อนุทินล่าสุด


พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

สถานะของวรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความ “สนุก” และการ “เล่น” “ยังคงเป็นมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดี” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ๒๕๒๒, น. ๑) สืบต่อจากค่านิยมของอยุธยา เป็นการแสดงออกของมูลนายและไพร่บนพื้นฐานเดียวกัน แม้ว่าความซับซ้อนของวัสดุและเนื้อหาจะต่างระดับกัน

          สิ่งที่หมุนเวียนอยู่ในชีวิต คือ พิธี และการเล่น ซึ่งมักปรากฏควบคู่กันการเล่นมักเป็นส่วนต่อเนื่องจากพิธี กล่าวว่า เสร็จพิธีก็มีฉลอง ทั้งพิธีและการเล่นจึงบ่งบอกความเป็นปกติสุขของชีวิต ซึ่งมีนัยยะตรงข้ามกับความผันผวนปรวนแปรและความทุกข์ ความเชื่อมโยงของการฉลองสมโภชเพื่อสร้างกุศลกับการเล่นและศิลปะเป็นปกติในวิถีชีวิตของประชาชน

          มโนทัศน์เกี่ยวกับการเล่นของคนไทยเป็นสิ่งลึกซึ้ง การสร้างเสพศิลปะ เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ความเป็นวัตถุสุนทรีย์ ก่อให้เกิดความหฤหรรษ์ทางอารมณ์ ไม่จำเป็นต้องบอกเล่าแต่เฉพาะความสุข แต่อาจเกี่ยวข้องกับความทุกข์ เมื่อผลิตงานแล้วความสำคัญของงานมีมากกว่าผู้สร้าง และไม่ใช่สมบัติของผู้สร้างอีกต่อไป การสร้างงานศิลปะจึงเป็นวิถีทางหนึ่งของการมอบสิ่งที่เชื่อมั่นว่าดีและงามด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

          การเรียนรู้ทางกวีนิพนธ์ (ความงาม) ก็เป็นมโนทัศน์ที่สืบจากอยุธยา กวีห่างไกลจากความเป็น “พาลสันดานหยาบ” การย้ำหลักเกณฑ์การประพันธ์แสดงถึงวิชาอันมีแบบแผนในรากทางวัฒนธรรม

         ในแง่หนึ่งมองว่า รามเกียรติ์เป็นที่นิยมฟังกันอย่างหลงใหล และยึดถือเอาเป็นเรื่องจริง (เสถียรโกเศศ, ๒๕๑๕ ค ,น. ๒๖๙) ซึ่งแสดงว่ากวีไทยในสมัยนั้นเข้าใจอิทธิพลของวรรณคดีและความสับสนระหว่างความจริงกับความลวง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากไม่เข้าใจธรรมชาติของวรรณคดี อีกแง่หนึ่งอาจมองว่าจุดมุ่งหมายของวรรณคดีไทยคือความบันเทิงใจ เรื่องที่เป็นที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ในต้นตอเดิม 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณคดีมูลนายและวรรณคดีไพร่

          วรรณคดีมูลนายเป็นวรรณคดีของชนชั้นปกครอง หรือเรียกอีกอย่างว่าวรรณคดีมูลนายในระบบ   ศักดินา วรรณคดีมูลนายมีหน้าที่ในเชิงศาสนาบริบทของพิธีกรรมมากกว่า เช่น โองการแช่งน้ำ ไว้ใช้อ่านในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ซึ่งแสดงถึงช้างที่มีความสำคัญต่อพระราชอำอาจและเกียรติยศของกษัตริย์ จากเรื่องที่กล่าวมาย่อมมีเนื้อหาที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะกษัตริย์นั้นเป็นตัวควบคุมผ่านความสัมพันธ์ของมูลนายและไพร่ โดยมีวัฒนธรรมความเชื่อเป็นเครื่องค้ำจุนความสัมพันธ์ให้มีความชอบธรรม โดยระบบศักดินาของไทย คือความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐกับชุมชนหมู่บ้าน จึงเป็นการประสานเข้าระหว่างรัฐกับหมู่บ้านกันพอดี ก่อให้เกิดความสัมพันธ์เสถียรภาพที่สูงขึ้น วรรณคดีมูลนายส่วนมากฉันทลักษณ์ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น กาพย์ และฉันท์ จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้นจึงเหมาะแก่การประพันธ์ด้วยการเขียนมากกว่าการ ด้น แบบมุขปาฐะ ซึ่งแบบมุขปาฐะจะมาจากวรรณคดีไพร่เป็นส่วนใหญ่เพราะวรรณคดีไพร่จะเน้นเกี่ยวกับความบันเทิง ร้อง รำ ทำเพลง และการละเล่นเสียมากกว่า วรรณคดีไพร่ก็มีแหล่งกำเนิดมาจากพิธีกรรมเหมือนกันกับวรรณคดีมูลนาย วรรณคดีไพร่ส่วนใหญ่ฉันทลักษณ์จะเหมาะกับการ ด้น ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นแบบมุขปาฐะ และกลายมาเป็นวรรณกรรมของประชาชน วรรณคดีไพร่จึงเป็นวรรณกรรมของประชาชน และได้ถ่ายทอดคติ และยึดถือกันมาตั้งแต่โบราณ

          อย่างไรก็ตาม วรรณคดีมูลนายและไพร่ต่างมีหน้าที่ที่หลากหลาย ความเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมหรือศาสนา ไม่ใช่จุดแบ่งแยกวรรณคดีมูลนายและไพร่ออกจากกัน เพราะวรรณคดีมูลนายและไพร่ไม่ได้มีเส้นแบ่งที่ตายตัว ในแง่ของฉันทลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นร่าย โคลง กาพย์ กลอน รวมถึงการขับลำหรือสื่อภาษาประกอบท่วงทำนอง น่าจะเป็นพื้นฐานมาจากวรรณคดีมุขปาฐะของชนเผ่าไทยแต่ดั้งเดิม ต่างก็เป็นฉันทลักษณ์ที่วรรณคดีมูลนายและไพร่ใช้ร่วมกัน ซึ่งวรรณคดีมูลนายและไพร่ต่างย่อมรับอิทธิพลมาจาก ชาดกพุทธศาสนา เพราะชาดกทางพุทธศาสนา คือ ฐานข้อมูลในการประพันธ์ที่ทั้งชนชั้นมูลนายและไพร่ต่างใช่ร่วมกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

กระบวนการสร้างเสพวรรณคดี กับบริบททางวัฒนธรรมจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 วรรณคดีมุขปาฐะ กับประเพณีการเล่นของประชาชน

พูดเกี่ยวกับวรรณคดีมุขปาฐะซึ่งมีความใกล้ชิดกับสถาบันพื้นฐานของการใช้เวลาว่าง ซึ่งได้แก่ การชุมนุมทางสังคม งานฉลองและพิธีต่างๆ ในชนเผ่าไท มีการขับลำหรือภาษาประกอบท่วงทำนองและจังหวะ ( จากการเล่นดนตรี ) น่าจะเป็นพิธีการสร้างเสพวรรณคดีในลักษณะมุขปาฐะแต่ดั้งเดิม

          อาจกล่าวได้ว่าการร้องรำทำเพลงเป็นกิจกรรมที่แทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเล่น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการมหรสพ มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมและเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นนั้นไม่ใช่พิธีกรรม ที่มีความสำคัญในพิธีกรรมก็เพราะเป็นเครื่องแสดงว่าพิธีกรรมนั้นนำความสุขชื่นบานมาสู่ชุมชน  ในขณะที่พิธีกกรมให้ความหวัง และเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองมั่นคง ก็เป็นเวลาอันเหมาะสมสำหรับการสื่อและรับประสบการณ์ทางสุนทรียะ

การละเล่นจึงเป็นเครื่องหมายผาสุกและความเป็นปกติสุขของบ้านเมืองราชสำนักมีภารกิจในการให้ความอุปถัมภ์ต่อศิลปะ ดังที่ตุรแปง กล่าวว่า “ การละเล่นต่างๆเหล่านี้ไม่ต้องใช้จ่ายเงินมากนัก เพราะพระเจ้าแผ่นดินหรือขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้ออกให้ ” 

            ค่านิยมที่ถือว่า ความรื่นเริงบันเทิงใจของประชาชนเป็นเกียรติคุณของผู้ปกครองและเป็นเครื่องหมายของความเป็นปกติสุขของรัฐ น่าจะมีรากลึกในวิถีการผลิตในชีวิตของชนเผ่าไท เนื่องจากเป็นสังคมเกษตรกรรมซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งจะปรากฏในรูปพิธีกรรมและการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งนับเป็นศาสนาเก่าแก่ก่อนการนับถือเทวดาในลัทธิฮินดู



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ตำนานความเชื่อ “แม่ซื้อ” เทวดาคุ้มครองเด็กทารก

ตามตำนานความเชื่อดั้งเดิม ของคนไทยโบราณและได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันที่เกี่ยวกับเด็กทารก ก็คงจะหนีไม่พ้นกับคำว่า "แม่ซื้อ" โดย แม่ซื้อ หมายถึง เทวดาหรือผีที่คอยดูแลรักษาเด็กทารก เชื่อว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาต้องมีแม่ซื้อประจำวันเกิดคอยดูแล เพื่อปกปักรักษาไม่ให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย

บ้างก็ว่าแม่ซื้อคือผีที่มีจิตใจริษยา และอาจทำให้เด็กไม่สบายได้ เป็นความเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ตลอดจนพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับแม่ซื้อแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งนี้ อิทธิพลจากวัฒนธรรมของดินแดนใกล้เคียงมีผลค่อนข้างมาก และเชื่อว่ามี 7 ตนอยู่ประจำวันได้แก่

วันอาทิตย์ ชื่อว่า “วิจิตรมาวรรณ” มีหัวเป็นสิงห์ มีผิวกายสีแดง

วันจันทร์ ชื่อว่า “วรรณนงคราญ” มีหัวเป็นม้า มีผิวสีขาวนวล

วันอังคาร ชื่อว่า “ยักษบริสุทธิ์ มีหัวเป็นมหิงสา (ควาย)" ผิวกายสีชมพู

วันพุธ ชื่อว่า "สามลทัศ” มีหัวเป็นช้าง ผิวกายสีเขียว

วันพฤหัสบดี ชื่อว่า “กาโลทุกข์” มีหัวเป็นกวาง มีผิวกายสีเหลืองอ่อน

วันศุกร์ ชื่อว่า “ยักษ์นงเยาว์” มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน

วันเสาร์ ชื่อว่า “เอกาไลย์” มีหัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ ทุกตนทรงอาภรณ์ (เสื้อผ้า) สีทอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านเเละภาษา

วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็น
๑. นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา เช่น นิทานจักรๆวงศ์ๆ นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลกนิทานเรื่องโม้ นิทานเข้าแบบ
๒. ตำนานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานที่ บุคคล ศาสนวัตถุ และศาสน-สถานที่สำคัญๆ ในท้องถิ่นต่างๆ และเรื่องเล่าที่อธิบายความเป็นมาของความเชื่อและพิธีกรรมในท้องถิ่นต่างๆ 
๓. บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำให้พร คำอธิษฐานฯลฯ
๔. บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้งฯลฯ
๕. สำนวน ภาษิต หมายถึง คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมา มักมีสัมผัสคล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ 
คติพจน์ คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนองฯลฯ
๖. ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี
๗. ตำรา หมายถึง องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำราโหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายาฯลฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ความหมายของตำนาน

คำว่า “ตำนาน” พนจานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม”

ดังนั้น ตำนาน คือ นิยายหรือเรื่องเล่าที่เล่าสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน จนหาต้นตอไม่ได้ และมีเนื้อหาเพื่ออธิบายที่มาของสิ่งต่าง ๆ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่คนในสมัยก่อนยังไม่สามารถเข้าใจได้

ลักษณะการเล่าเรื่องเพื่อตอบคำถามที่คนไม่สามารถเข้าใจได้นี้เป็นลักษณะร่วมของมนุษย์ทุกชนชาติ เพราะมนุษย์มีปัญญา ย่อมต้องการรู้และต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงเป็นส่วนที่ทำให้ตำนานเกิดขึ้นมา

ประเภทของตำนาน

ตำนานสามารถแบ่งประเภทตามแบบของนิทานได้ดังนี้

  1. ตำนานประเภทนิยายประจำท้องถิ่น (Legend) เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับคตินิยม อย่างใดอย่างหนึ่งของคนในท้องถิ่น โดยมีเค้าของความจริงอยู่บ้าง เช่น ตัวบุคคล สถานที่ แม้ว่าในการดำเนินเรื่องจะใช้การเล่าที่แทรกเรื่องเหนือธรรมชาติลงไปบ้างก็ตาม ตำนานเหล่านี้ได้แก่

1.1  ตำนานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นคุ้นเคย แต่มนุษย์ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเกิดจากอะไร จึงมีผู้รู้แต่งเป็นเรื่องเล่าอธิบายที่มาของปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านี้ออกมาเป็นรูปธรรม

1.2  ตำนานเกี่ยวกับสถานที่ ด้วยมนุษย์มีสมองจึงพยายามแสวงหาเหตุผลและมโนภาพเพื่ออธิบายที่มาของสิ่งต่าง ๆ จึงเกิดเป็นเรื่องเล่าตำนานเกี่ยวกับสถานที่และภูมิประเทศรอบ ๆ ตัว เรื่องเล่าเหล่านี้ได้เล่สืบทอดกันมาหลายชั่วคน จึงมีการเสริมเรื่องอื่น ๆ ตามลักษณะความเชื่อและความนิยมของคนในท้องถิ่นเข้าไปจนคนปัจจุบันอาจถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หากทว่าตำนานเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยให้เรเข้าใจความคิดและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.sookjai.com/index.p...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ความรู้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม

วรรณกรรม มาจากการสร้างศัพท์ใหม่ แทนคำว่า "Literature" โดยวิธีสมาส หรือรวมคำจากคำว่า วรรณ หรือ บรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรือ หนังสือ รวมกับคำว่า กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำดังนั้นวรรณกรรม จึงหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวกับหนังสือ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซึ่งเขียนขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปใด หรือเพื่อความมุ่งหมายใด ซึ่งอาจจะเป็นใบปลิวหนังสือพิมพ์ นวนิยาย คำอธิบาย ฉลากยา เป็นต้นก็ได้

รรณกรรม หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก   ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น

ความหมายของวรรณกรรมเยาวชน

วรรณกรรมเยาวชน (อังกฤษ: Young-adult fiction; บางครั้งเรียกย่อว่า YA fiction หรือ YA) เป็นนวนิยาย หรือ เรื่องสั้น ที่เขียนขึ้นสำหรับกลุ่มผู้อ่านที่มีอายุโดยประมาณระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากวรรณกรรมสำหรับวัยอื่น คือวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่ วรรณกรรมยุวชน และวรรณกรรมเด็ก ตัวละครหลักของวรรณกรรมเยาวชนมักเป็นวัยรุ่น มีส่วนน้อยที่ใช้ตัวเอกเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พึงประสบด้วยวัยและประสบการณ์ของตัวเอกของนวนิยายนั้นๆ ส่วนเนื้อหาของเรื่องอาจครอบคลุมลักษณะของนวนิยายหลากหลายประเภท แต่มักเน้นไปที่ประเด็นซึ่งท้าทายความเป็นวัยรุ่น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://3peoplefrom5-1.blogspot...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

เล่าเรื่องพญาเนื้อทอง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวีตถี ทรงปรารภธิดาของตระกูลอุปัฏฐากพระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ) นางหนึ่งผู้สามารถทำให้ครอบครัวสามีเป็นมิจฉาทิฏฐิกลับเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อมีผิวพรรณดุจทอง มีนางเนื้อผู้ภรรยาที่น่ารัก ปกครองเนื้อประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ป่าแห่งหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่ง พญาเนื้อนั้นพาบริวารออกหากิน เท้าได้ติดบ่วงนายพราน พยายามดิ้นสุดชีวิตหวังให้บ่วงขาด บ่วงกลับยิ่งรัดเข้าติดกระดูกข้อเท้า สร้างความเจ็บปวดทรมานอย่างยิ่งจึงร้องขึ้นว่า “เราติดบ่วงแล้ว พวกท่านจงพากันหนีไป” หมู่เนื้อพอได้ยินก็พากันหนีไป ส่วนนางเนื้อภรรยาวิ่งหนีไปได้หน่อยหนึ่งไม่เห็นสามีวิ่งตามมาด้วย จึงวิ่งย้อนกลับไปที่เดิม เห็นสามีติดบ่วงอยู่จึงร้องไห้คร่ำครวญ ว่า “พี่.. ท่านเป็นผู้มีกำลังมาก พยายามดึงบ่วงให้หลุดเถิด น้องอยู่คนเดียวในป่านี้โดยไม่มีพี่ไม่ได้นะ” พญาเนื้อตอบภรรยาว่า “น้อง..พี่ได้พยายามแล้ว แต่บ่วงมันไม่ขาด มันยิ่งรัดแน่นเข้าจนเท้าพี่จะขาดแล้วละ” นางเนื้อภรรยาพูดปลอบใจสามีว่า “พี่ไม่ต้องกลัว น้องจะอยู่เป็นเพื่อนพี่เอง ถ้าพี่ตายน้องขอตายด้วย น้องจะอ้อนวอนให้นายพรานเห็นใจปล่อยพวกเราไป ถ้าเขาไม่เห็นใจ น้องขอตายแทนพี่เอง” แล้วได้ยืนอยู่กับสามีผู้ชุ่มด้วยเลือดนองเท้่าอยู่ที่นั่นเอง

อ่านต่อได้ที่ http://www.nithan.in.th/%E0%B8...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

เรื่องเล่าทุ่งกุลาร้องไห้

เมื่อหลายพันปีมาแล้วบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันเป็นทะเลมาก่อน ในทะเลแห่งนี้มีได้สัตว์น้ำน้อยใหญ่อาศัยอยู่มากมาย ได้มีเมืองจำปานาคบุรี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลแห่งนี้

เจ้านครจำปานาคบุรี มีธิดาชื่อว่า นางแสนสี และยังมีหลานสาวอายุไล่เลี่ยกันชื่อว่า นางคำแพง หญิงสาวทั้งสองมีรูปร่างหน้าที่สวยสดงดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของชายทั้งหลาย ท้าวนครจำปานาคบุรี ได้จัดให้มีคนคอยเผ้าดูแลอย่างดี ผู้ดูแลชื่อว่า จ่าแอ่น ซึ่งจะคอยตามติดอยู่ทุกฝีก้าวไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม และในเมืองจำปานาคบุรีแห่งนี้ ได้มีนาคที่มีอิทธิฤทธิ์สูงอยู่ตนหนึ่ง ซึ่งหากมีชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนก็จะให้ความช่วยเหลือ จนเมืองนี้ได้ชื่อว่า นาคบุรี

ในครั้งนั้นมีเมืองอยู่อีกเมืองหนึ่งที่มีชื่อว่าบูรพานครตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเล ท้าวผุ้ครองนครมีโอรสชื่อว่า ท้าวฮาดคำโปง และมีหลานชายชื่อว่า ท้าวอุทร ทั้งสองได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่อสู้มา จึงจะลองวิชาโดยจะไปต่อสู้กับนาคที่เมืองจำปานาคบุรีตามคำสั่งของอาจารย์ เมื่อทั้งสองได้เดินทางไปถึงเมืองจำปานาคบุรียังไม่ทันได้ลองวิชา ทั้งสองหนุ่มกลับไปสนใจธิดาและหลานสาว  ทั้งสองจึงพยายามที่จะติดต่อกับนางทั้งสองแต่ก็ถูกกีดกันจากจ่าแอ่นผู้ดูแล แต่ชายหนุ่มทั้งสองก็ยังคงพยายามต่อไป และได้รู้มาว่าทุกๆเจ็ดวันนางทั้งสองจะออกมาเล่นน้ำที่ทะเล

ต่อมาหญิงทั้งสองก็ออกไปเล่นน้ำ พร้อมด้วยบริวารตามปกติ ชายทั้งสองเห็นเป็นโอกาสอันดีจึงเสกผ้าเช็ดหน้าให้เป็นหงส์ทองไปขวางเรือไว้ นางอยากได้จึงให้จ่าแอ่นพายเรือตามไปเก็บ ยิ่งตามยิ่งลึกเข้าไปในทะเลแต่ก็ยังไม่สามารถจับ มารู้สึกตัวอีกครั้งก็อยู่กลางทะเลเสียแล้ว ท้าวทั้งสองเห็นจึงเอานางทั้งสองและบริวารขึ้นเรือของตนไป

อ่านต่อได้ที่ http://www.nithan.in.th/%E0%B8...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

 นิทานชาดก ธรรมะสอนใจ ไม่ว่าจะเป็น นิทานชาดกเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า นิทานชาดกต่าง ๆ 

          ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น สำหรับผู้อ่านนิทานชาดก หรือนิทานธรรมะ ควรอ่านเนื้อหาอย่างพิจารณา และนำหลักธรรมไปใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ ส่วนความเพลิดเพลินนั้น ให้ถือเป็นเพียงผลพลอยได้ที่เกิดจากการอ่าน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนิทานชาดก หรือนิทานธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างแท้จริง

          นิทานชาดกนั้นประกอบด้วยคัมภีร์หลักอยู่ 2 ส่วน คือ คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก และคัมภีร์อรรถกถา ขยายความเรื่องอีก 10 เล่ม นอกนั้นอาจปรากฏในพระวินัยปิฎกและพระสูตรส่วนอื่น ๆ หรือมีปรากฏในคัมภีร์อรรถกภาธรรมบทบ้าง ส่วนเนื้อหานิทานชาดกในอรรถกถามีโครงสร้างประกอบด้วย 5  ส่วนคือ

          1. ปัจจุบันนิทาน กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ประทับอยู่ที่ไหน ทรงปรารภใคร

          2. อดีตนิทาน เป็นเรื่องชาดกโดยตรง เรื่องที่เคยมีมาในอดีต บางเรื่องเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ของชนชาติต่าง ๆ ในชมพูทวีป บางเรื่องเป็นนิทานท้องถิ่น บางเรื่องเป็นนิทานเทียบสุภาษิต เช่น คนพูดกับสัตว์ สัตว์พูดกับสัตว์ เป็นต้น

          3. คาถา เป็นพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก บางเรื่องเป็นพุทธพจน์โดยตรง บางเรื่องเป็นฤาษีภาษิต บางเรื่องเป็นเทวดาภาษิต แต่ถือเป็นพุทธพจน์เพราะเป็นคำที่นำมาตรัสเล่าใหม่

          4. เวยยากรณภาษิต เป็นการอธิบายธรรมที่ปรากฏในชาดกนั้น ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

          5. สโมธาน เป็นการสรุปชาดกให้เห็นว่าผู้ปรากฏในชาดกนั้น ๆ เป็นใคร เคยทำอะไรไว้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

เรื่องสั้น ทำลาย, เธอกล่าว เราต่างเศร้าโศกโหยหาในจักรวาลของตนเอง

หนังสือเล่มนี้ได้รวมเรื่องสั้นชุดหนึ่งที่เขียนโดยนักเขียนหญิง เพื่อเฉลิมฉลองความเป็นหญิง แม้ด้านกลับกันคือการกีดกันผู้หญิงแต่ผู้หญิงเหล่านี้ก็มารวมกัน (ภายใต้บรรรณธิการเพศชาย -น่าละอายเป็นสองเท่า) ไม่ใช่เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิงแต่เพราะพวกเธอเขียน 

พวกเธอเขียนไม่เหมือนกันแต่พวกเธอเขียนด้วยพลังที่คล้ายคลึงกัน ภาษาที่คล้ายคลึงกัน อารมณ์ซึ่งคล้ายคลึงกัน พวกเธอไม่เหมือนกันเองแต่พวกเธอเหมือนกันมากกว่าเหมือนพวกเขาหรือพวกมัน ... เมื่อพวกเธอรวมกัน, พวกเธอเล่า 

ถ้าการเขียนของพวกผู้ชาย พวกเขา หรือพวกมันมีไว้เพื่อสร้างอะไรสักอย่าง บางทีการเขียนของพวกเธอก็มีไว้ทำลาย

ในรวมเรื่องสั้นเล่มนี้คุณจะได้พบผู้หญิงคนที่ฆ่าผัว คนที่ติดทีวี โสเภณีผุพังไปด้วยโรค คนที่จะไปสัก ไปงานศพ หรือไปปฏิวัติ หญิงสาวคนเรียนที่จะรู้รัก เรียนรู้ที่จะไม่รัก ไม่สนใจในความรักในการมีชีวิต หรือในการที่จะตาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

“ปีศาจ” แห่งกาลและเวลาที่ไม่อาจฉุดรั้ง ในงานของเสนีย์ เสาวพงศ์

วนิยายเรื่อง “ปีศาจ” ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะงานที่พูดถึงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมระหว่างยุคก่อนและหลัง 2475 อันเป็นปีที่นับได้ว่าเป็นหมุดหมายทางเวลาที่ชัดเจนที่สุดอันหนึ่งของประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย

            “ปีศาจ” ตีพิมพ์ครั้งแรกบนหน้าหนังสือพิมพ์ในปี 2496 แล้วจึงนำมารวมเล่มในภายหลัง แต่ไม่อาจกล่าวว่าเป็นงานที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในยุคนั้น   กระทั่งตัวเสนีย์ เสาวพงศ์เอง ในบางแง่เขากลับมองว่า นวนิยายเรื่องนี้เป็น ‘ความล้มเหลว’ เนื่องจากเขามิได้ตั้งใจให้เป็นเรื่องสังคมมากเท่ากับการพูดถึงปัญหาข้อพิพาทที่ดินชนบท (ตามท้องเรื่องคือที่ดินแถบบางบ่อ) แต่ที่ตัวเรื่องออกมาเป็นแบบนี้เพราะหากพูดแค่กรณีพิพาทเรื่องที่ดินก็ออกจะสั้นเกินไป จึงนำมาขยายความเพิ่มเติมจนแตกประเด็นออกไปถึงเรื่องการปะทะกินแหนงแคลงใจกันระหว่างคนยุคเก่าและคนยุคใหม่  

  อ่านต่อได้ที่ https://www.thepaperless.co/si...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ลูกอีสาน

ผู้แต่ง : คำพูน บุญ

ทวี

ยโสธรพื้นที่ทางภาคอีสานเมื่อ ๔๐ ปีก่อน มีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งชาวบ้านทำมาหากินด้วยการทำไร่เกษตรกรรม เมื่อไม่นานมานี้เกิดปัญหาภัยแล้งเข้าควบคุมทำให้ชาวบ้านเริ่มอพยพไปยังพื้นที่ดินดำน้ำชุ่ม แต่บางครอบครัวที่ไม่ได้อพยพตามไปก็หันมาเปลี่ยนอาชีพเป็นการหาของป่า และล่าสัตว์ป่าตามฤดูกาล

คูนเด็กน้อยที่อาศัยกับพ่อแม่ มียี่สุ่นและบุญหลายผู้เป็นน้องสาวอยู่กระท่อมหลังเล็ก แต่พวกเขาก็มีความสุขถึงแม้หมู่บ้านที่เขาอยู่อาศัยทุกวันนี้จะเริ่มเปลี่ยนไปไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะเริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าเพื่อนบ้านที่เข้ามาค้าขายในหมู่บ้าน ทำให้พวกเด็กๆดูตื่นเต้นกับชาวกุลาและพวกคนเวียดนาม วันหยุดจากการเรียนคูนกับเพื่อนจะพากันไปเล่นในโคกในป่าตามท้องไร่ท้องนาตามประสาเด็กชนบท อาหารการกินอยู่ของพวกเขาคือสัตว์ทีต้องไปหามาจากในป่าเช่นพังพอน นกคุ้ม งูสิง หรือปลาร้าที่เป็นอาหารหลักของชาวบ้านที่หาง่ายที่สุดและสามารถถนอมไว้ได้นาน และเมื่อได้อาหารใดมาชาวบ้านที่อยู่ใกล้กันจึงต้องแบ่งปันอาหารกันอยู่เสมอๆถึงจะอยู่ด้วยกันได้นาน วิถีชีวิตเหล่านี้ดำเนินไปได้ด้วยวิญญาณ ศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน ที่ส่งผลมาสู่ปัจจุบัน ที่ยังปรากฏให้เห็นคือความชื่อเรื่องผีสางเทวดาที่ชาวบ้านให้ความศรัทธา

เมื่อความแห้งแล้งคืบคลานเข้ามาจนครอบครัวของคูนต้องดิ้นรนออกเดินทางไปยังแม่น้ำชี เพื่อหาปลามาไว้ทำอาหารและแลกข้าวปลาอาหารชาวบ้านเพื่อเก็บไว้กินได้หลายปี เกวียนคือพาหนะในสมัยนั้นที่ใช้สัญจรไปยังต่างๆ เมื่อทุกคนพร้อมเรื่องราวการผจญภัยของคูน ครอบครัว และเพื่อนบ้านก็เริ่มต้นขึ้น เจอเหตุการณ์ต่างๆในระหว่างการเดินทาง สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และหากินง่ายๆนฉบับของชาวบ้านที่ไปไหนก็ไม่อดตายอย่างแน่นอน เพราะรูจักการใช้ชีวิตเป้นอย่างดี

อ่านต่อได้ที่ http://ariyapronjaban132536.bl...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ตำนานเมืองลับแลที่ราชบุรี

เมืองลับแลเขาวังสะดึง

ในพื้นที่ ต. เขาแร้ง อ. เมือง จ. ราชบุรี เดิมที่เขาวังสะดึงด้านทิศตะวันออกจะมีปากถ้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะมีหินแผ่นใหญ่ปิดปากถ้ำซ้อนกันอยู่ ไม่สามารถเข้าไปภายในถ้ำได้

ณ ถ้ำแห่งนี้มีประวัติเล่ากันต่อ ๆ กันมาว่า เป็นที่พักอาศัยของชาวเมืองลับแล ซึ่งชาวเมืองลับแลจะมีรูปร่างสันทัดคล้ายกับคนไทยโดยทั่วไป การแต่งตัวก็เหมือนกับคนไทยโดยทั่วไป แต่มีภาษาพูดที่แตกต่างจากคนไทย

ภายในถ้ำในวันดีคืนดีจะมีเสียงดนตรีไทยประเภทวงปี่พาทย์ดังแผ่ว ๆ มาจากในถ้ำ แต่ไม่สามารถหาแหล่งที่มาของเสียงได้ จากเมืองลับแลนี้ชาวเมืองลับแลจะเป็นกลุ่มคนที่มีความซื่อสัตย์ ขยันทำมาหากิน ซื่อตรง รักเดียวใจเดียว ไม่ลักเล็กขโมยน้อยอยู่กันเป็นกลุ่ม จะพบเห็นคนเมืองลับแลได้ก็ต่อเมื่อเวลาใกล้ค่ำ ชาวลับแลจะออกมาอาบน้ำในสระน้ำด้านหน้าของเขาวังสะดึง เรียกชื่อสระนี้ว่า “สระพัง”  หรือบางครั้งชาวลับแลจะลงมาจากเขามาจับจ่ายชื้อเสบียงอาหารที่บริเวณตลาดนัด

อ่านต่อได้ที่ http://rb-history.blogspot.com...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ตำนานหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา

ตำนานหลวงพ่อโสธร กว่า ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา ได้มีเรื่องเล่าว่ามีพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แสดงปาฏิหาริย์โดยการลอยตามน้ำลำแม่น้ำเจ้าพระยามาจากทางเหนือ จากนั้นได้มาผุดขึ้นที่บริเวณแม่น้ำบางปะกง เมื่อมาถึงบริเวณตำบลบางขวัญและตำบลบ้านใหม่ ก็ได้แสดงปาฏิหารย์โดยการลอยทวนน้ำ เมื่อชาวบ้านเห็นจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “สามพระทวน” ตามชื่อเหตุการณ์ แต่ก็เรียกเพี้ยนกันไปจนเป็น “สัมปทวน” ในเวลาต่อมา เมื่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ลอยต่อไปจนถึงคุ้งน้ำ ชาวบ้านมากมายพากันใช้เชือกฉุดขึ้นฝั่ง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ทำไม่สำเร็จ ทำให้ต่อมาชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “บ้านบางพระ” จากนั้นพระพุทธรูปก็ลอยต่อเข้าไปในคลองเล็ก ๆ แล้วก็เกิดลอยวน ทำให้ชาวบ้านเรียกสถานที่นี้ว่า “แหลมหัววน” ชาวบ้านได้พยายามอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นฝั่ง แต่ก็ยังคงไม่สำเร็จอีกเช่นเคย จึงต้องทำพิธีตั้งศาลเพียงตาขึ้นมาบวงสรวง จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กองค์นี้ขึ้นจากฝั่งได้โดยสำเร็จ แล้วนำขึ้นมาแล้วก็ได้พากันไปประดิษฐานที่วัด พร้อมถวายนามแก่องค์พระว่า “พระโสทร” ซึ่งหมายถึงพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน แต่เมื่อล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น “โสธร” ที่มีความหมายว่าสะอาดนั่นเอง

อ่านต่อได้ที่ http://www.tumnandd.com/%E0%B8...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ตำนานรักอมตะ แม่นาคพระโขนง 

แม่นาก…….กล่าวถึงหนุ่มสาวผัวเมียคู่หนึ่งอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาอยู่ ณ บริเวณพระโขนง ฝ่ายสามีมีชื่อว่า นายมาก ส่วนภรรยามีชื่อว่า นางนาค ทั้งสองอยู่กินกันจนในที่สุดฝ่ายหญิงก็ตั้งครรภ์อ่อน แต่ยังไม่ทันจะได้คลอดลูก นายมากก็มีเหตุจำเป็นต้องไปรับใช้ชาติเป็นทหารประจำการณ์ที่กรุงบางกอก ทำให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกัน และปล่อยให้นางนาคอยู่เพียงลำพังกับลูกน้อยในครรภ์

เวลาผ่านไป ท้องของนางนากก็ใหญโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งครบกำหนดวันคลอด หมอตำแยก็มาทำคลอดให้ แต่ทว่าเกิดเหตุอันแสนโชคร้ายเนื่องจากลูกของนางนากไม่ยอมกลับหัว และคลอดออกมาตามวิธีธรรมชาติ ส่งผลให้นางนากต้องทุกข์ทรมาน และต้านทานความเจ็บปวดไว้ไม่ไหว จนสิ้นใจตายไปพร้อมกับลูกในท้อง และต้องกลายเป็นผีตายทั้งกลมในที่สุด และศพของนางนาคถูกนำไปฝังไว้ที่ป่าช้าท้ายวัดมหาบุศย์

เมื่อนายมากปลดประจำการจากบางกอก ก็รีบกลับมาหาเมียของตนที่พระโขนงโดยที่ไม่ทราบเรื่องเลยว่าเมียของตนนั้นเสียชีวิตไปแล้ว เมื่อนายมากกลับมาถึงในเวลาเข้าไต้เข้าไฟพอดี จึงไม่ได้พบเจอกับชาวบ้านคนไหนเลย อีกทั้งบริเวณบ้านของนางนากหลังจากที่นางตายไป ก็ไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้ด้วยเพราะความกลัวว่าผีนางนากจะมาหลอกหลอน ชาวบ้านต่างก็เชื่อกันว่า วิญญาณของผีตายทั้งกลมนั้นมีความดุร้ายและเฮี้ยนกว่าผีชนิดไหนยิ่งนัก

อ่านต่อได้ที่ http://www.tumnandd.com/%E0%B9...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

ความสำคัญของภาษาเเละวรรณกรรม 

      วรรณกรรม มิใช่เป็นแต่เพียงสื่ออย่างเดียว หากสิ่งที่แฝงลึกลงไปในช่องไฟระหว่างตัวอักษร ยังสะท้อนให้เห็นถึงความตื้นลึกหนาบางทางภูมิปัญญาของผู้เขียน และลึกลงไปในภูมิปัญญานั้นก็คือความจริงใจที่ผู้เขียนสะท้อนต่อตัวเองและต่อ ผู้อ่าน (พิทยา ว่องกุล. 2540 : 1) วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ชาติที่เจริญแล้วทุกชาติจะต้องมีวรรณกรรมเป็นของตัวเอง และวรรณกรรมจะมีมากหรือน้อย ดีหรือเลว ก็แล้วแต่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจของชนในชาตินั้น ๆ วรรณกรรมเป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ชาติใดมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงแค่ไหนและยุคใดมีความเจริญสูงสุด ยุคใดมีความเสื่อมทรามลง เพราะฉะนั้นวรรณกรรมแต่ละชาติ จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ยุคใดจิตใจของประชาชนในชาติ มีความเจริญหรือเสื่อมอย่างไรด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดถ่ายทอดจิตนาการและ แสดงออกซึ่งศิลปะอันประณีตงดงาม การศึกษาหรืออ่านวรรณกรรมแต่ละเรื่องทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ของยุคสมัยที่ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนผ่านมุมมองของตนออกมา รวมทั้งทำให้ผู้อ่านเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่มีต่อสภาพการณ์เหล่า นั้นด้วยดังนั้นวรรณกรรมจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์แทบทุกด้านอาจกล่าวได้ ว่า สังคมมนุษย์ที่เจริญมีอารยธรรม และเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวรรณกรรมทั้งสิ้น วรรณกรรมต่างมีบทบาท ความสำคัญ และอิทธิพลไม่มากก็น้อย ซึ่งคุณค่าเหล่านี้ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นไว้หลากหลาย

อ่านต่อได้ที่ https://thawat1ndy7.wordpress....




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

เนรเทศ

เนื้อหาของเรื่องเนรเทศไม่เริ่มต้นได้อย่างชัดเจน ตัวเอกเป็นคนพลัดถิ่นทางอีสานที่ต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด เขาเคยมีภรรยาคนหนึ่งแต่เสียชีวิตไปเนื่องจากมีอาการตกเลือดเมื่อครั้งคลอดลูก แต่วิญญาณของภรรยาก็ยังติดตามสามีไปตามที่ต่างๆ

ระหว่างดำเนินเรื่อง มีการสลับกับเรื่องราวการเมืองไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่วางโครงสร้างทางสังคมที่ทำให้เกิดผู้คนในระดับต่างๆ ขึ้นมา นับแต่การปฏิบัติ 2475 จนถึงเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549

ถัดจากนั้นจึงกลับมาที่รายละเอียดของตัวละเอกอีกครั้งซึ่งมีพล็อตเรื่องไม่สลับซับซ้อน โดยตัวละครเอกและญาติๆ จำเป็นต้องกลับบ้านที่อีสานหลังจากไปทำงานที่ชลบุรีมาเป็นเวลาหลายปี ระหว่างนั้นได้เล่าย้อนความเป็นมาของชีวิตพวกเขา นับแต่ความรักความผูกพันกับครอบครัวที่ต้องพลัดพราก การเดินทางที่ไม่สะดวกโดยเฉพาะรถสาธารณะประเภทรถทัวร์และรถไฟ
“เนรเทศ” จึงเป็นนวนิยายที่สะท้อนภาพสังคมชาวอีสานที่ต้องกระจัดกระจายไปตามหลักแหล่งต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ด้วยการสะท้อนให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ชาวอีสานเช่นตัวละครหลักเป็นเช่นนั้น ก็เพราะความผันแปรของชนชั้นปกครองที่ไม่เคยเหลียวแลคนชั้นล่างเช่นพวกเขาอย่างจริงจัง แต่กลับห้ำหั่นกันด้วยเรื่องของอำนาจอย่างเมามันนั่นเอง

อ่านต่อได้ที่ https://konmongnangetc.com/201...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านของไทย

     วรรณกรรมพื้นบ้าน (Folk Literature) มีความหมายเช่นเดียวกับวรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น เพลง นิทาน ตำนาน สุภาษิต เพื่อสร้างความบันเทิงให้สังคมในท้องถิ่น และเสนอแง่คิด คติสอนใจ ในการดำเนินชีวิต การศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านจะช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นรากฐานการศึกษาความคิดและพฤติกรรมของคนรุ่นปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมพื้นบ้าน

     ๑. วรรณกรรมพื้นบ้านมักจะไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาแม้ว่าบางครั้งจะทราบว่าผู้แต่งเป็นใคร เช่น เรื่องสังข์ศิลป์ชัยของภาคอีสาน มีหลักฐานระบุว่าท้าวปรางค์คำเป็นผู้แต่ง แต่ก็ไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนว่า ท้าวปรางค์คำมีตัวตนจริงหรือไม่ โดยทั่วไปวรรณกรรมพื้นบ้านจะระบุนามผู้เรียบเรียงหรือปริวรรต หรือผู้คัดลอก ซึ่งเรียบเรียงจากเรื่องราวเดิมที่เล่ากันอยู่ในท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว

     ๒. วรรณกรรมพื้นบ้านจะใช้ภาษาถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ มีทั้งที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา หรือแฝงนัยให้คิด ดังตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ เช่น

     ๓. วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งข้อมูลวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพราะได้บันทึกขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่น 

    ๔. วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาทางภาษาที่สืบทอดกันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ วิธีมุขปาฐะ คือการบอกเล่าต่อๆ กันมา ขณะที่เล่าถ่ายทอดกันนั้น ผู้เล่าก็จะต่อเติมเสริมแต่งเรื่องราวทำให้เนื้อเรื่องแตกต่างไปจากเค้าเรื่องเดิม 

 อ่านต่อได้ที่ http://ich.culture.go.th/index...

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านของภาคต่างๆ

วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ

แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ

วรรณกรรมของภาคเหนือ เช่น 

ตำนานจามเทวี

เป็นตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอาณาจักหริภุญไชยและล้านนา ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๙ ถึง พ.ศ.๒๐๖๘ ในยุคสมัยสมัยของพระญาเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังราย ปรากฏทั้งเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะในสำนวนชาวบ้านและวรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นเรื่องราวของพระนางจามเทวี ที่เกี่ยวกับประวัติการเข้ามาของพุทธศาสนาในเขตหริภุญไชย และเรื่องราวความเป็นมาของเมืองหริภุญไชย โดยเริ่มเรื่องตามธรรมเนียมของตำนานศาสนาทั่วไปที่เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าเพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในอาณาจักรหริภุญไชย

วรรณกรรมของภาคกลาง เช่น

ตำนานแม่นากพระโขนง

เป็นนิทานเรื่องผีของภาคกลาง ลักษณะเด่นของแม่นาคพระโขนงอยู่ที่เป็นนิทานเรื่องผี แสดงอภินิหารให้ปรากฏ คนจึงอยากรู้อยากเห็นตลอดมา นอกจากนี้ยังแสดงถึงความรักแท้ของหญิงไทย ซึ่งรักสามีเมื่อมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายไปก็ยังกลับมาปรากฏร่าง ทำหน้าที่ภรรยา และคุ้มครอง สามี ลูก ทรัพย์สมบัติของครอบครัว ในท้ายที่สุดตำนานเรื่อง “แม่นากพระโขนง” แสดงลักษณะเด่นของคำสอนทางศาสนาพุทธ ที่แสดงว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” และการหมดสิ้นบาปกรรมก็คือการอโหสิกรรม ยอมรับชะตากรรม ประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อหวังผลจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://dewkwt.blogspot.com/p/b...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

เบิร์ด ^^ นก 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท