อนุทิน 166228


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

“พวกเราพยายามที่จะไม่เป็นไทย”: การต่อต้านของชนกลุ่มน้อยที่ได้ยินทุกวัน ตอนที่ 4

ในช่วงแรกๆของของการดำเนินการ โครงการได้รับทุนและการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ( the United Nation) นอกเหนือจากการแทนที่เรื่องการเพาะปลูกแล้ว แต่ยังได้การกลืนกลายชนกลุ่มน้อยมาสู่กิจกรรมของรัฐไทยด้วย ด้วยการทำให้ชนกลุ่มน้อยไม่ไปค้ายาเสพติดและการเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ ที่โด่งดังอยู่ในช่วงนั้นด้วย

ทุกวันนี้โครงการในพระราชดำริ ปรากฏขึ้นทั่วไปในภาคเหนือ ทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับเกษตรกรรมและพัฒนาการของการเกษตรในเชิงเทคนิค โครงการนี้ยังทำหน้าที่เหมือนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับชาวไทยจากในเมือง—เพื่อการเน้นให้คนไทยภาคกลางทำความคุ้นเคยกับสถานที่ที่อยู่ห่างไกลเท่านั้น สิ่งนี้คือด่านนอกในการใช้อำนาจแบบหลวมหรืออ่อน (soft power) อย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการให้เจ้าหน้าที่พบกับคนท้องถิ่น และกลืนกลายกิจกรรมมาเป็นกิจกรรมของชาติ—รัฐเท่านั้น

การต่อสู้/ การอยู่แบบเร่ร่อนของการต่อต้านรัฐ

วัฒนธรรมการต่อต้านรัฐยังแสดงออกในพวก Maniq ด้วย เขาเป็นชาวภาคใต้ มีชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์เร่ร่อน ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติที่มีแต่ป่าเต็มไปหมด ใกล้กับเขตแดนไทยมาเลย์ พวกเขาเหมือนชาว Lisu ที่มีภาษาของตนเอง, วัฒนธรรม, ไม่มีตัวหนังสือ แต่แตกต่างจากพวก Lisu พวกนี้ไม่มีการต่อรอง พวกนี้ปฏิเสธความทันสมัยทั้งหมด แต่ยังคงมีชีวิตแบบประเพณีเหมือนเดิม ทุกวันนี้พวกเขายังงไม่มีไฟฟ้า, ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง, หรือการตกหลุมพรางแบบชีวิตทันสมัย พวกเขาหาอาหารโดยการล่าด้วยหนังสติ๊ก และลูกดอกอาบยาพิษ หรือการหาของป่า

กลุ่ม Maiq โดยปกติแล้วจะประกอบด้วยปัจเจกบุคคลประมาณ 30 คน พวกเขาเร่ร่อน และอยู่เป็นกลุ่ม โดยไม่มีสังกัปของทรัพย์สินส่วนบุคคล (private property) และช่วงชั้นใดๆ ประชากรในชุมชน โดยเฉพาะที่อยู่ตามเนินเขา ก็จะราวๆ 200 คน

แปลและเรียบเรียงจาก

Garbriel Ernst “We try to not be Thai”: the everyday resistance of ethnic minorities



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท