อนุทิน 15944


กวิน
เขียนเมื่อ

@15886  "นกร้องถึงคนละตัวแต่เราก็ฟังเหมือนกัน"เพลงหนึ่งใน เปลี่ยนฉาก (กำลังอินเลิฟ กับอัลบั้มที่ว่า)

"นกร้องถึงคนละตัวแต่เราก็ฟังเหมือนกัน"  ประโยคนี้น่าจะถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อ คำว่า เรา ในที่นี้แสดงความเป็น เอกพจน์(singular) การที่เราได้ยินเสียงนก (ชนิดเดียวกัน) ร้องเหมือนกัน ก็เพราะ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) จากการที่เรามีประสบการณ์ในการได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้มาก่อน ดังนั้นในครั้งต่อๆ ไป ถึงแม้นไม่ได้ยินเสียงนกร้อง แต่เราก็ยังจำเสียงของมันได้ แต่ทว่า สัญญา ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นต่อให้เป็น นกตัวเดียวกันร้อง แต่ให้คนสองคน ฟังเสียงนก ก็อาจจะได้ยินเสียงไม่เหมือนกัน นะครับ เช่น

อีกากรีก ร้องว่า ”กรา” (kra)
อีกาเดนมาร์กและอีกาแอฟริกัน ร้องว่า “กรา-กรา” (kra-kra)
อีกาผู้ดีอังกฤษนั้น ร้องว่า “คอว์” (caw)
นกฮูกเมืองผู้ดี  ร้องว่า “ทูฮวิต-ทูฮวู” (tu-whit, tu-who)
นกฮูกมะกัน ร้องว่า “ฮู้ต” (hoot) 
 
ที่มา เสียงร้องของสัตว์ในภาษาต่างๆ @ 73405 โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ

ตอนนี้คุณ หมอ กำลังถูก สิ่งที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน อยู่นะเนี่ยรู้ตัวมั้ยครับ  ? (อวบอ้วนพอดีคำ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท