อนุทิน 157969


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การรอเวลาสามารถสร้างหรือทำลายชั้นเรียนได้ ตอนจบ

ตอนนี้เพิ่มการรอเวลาหนที่ 2 เพื่อการเรียนรู้

การรอเวลาหนที่ 2 เป็นเวลาหลังจากนักเรียนมีการโต้ตอบ และครูเฉลยแล้ว การรอเวลาสัก 2-3 วินาทีสามารถเกิดจากการตอบโต้ของตัวผู้เรียน ในบางกรณี ครูสามารถพยักหน้า หรือออกเสียง “อึ้ม” การให้สัญญาณแบบอวัจนภาษาขึ้นอยู่กับครูที่พิจารณาการตอบโต้ของนักเรียน นักเรียนอาจไม่สามารถเพิ่มเวลาตามใจตนเองได้ การรอเวลาหนที่ 2 นี้เป็นโอกาสที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันพิเศษ และความรุ่มรวย

ในรูปแบบใหม่นี้ ครูสามารถนำการเวลาแบบหนแรก และหนที่สองมาใช้พร้อมกัน การรอเวลาหนแรก นักเรียนทุกตนมีโอกาสในการคิดเกี่ยวกับคำตอบของคำถาม ทุกๆคนมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามและตอบคำถาม

เมื่อครุนำเสนอประโยคชี้แนะ (sentence stem) นักเรียนทั้งหลายก็มีความพร้อมมากขึ้นในเนื้อหาของคำถาม ประโยคชี้แนะ คือการทำให้นักเรียนมีแรงผลักอันพิเศษในการทะลุทะลวงความคิดให้เกิดขึ้นได้

 การขอร้องนักเรียนให้ยืนยันในสิ่งที่เขาต้องการแบ่งปัน ให้เวลาคนอื่นๆในการคิดโต้ตอบ วิธีการนี้จะช่วยไม่ให้ใครตกใจจนหนีไป

เมื่อฉันอยู่ตอนระดับมัธยมศึกษา ฉันเคยมีครูที่ถามคำถามยากจนนักเรียนตอบไม่ได้ มันดูคล้ายกับว่าต้องการให้เด็กๆที่ไม่สนใจได้รับความอับอาย ตอนนี้พวกเรารู้ว่าชนิดไหนของคำถามที่ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ คำถามประเภทนี้ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้หรือทำให้นักเรียนรู้สึกปลอดภัยได้เลย

การแบ่งปันเป็นคู่

การสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยที่สนับสนุนทั้งการเรียนรู้ และการป้องกันความเสี่ยงล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญ แทนที่จะเรียกนักเรียงเพียงแค่ 1 คนตอบ แต่การอนุญาตให้ทุกๆคนในชั้นตอบคำถามเดียวกันย่อมได้รับ 100% ของการร่วมมือ นักเรียนทุกคนต่างพูดและฟัง

ฉันรักวิธีการแบบนี้ เพราะว่าหากนักเรียนมีคำตอบที่ไม่ถูกต้อง แต่การที่ให้นักเรียนฟังจากเพื่อน และบางครั้งอาจได้เรียนรู้จากเพื่อนด้วย การให้นักเรียนที่อยู่กันเป็นคู่มีโอกาสร่วมแบ่งปัน และสุดท้ายก็คือนักเรียนทั้งหมด

แปลและเรียบเรียงจาก

Valentina Gonzales. Wait Time Can Make or Break Your Lesson.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท