อนุทิน 167082


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การถอนรากประชาธิปไตย: สงครามแห่งความทรงจำ และมรดกที่หายไปของคณะราษฎร ตอนที่ 8

อย่างไรก็ตาม การทำลายมรดกของคณะราษฎรมีทั้งมีจิตสำนึก, ทำลายโดยตั้งใจ, และการทำลายไม่ตั้งใจ เพราะว่าประวัติศาสตร์ในยุคนี้สามารถที่จะลบจากความทรงจำของผู้คน ดังนั้นผู้คนเลยเกิดอาการลืมได้ง่าย การทำลายจึงน่าเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด

กรณีของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นกรณีตัวอย่าง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 2014 (พ.ศ. 2547) จังหวัดบุรีรัมย์ได้ย้ายอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ เทศบาลบุรีรัมย์อ้างว่าการเกิดเคลื่อนย้ายเพื่อต้องการแก้ปัญหาจราจร ก่อนหน้านี้เคยย้ายจากวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด ต่อมาจึงถูกย้ายอีกครั้งเนื่องจากมีการสร้างพระเมรุมาศจำลง (a replica royal funeral pyre) ในช่วงการถวายพระเพลิงรัชกาลที่ 9 ในที่สุดเดือนตุลาคม ปี 2019 (พ.ศ. 2562) เพจ Phalo พบว่าส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ถูกทิ้งเป็นกองขยะอยู่ที่ที่ทำงานของกรมการก่อสร้างจังหวัด (Public Works Department of the municipality)

เมื่อไม่มีการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่งานรื่นเริงที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยก็ค่อยๆหมดไป ดังนั้นผู้คนในท้องถิ่นจึงลืมว่าอนุสาวรีย์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรกับพวกเขา และลืมไปว่าพวกเขาเคยดำรงอยู่ ดังนั้นอนุสาวรีย์เหล่านี้จึงถูกแทนที่, ปรับเปลี่ยน, และทำลายไปโดยง่าย ในปัจจุบันยังคงมีอนุสาวรีย์อยู่เพียง 5 จังหวัดในภาคอีศานก็คือ มหาสารคาม, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, และชัยภูมิ

ในขณะที่มรดกของคณะราษฎรถูกทำให้หายไปทีละชิ้นทีละชิ้น ในวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2019 (พ.ศ. 2562) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นประธานในการเปิดห้องศรีสิทธิสงคราม และห้องบวรเดช ในพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ห้องทั้งสองนั้นตั้งขึ้นมาจากพระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าการกบฏบวชเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ตาของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นองคมนตรีในตอนนี้

แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. Uprooting Democracy: The War of Memory and the Lost Legacy of the People’s Party.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท