อนุทิน 157757


ธเนศ อยู่เย็น
เขียนเมื่อ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกเเละวิธีป้องกันผละกระทบในอนาคต

Related image

เมื่อ 20 ปีก่อน ในวันที่ 2 ก.ค. 2540 ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้เราต้องยอมจำนนต่อการโจมตีค่าเงิน ทางธปท. ต้องปล่อยเงินบาทให้อ่อนค่าตามกลไกตลาดจากเดิมที่ตรึงค่าเงินไว้ที่ราว 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศถูกใช้ในการปกป้องค่าเงินแต่จะโทษธปท. ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะทั้งธนาคารพาณิชย์และนักลงทุนต่างก็มีส่วนในการปล่อยให้ระบบการเงินมีปัญหา ทั้งจากการประเมินสินทรัพย์และความเสี่ยงที่ไม่สอดรับกับปัจจัยพื้นฐาน และความโลภที่บังตา หากวิกฤตการเงินเกิดเพราะความโลภ เมื่อเราไม่โลภ วิกฤตก็ไม่เกิด ที่ชัดเจนคือความอยากได้ผลตอบแทนการลงทุนสูงๆ ทั้งส่วนต่างราคาซื้อขายและอัตราผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ยในอดีตนั้นสูงอยู่แล้ว แต่คนอยากได้ผลตอบแทนสูงขึ้นไปอีกวิกฤตปี 40 จึงเกิด ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยแสนจะต่ำ คนถูกบีบให้ไปหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เพื่อนำไปใช้จ่ายเพียงพอในยามสูงอายุ จนอาจสูญเสียเงินลงทุน และนำไปสู่ปัญหาด้านเสถียรภาพการเงิน

ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่าเมื่อจะวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่นักเศรษฐศาสตร์จะต้องดู 4 ปัจจัยทางเศรษฐกิจประกอบกัน นั่นคือ ปัจจัยการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนจากภาคเอกชน การใช้จ่ายของภาครัฐ และปัจจัยแวดล้อมจากต่างประเทศ

ซึ่งเครื่องจักรทั้ง 4 ตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังเริ่มเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ราคาพืชผลทางการเกษตรอย่างข้าวและยางพาราจะอยู่ในภาวะตกต่ำ การส่งออกอยู่ในช่วงชะงักเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้รายได้ของประชาชนลดต่ำลง แต่ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการช้อปช่วยชาติ เที่ยวช่วยชาติ ทำให้การบริโภคของประชาชนและภาคบริการอย่างการท่องเที่ยวได้รับการกระตุ้นจนมีสัญญาณด้านบวก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท