อนุทิน 167031


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การถอนรากประชาธิปไตย: สงครามแห่งความทรงจำ และมรดกที่หายไปของคณะราษฎร ตอนที่ 4

ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) หลังจากสิ้นสุดความวุ่นวายที่เกิดจากกบฏบวรเดช และพวกกบฏผีบุญ (Holy Men’s rebellion) หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) ผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม คิดว่าประชาชนในพื้นที่ไม่มีความเข้าใจในระบอบรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะว่าพวกเขายังเชื่อกับคำพยากรณ์หรือคำทำนายจากกบฏผีบุญ ด้วยพวกผีบุญกล่าวอ้างว่าตนคือผู้วิเศษ เป็นพ่อมด ดังนั้นเขาจึงคิดการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญขึ้นมา

ศรัญญู กล่าวว่า “สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างอนุสาวรีย์ก็คือมันไม่ได้เริ่มต้นจากการสั่งการจากกรุงเทพฯ แต่คือเกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการในเมืองนั้น นักธุรกิจและประชาชนต่างลงขันกันเพื่อสร้างที่หมาย (landmark) ขึ้นมา”

หากมองภาพรวมในอนุสาวรีย์เหล่านี้ เราจะเห็นว่าพวกมันจะถูกสร้างตรงศูนย์กลางของเมือง หรือเป็นที่ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่นในจังหวัดมหาสารคาม ครั้งแรกอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด ต่อมาได้ย้ายไปที่เทศบาลเมือง (town municipal office) ในสุรินทร์ ตั้งที่ศาลากลางจังหวัด ในบุรีรัมย์ จะตั้งอยู่ตรงวงเวียนน้ำพุใกล้กับตลาด ก่อนถูกรื้อไป ในร้อยเอ็ด จะอยู่ที่ตรงเกาะของบึง ลาน ชัย (Bueng Lan Chai)

พื้นที่เหล่านี้เคยถูกใช้เป็นที่จัดการรื่นเริง หรือจัดกิจกรรม เช่น การฉลองรัฐธรรมนูญ หรือการฉลองวันชาติ ที่ในสมัยคณะราษฎรอยู่นั้นยิ่งใหญ่มาก ครั้งแรกจัดในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1932 (พ.ศ. 2475) เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเกิดขึ้น เริ่มที่กรุงเทพฯ ต่อมาก็ขยายไปที่จังหวัดต่างๆ

เมื่อคณะราษฎรสูญเสียอำนาจ การฉลองรัฐธรรมนูญเริ่มสูญความสำคัญและหายไปทีละเล็กละน้อย ทุกวันนี้ตรังคือจังหวัดเดียวที่ยังมีการฉลองรัฐธรรมนูญอยู่ ส่วนจังหวัดอื่นๆ มันได้กลายเป็นงานกาชาดหมดแล้ว (Red Cross fairs)

สัญลักษณ์ของระบบใหม่ไม่ได้อยู่ที่อนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังปรากฏบนจั่ววัดปงสนุก (Pong Sanuk) จังหวัดลำปาง, หน้าปกของหนังสือโรงเรียน, ยอดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (crest), ตราสัญลักษณ์ของร้อยเอ็ด (ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นเสาหลักเมืองแทน), และสัญลักษณ์ของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. Uprooting Democracy: The War of Memory and the Lost Legacy of the People’s Party.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท