อนุทิน 168831


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การเห็นปาตานีโดยถ้วนทั่ว: การตรวจสอบร่างกายเพื่อยืนยันการมีอยู่จริงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอนที่ 2

เจ้าหน้าที่ต่างกระตือรือร้นในการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากพวกมาเลย์มุสลิมระหว่างที่ไปตรวจค้นที่ด่าน, บุกเข้าไปในบ้าน, หรือได้จากโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะตรงที่มีสีแดง ซึ่งเป็นถิ่นที่ผู้ก่อการดำรงตนอย่างเข้มแข็ง ในวันที่ 3 เมษายน ปี 2015 นักกิจกรรมมาเลย์มุสลิม และหัวหน้านักเรียนมีการทดสอบดีเอ็นเอแบบบังคับขึ้น หนึ่งเดือนต่อมา คณะกรรมการสหประชาชาติด้านการขับไล่ทางเชื้อชาติได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยถึงความอึดอัดที่ไทยมีการบังคับการตรวจดีเอ็นเอที่อาจส่งผลให้เกิดการเหมารวมทางชาติพันธุ์ การบังคับการเก็บดีเอ็นเอเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเดือนเมษายน ปี 2019 เมื่อกองทัพไทยตัดสินใจในการเก็บดีเอ็นเอเพราะเป็นส่วนหนึ่งในการเกณฑ์ทหาร เพื่อจุดประสงค์ความปลอดภัยแห่งชาติ นโยบายนี้ประยุกต์ใช้ในจังหวัดปาตานี, ยะลา, นราธิวาส, และบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่มีมาเลย์มุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สะบ้าย้อย, เทพา, นาทวี, และจะนะ ผลลัพธ์อันหลีกเลี่ยงไม่ได้คือมีการรหัสดีเอ็นเอในข้อมูลที่เป็นทางการจำนวนมาก และเจ้าหน้าที่สามารถสอดส่องประชากรเหล่านี้

รัฐบาลเพิ่งออกนโยบายการลงทะเบียนซิมเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากมีการเก็บดีเอ็นเอของทหารเกณฑ์ใหม่ ต่อมาในวันที่ 20 มกราคม ปี 2020 รองนายกฯ ประวิตรวงษ์สุวรรณ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ควบคุม CCTV ของเทศบาลปัตตานี และประกาศว่ารัฐบาลจะได้นำปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ เข้ามาในกล้องสอดแนมอย่างน้อยก็ประมาณ 8,200 ตัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามรายงานปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่จับจ้องและสังเกตเหตุร้ายได้ดียิ่งขึ้น เพื่อรับประกันความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ จนถึงทุกวันนี้ มันก็ยังไม่ชัดเจนเลยว่าจะมีการทำงานประสานสอดคล้องระหว่างปัญญาประดิษฐ์ที่ประวิตรพูดถึงกับระบบการจดจำหน้าตานั้นได้หรือไม่?

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Chanatip Tatiyakaroonwong. The Patani Panopticon: biometrics in Thailand’s deep south.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท