อนุทิน 156441


Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

บทวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”

           หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวดด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์ เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ เรียงร้อยถ้อยดนตรี ชวนคิดพินิจภาษา นานาโวหาร คำขานไพรัช สมบัติภูมิปัญญา ธาราความคิด นิทิศบรรณา สาราจากใจและมาลัยปกิณกะ
          ในหมวด “ชวนคิดพินิจ” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษากับคนไทย การใช้สรรพนาม วิจารณ์คำอธิบายในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนา ในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองซึ่งผู้เขียนนำมานำเสนอในครั้งนี้
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น “บทความแสดงความคิดเห็น” ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจาก การวิเคราะห์ ซึ่งใช้วิจารณญาณของผู้เขียน โดยผ่านการสังเกตปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่เสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของ ผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อน
          อย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การบ่อนทำลาย ความน่าเชื่อถือของ ความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญญาไตรตรองโดยปราศจากอคติ และการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
          เนื้อเรื่องย่อนั้น ในตอนแรกของบทความ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกย่องบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์

อ่านต่อใน http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-59(500)/page2-10-59(500).html">http://www.stou.ac.th/study/su...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท