อนุทิน 166118


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ทฤษฎีการรับรู้ภาษาที่สองของ Stephen Krashen ตอนที่ 6

  1. สมมติฐานว่าด้วยตัวป้อน (the input hypothesis)

สมมติฐานคือความพยายามของ Krashen ในกาอธิบายว่าเด็กๆรับภาษาที่ 2 ได้อย่างไร สมมติฐานตัวป้อนเป็นการรับภาษา (ซึ่งเกิดโดยจิตไร้สำนึก) ไม่ใช่การเรียนรู้ (ซึ่งเกิดโดยการเรียนภาษาแบบเป็นทางการ) ตามหลักการ ผู้เรียนจะพัฒนาและก้าวหน้าไปในลำดับขั้นตามธรรมชชาติ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนรับตัวป้อนที่เหนือกว่าความสามารถทางภาษาที่เขามีไปอีก 1 ขั้น เช่น ผู้เรียนสามารถรู้ถึงขั้น i แต่เมื่อเสนอภาษาต้องเป็นขั้น i+1 เราเรียกตัวป้อนเหล่านี้ว่า ตัวป้อนที่ยกระดับการใช้ภาษา (comprehensible input)

  1. สมมติฐานว่าด้วยการกรองของความรู้สึกนึกคิด (the affective filter hypothesis)

Krashen ใช้สมมติฐานนี้เพื่อดูคความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนในการทำให้การเรียนง่ายขึ้น ความรู้สึกนึกคิดคือแรงจูงใจ, ความเชื่อมั่นในตนเอง, ความกระวนกระวาย, คุณลักษณะของบุคคลเป็นคนๆไป Krashen เสนอว่า คนที่มีแรงจูงใจสูง มีความเชื่อมั่นในตนเอง, มองเห็นเองในทางบวก, มีความกระวนกระวายน้อย, เข้าหาสังคม มีแนวโน้มที่จะเรียนภาษาที่สองได้ดีกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำ, ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, กระวนกระวาย, ปิดตนเอง คนที่มีลักษณะดังกล่าวจะสร้างอิฐทางความคิด (mental block) ที่คอยกีดกั้นไม่ให้ตัวป้อนที่เป็นการยกระดับภาษาให้ทำหน้าที่แบบเต็มที่ นั่นคือไม่สามารถรับภาษาได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Ricardo E. Schutz. Stephen Krashen’s Theory of Second Language Acquisition

ครูบ้านนอก. สมมติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen. ตอนที่ 1



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท