อนุทิน 168637


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความหมายเบื้องหลังหน้ากาก: ทำไมหน้ากากอนามัยจึงฮิตในเอเชียและไม่นิยมในยุโรป ตอนที่ 5

ในตอนนั้น มีคนตายจากโรคระบาดประมาณ 40 คน ซึ่งการระบาดถึงจุดสูงสุดในฮ่องกง และเริ่มระบาดในแผ่นดินใหญ่ การโต้ตอบที่จำกัดของตะวันตกคือการคิดว่าโรคซาร์เป็นอาการบาดเจ็บของเอเชียเท่านั้น นักข่าวชื่อ Ian Young ที่กำลังเขียนรายงานในฮ่องกงในตอนนั้นเขียนว่า สำหรับรุ่นทั้งหลายของชาวฮ่องกง โรคซาร์ส่งผลทางจิตคล้ายๆกับเหตุการณ์ 9/11 ความจริงเหมือนจะไม่จริง ไม่มีความกลัวใดเป็นไปไม่ได้

สอง หน้ากากถูกสนับสนุนโดยรัฐบาลเป็นอย่างมาก ในตอนนั้น คนไทยก็มีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมน้อยกว่าชาวญี่ปุ่น ดังนั้นหน้ากากจะถูกใช้โดยดาราหรือผู้มีชื่อเสียง ถูกกระจายในรัฐสภา เจ้าหน้าที่ และนักข่าว อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากไม่ถูกสนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก และพวกหน้ากากก็ยังไม่ถูกใช้แบบประจำด้วย ยิ่งไปกว่านั้นโรคซาร์ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

ในคำกล่าวทางการแพทย์ 2 ชิ้นเสนอว่า “หน้ากากกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ของความตั้งใจทั้งในแง่ส่วนบุคคลและสังคมเพื่อที่จะได้รับการควบคุม ถึงแม้ว่าคุณค่าของมันในเชิงสังคมจะถูกตั้งคำถามก็ตาม”

ถึงแม้ว่าจะไม่พูดถึงระดับที่อันตราย หรือประสิทธิภาพของมัน การสวมหน้ากากก็เป็นหน้าที่ทางสังคม คือการส่งนัยยะถึงความพร้อมเพรียงในสังคมที่ถูกทำร้าย และการตระหนักรู้ว่าชาติกำลังผจญกับวิกฤตการณ์สาธารณสุข

“มันเป็นการรับรู้ถึงความสำคัญของความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยสมาชิกในชุมชน ที่มองว่าหน้ากากคือสิ่งที่ดีที่สุด

ทำไมตะวันตกกึงไม่ใช้หน้ากาก?

ในเวลาเดียวกับที่โรคซาร์กำลังแพร่กระจายในเอเชีย แต่ประเทศฝรั่งเศสผ่านกฎหมายห้ามการใช้ผ้าคลุมหน้าของมุสลิมในโรงเรียน

พวกตะวันตกมีวัฒนธรรมที่เป็นมาอย่างช้านานแล้วถึงการห้ามการปิดหน้าในที่สาธารณะ (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าจะเกิดจากประวัติศาสตร์เรื่องศาสนาคริสต์ หรือการฟื้นฟูความรู้หรือมไม่?)

แปลและเรียบเรียงจาก

Jasmine Chia. Meaning behind the mask: why the face mask is promoted in Asia but shunned in Europe



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท