อนุทิน 156516


พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านของภาคต่างๆ

วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ

แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ

วรรณกรรมของภาคเหนือ เช่น 

ตำนานจามเทวี

เป็นตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอาณาจักหริภุญไชยและล้านนา ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๙ ถึง พ.ศ.๒๐๖๘ ในยุคสมัยสมัยของพระญาเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังราย ปรากฏทั้งเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะในสำนวนชาวบ้านและวรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นเรื่องราวของพระนางจามเทวี ที่เกี่ยวกับประวัติการเข้ามาของพุทธศาสนาในเขตหริภุญไชย และเรื่องราวความเป็นมาของเมืองหริภุญไชย โดยเริ่มเรื่องตามธรรมเนียมของตำนานศาสนาทั่วไปที่เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าเพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในอาณาจักรหริภุญไชย

วรรณกรรมของภาคกลาง เช่น

ตำนานแม่นากพระโขนง

เป็นนิทานเรื่องผีของภาคกลาง ลักษณะเด่นของแม่นาคพระโขนงอยู่ที่เป็นนิทานเรื่องผี แสดงอภินิหารให้ปรากฏ คนจึงอยากรู้อยากเห็นตลอดมา นอกจากนี้ยังแสดงถึงความรักแท้ของหญิงไทย ซึ่งรักสามีเมื่อมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายไปก็ยังกลับมาปรากฏร่าง ทำหน้าที่ภรรยา และคุ้มครอง สามี ลูก ทรัพย์สมบัติของครอบครัว ในท้ายที่สุดตำนานเรื่อง “แม่นากพระโขนง” แสดงลักษณะเด่นของคำสอนทางศาสนาพุทธ ที่แสดงว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” และการหมดสิ้นบาปกรรมก็คือการอโหสิกรรม ยอมรับชะตากรรม ประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อหวังผลจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://dewkwt.blogspot.com/p/b...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท