อนุทิน 156518


พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านของไทย

     วรรณกรรมพื้นบ้าน (Folk Literature) มีความหมายเช่นเดียวกับวรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น เพลง นิทาน ตำนาน สุภาษิต เพื่อสร้างความบันเทิงให้สังคมในท้องถิ่น และเสนอแง่คิด คติสอนใจ ในการดำเนินชีวิต การศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านจะช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นรากฐานการศึกษาความคิดและพฤติกรรมของคนรุ่นปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมพื้นบ้าน

     ๑. วรรณกรรมพื้นบ้านมักจะไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาแม้ว่าบางครั้งจะทราบว่าผู้แต่งเป็นใคร เช่น เรื่องสังข์ศิลป์ชัยของภาคอีสาน มีหลักฐานระบุว่าท้าวปรางค์คำเป็นผู้แต่ง แต่ก็ไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนว่า ท้าวปรางค์คำมีตัวตนจริงหรือไม่ โดยทั่วไปวรรณกรรมพื้นบ้านจะระบุนามผู้เรียบเรียงหรือปริวรรต หรือผู้คัดลอก ซึ่งเรียบเรียงจากเรื่องราวเดิมที่เล่ากันอยู่ในท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว

     ๒. วรรณกรรมพื้นบ้านจะใช้ภาษาถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ มีทั้งที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา หรือแฝงนัยให้คิด ดังตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ เช่น

     ๓. วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งข้อมูลวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพราะได้บันทึกขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่น 

    ๔. วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาทางภาษาที่สืบทอดกันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ วิธีมุขปาฐะ คือการบอกเล่าต่อๆ กันมา ขณะที่เล่าถ่ายทอดกันนั้น ผู้เล่าก็จะต่อเติมเสริมแต่งเรื่องราวทำให้เนื้อเรื่องแตกต่างไปจากเค้าเรื่องเดิม 

 อ่านต่อได้ที่ http://ich.culture.go.th/index...

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท