เห็นความทุกข์ นั้นแล้วก็ทำการสวัสดี(ทักทาย)ความทุกข์นั้นเสีย (เพราะเขาคือเพื่อนสนิทของมนุษย์ทุกๆ คน) เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ฉะนั้นมนุษย์จึงมีเพื่อนมากหน้าหลายตา เช่นเดียวกันกับความทุกข์ที่มีมากหน้าหลายตา/มีหลายรูปแบบ (พระสงฆ์จึงมักปลีกวิเวกไปในสถานที่อันควรโคจร เมื่อปลีกวิเวก ก็จึงมีมิตรแห่งทุกข์น้อยตามไปด้วยฉะนี้) ทุกข์เพราะ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  ทุกข์เพราะ กิเลสตัณหา และอุปาทาน ฯลฯ ทุกข์เกิดเพราะอะไร ก็ดับที่อันนั้น เมื่อทุกข์ได้ดับไปชั่วคราวแล้ว แม้นไม่สุขไม่ทุกข์ก็ควรพิจารณาต่อไปว่า ไม่สุขไม่ทุกข์หนอ ไม่สุขไม่ทุกข์หนอ ไม่สุขไม่ทุกข์หนอ ..



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท