อนุทิน 158307


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

นิทานที่ต่อต้านความเป็นประชาธิปไตย

ผมรู้สึกว่าเคยได้ยินเรื่องนี้มานาน น่าจะเป็นของชนชั้นนำยุคประมาณ 3 ทศวรรษขึ้นไป แพร่หลายในหมู่พลเมือง ถ้าจะให้ผมเดาน่าจะเป็นของหม่อมคึกฤทธิ์, หลวงวิจิตรวาทการ, แม้แต่สนธิ ลิ้มทองกุลประมาณนั้น

เรื่องมีอยู่ว่า ในสังคมๆหนึ่ง หากมีโจร 8 คน พระสัก 2 รูป เมื่อมีการกำหนดให้ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น ไปฆ่าคน แน่นอนว่าฝ่ายต้องพระแพ้เพราะเสียงน้อยกว่า สิ่งนี้ต้านการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน เพราะคนดีย่อมน้อยกว่าเสมอ และมีการให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง (แต่จะดีจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าคบคิด)

แน่นอนว่านิทานเรื่องนี้ อ้างหลักการที่ผิดอยู่ 2 ประการ นั่นคือ การตีตราบุคคลไปเลยว่า อย่างนี้คือคนเลว และอย่างนี้คือคนดี จริงๆแล้ว การกระทำต่างหาก จึงบอกได้ว่าใครดีใครเลว เพราะโจรอาจช่วยเด็กๆข้ามถนน และพระก็อาจใช้เงินไม่ถูกต้องก็ได้ ประการที่ 2 การฆ่าคน ไม่ใช่หลักของประชาธิปไตย หลักการของประชาธิปไตยมีว่า การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท