อนุทิน 166696


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การหนุนของ 5 ครอบครัวหลัก และเป็นอันตรายต่อประยุทธ์ ตอนที่ 5

ธนาคารการลงทุนชื่อ Credit Suisse อ้างถึงรายงานความร่ำรวยของโลก ที่เปิดเผยในปี 2018 ว่าประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลก รายงานยังอ้างว่า 67% ของความร่ำรวยของชาติถือครองโดยคนเพียงแค่ 1% ในปี 2018 และเพิ่มขึ้นจาก 56% ในปี 2016

หากมาดูตารางความร่ำรวยเป็นบุคคล ตระกูลเจียรวนนท์ ของกลุ่มซีพี ติดอันดับที่ 50 ของนิตยสาร Forbes ที่ร่ำรวยที่สุด โดยมีทรัพย์สินประมาณ 29.5 พันล้านเหรียญ กลุ่มจิราธิวัฒน์ ของกลุ่มเซ็นทรัล เป็นอันดับสอง โดยมีทรัพย์สินประมาณ 21 พันล้านเหรียญ ในขณะที่ไทยเบฟ คือ เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้อันดับ 4 มีทรัพย์สินประมาณ 16.2 พันล้านเหรียญ

ในขณะที่ธนาคารโลก มีมาตรวัดและรายงานหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เผด็จการทหารประยุทธ์ครองอำนาจ และสนับสนุนความร่ำรวยครอบครัวทั้ง 5 และอำนาจในการตลาดตลอดมา

อัตราความยากจนที่เป็นทางการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2016 เป็น 10% ของประชากร ในขณะที่ 40% ของประชากรมีความมั่งคั่งโดยดูจากการบริโภคโดยเฉลี่ย แต่หนี้ครัวเรือนกลับเพิ่มมากขึ้นในการปกครองแบบเผด็จการของประยุทธ์

ธนาคารโลกยังอ้างอิงถึง โพล Gallup World ที่กล่าวว่ามาตรฐานการอยู่ดีทางการเงิน และรายได้ได้ลดลงตั้งแต่ปี 2016รัฐบาลผสมของประยุทธ์ได้อ้างถึงความแตกต่างด้านความร่ำรวยและการอยู่ดีกินดีของคนยากจน โดยการมีนโยบายการแจกเงินกับคนแก่และเยาวชน และมีบัตรสวัสดิการที่ผิดพลาด

เป็นเช่นเดียวกับนายกฯที่ถูกรัฐประหารไป ก็คือทักษิณ ชินวัตร นักวิจารณ์บอกว่านโยบายของประยุทธ์ มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์เงิน ที่ไม่ช่วยในการกระตุ้นความมั่งคั่งแบบยั่งยืน และไม่ต้องพูดถึงระเบียบในเชิงโครงสร้าง เพราะเอาแต่พะนอกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และไม่เกิดประโยชน์กับพวกผู้ประกอบการรายย่อย (SME)

แปลและเก็บความจาก

Shawn W. Crispin. Thailand’s five families’ prop and imperil Prayut



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท