อนุทิน 167671


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การให้สุขภาพถ้วนหน้าแต่ปราศจากการทดสอบถ้วนหน้า การมาถึงในการทดสอบช้าในประเทศไทยอาจค่าใช้จ่ายมากมาย ตอนที่ 1

โดยปกติประเทศไทยได้รับเกียรติในเรื่องระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และการให้สุขภาพแบบถ้วนหน้า ความแข็งแกร่งของระบบสุขภาพคือการให้ความสำคัญกับการรณรงค์เรื่องสุขภาพและการรักษาสุขภาพขั้นปฐม ซึ่งมันจะบ่งชี้และสนับสนุนประชาชนในเรื่องปัญหาสุขภาพโดยผ่านเจ้าหน้าที่สุขภาพระดับชุมชน ที่น่าประทับใจคือประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลางที่อยู่ในระดับต้นๆของดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพของโลก ซึ่งจะให้แก่ประเทศที่มีความสามารถในการรักษาสุขภาพที่เกิดขึ้นจริง เช่น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ

เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพระบบสาธารณสุขไทย ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าทำไมประเทศไทยจึงไม่มีความพร้อมในการทดสอบโรคโควิท 19 ให้มากกว่านี้เสียที ประเทศไทยยังคงทดสอบเพียงแค่คนที่มีความเสี่ยงทางโรคระบาดเท่านั้น เช่น คนที่เดินทางไปต่างประเทศสู่ประเทศที่มีโรคเกิดขึ้น และมีอาการถึงเข้าโรงพยาบาลเท่านั้น คนเป็นจำนวนน้อยที่จะผ่านการทดสอบ

สิ่งนี้ไปกันได้กับรายงานว่าคนที่สงสัยว่าติดเชื้อ และไม่ได้รับการทดสอบ และถ้าคนไข้ต้องการที่จะทดสอบ พวกเขาต้องควักเงินจ่ายเอง ค่าใช้จ่ายมีจำนวนสูง โรงพยาบาลเอกชนยิ่งแพง บางครั้งถึงกับทำให้คนป่วยไม่อยากไปรักษาที่นั่น โดยรวมทั้งหมดคนประมาณ 6,000 คนที่ได้รับการทดสอบ และจะได้ผลประมาณวันที่ 22 มีนาคม คิดเป็นก็ราวๆ 100 การทดสอบต่อประชากรล้านคน สิ่งนี้ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการทดสอบที่ต่ำที่สุดในโลก

การทดสอบโควิท 19 จำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าหลายประการ เช่น การเก็บตัวอย่าง, เครื่องมือห้องทดลอง, เครื่องมือในการป้องกันส่วนบุคคล (PPE) มีหนึ่งในการนำเข้าสามารถเป็นตัวจำกัด ซึ่งต้องมีทั้งหมด

แปลและเรียงโดย

Anthony C. Kuster. Universal coverage without universal testing: Thailand’s delay in access to testing may be costly



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท