อนุทินล่าสุด


Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

บทวิจารณ์ : แผลเก่า ๒๕๕๗ รอยแผลเป็นทางสังคมไทย ?

        แผลเก่า หวนกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยฝีมือกำกับของหม่อมน้อย ที่พักหลักหยิบงานวรรณกรรมเก่าๆมาปัดฝุ่นแปลงโฉมให้เป็นหนังใหญ่ ไล่ตั้งแต่ ชั่วฟ้าดินสลายจนถึงแผลเก่า กลายเป็นสไตล์ของหม่อมน้อยในช่วงหลังๆ มานี้เลย แผลเก่าในเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้มีความแตกต่างในเรื่องเนื้อหาจากบทประพันธ์ของไม้เมืองเดิม ที่คงแก่นเรื่องความรักอมตะของขวัญกับเรียมแห่งท้องทุ่งบางกะปิไว้ บอกเล่าอุปสรรคความรักจนไปถึงจุดจบโศกนาฏกรรมที่หลายคนเรียกว่า โรมิโอกับจูเลียต เวอร์ชั่นไทยก็ไม่น่าจะผิด        
       แต่สิ่งที่โดดเด่นในงานแผลเก่าของหม่อมน้อยคือการใส่รายละเอียดของบริบททางสังคม วิถีชีวิตชาวนา ซึ่งต้องยอมรับว่าทำออกมาละเอียดตั้งแต่ทำนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว สีข้าว จนออกมาเป็นเม็ดข้าว ทุกอย่างดูใส่ใจไปหมด เพลงเกี่ยวข้าวแบบเดิมๆ ก็ย้อนเอามาให้คนรุ่นหลังได้ดูกัน โลเคชั่นก็ทำออกมาได้อย่างสวยงามสมกับคำว่าทุ่งทองแห่งบางกะปิ
                                                                            

อ่านต่อใน https://isanook.wordpress.com/...



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย

     สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย

       การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย

                                                                                                                  อ่านต่อใน http://suwarut.blogspot.com/20...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

"มัทนะพาธา" ตำนานรักแห่งดอกกุหลาบในวรรณคดีไทย

        "มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" เป็นพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)" เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละครพูดอันเป็นข องแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก

มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริ ให้ใช้คำฉันท์ เป็นละครพูด อันเป็นของแปลก ในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใด ได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษา ซึ่งปรุงชื่อตัวละคร และภูมิประเทศ ถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่งได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และสุตาญาณ อันกว้างขวาง

อ่านต่อใน http://bangkrod.blogspot.com/2...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วรรณคดีไทย Thai Traditional Literature

     Thai Traditional Literature is essentially religious. Most of the literature in the old days consisted of works on Buddhism and Hinduism directly or indirectly. Whatever culture the Thai people brought with them from thier homeland in Southern China where they had been in contact with Chinese culture for centuries was adapted to its later conception of Buddhism, their adopted religion. Traces of their original culture may be found here and there in a disguised and weak form embedded in their literature. Most of the works of emotive literature were written in veerse in various patterns. Five prominent examples of such works may be cited briefly.
       1. The Romance of Khun Chang Khun Phaen, an indigenous story of love and pathos, at time humourous, of a triangular love plot of one heroine with two lovers. The story, apart from its beautiful expressions, contains a mine of infomation on old beliefs and social customs of the Thai before the impact of Western culture. The story as is known has been traslated into English and French.

                                                                                                                      อ่านต่อใน http://www.engjang.com/article...
 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

‘ขุนช้างขุนแผน’ วรรณคดีมีชีวิต กับการตีความที่ไม่รู้จบ

เป็นเวลากว่า 2 ศตวรรษที่วรรณคดีเรื่อง ‘ขุนช้างขุนแผน’ โลดแล่นอยู่ในบรรณพิภพของสังคมไทย บทบาทอันเข้มข้นซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความผูกพันระหว่างเพื่อน ก่อนจะพัฒนาไปสู่รักสามเส้าของหนึ่งหญิงสองชาย โศกนาฏกรรมและเรื่องราวโกลาหลที่ใครจะคาดคิด ได้กลายเป็นเสน่ห์ที่มัดใจผู้คนที่ได้มีโอกาสลิ้มลองอรรถรสแม้เพียงเล็กน้อยให้หลงใหลอยู่ในความสนุกสนานไม่รู้เบื่อ 
 
แน่นอนว่า ที่เป็นเช่นนี้ หลายคนอาจจะคิดว่ามาจากความเชื่อที่ว่า เรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นสืบเค้ามาจากโครงร่างความเป็นจริง ดังที่ปรากฏหลักฐานอ้างอิงจำนวนไม่น้อย ทั้งพระนามของพระมหากษัตริย์สมัยนั้นคือ สมเด็จพระพันวษา ก็ยังตรงกับพระนามของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หรือชื่อสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรีตลอดจนจังหวัดต่างๆ ที่แต่ละแห่งล้วนเกี่ยวโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวละครทั้งสิ้น รวมไปถึงการสร้างพระขุนแผน หนึ่งในตัวละครสำคัญ ซึ่งว่ากันว่ามีอิทธิฤทธิ์ในเรื่องมหาเสน่ห์เป็นอย่างยิ่ง

                                                                                                              อ่านต่อใน http://www.happyreading.in.th/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

หนังสือพิมพ์คือวรรณกรรมเร่งรีบ

   งานวรรณกรรมคืองานที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือ ไม่ว่าการเขียนหนังสือนั้นจะเป็นรูปแบบใด นับเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ทั้งจินตนาการและวิชาความรู้ควบคู่กัน ว่ากันอย่างง่าย งานวรรณกรรมมีหลายประเภท ตั้งแต่นวนิยายซึ่งส่วนใหญ่ใช้จินตนาการเป็นสำคัญ ผูกเรื่องขึ้นมาให้มีชีวิตชีวาที่สมจริง หรือสวยสดงดงาม หรืออาจโหดร้ายทารุณ แล้วแต่ผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์นั้นจะดำเนินเรื่องราวผ่านตัวหนังสือไปในทางใด

     วรรณกรรมเรื่องสั้น เป็นเรื่องที่ผูกเรื่องขึ้นมา อาจมาจากชีวิตจริง หรือจากความคิดคำนึงของผู้เขียนที่ให้ผู้อ่านคล้อยตามไปกระทั่งถึงตอนจบ เรื่องสั้นบางเรื่องนิยมจบแบบหักเหไม่เป็นไปตามความคิดของผู้อ่าน เป็นประเภทที่ผู้อ่านคาดไม่ถึงว่าเรื่องจะเป็นไปในตอนจบอย่างนั้น

     บทกวี เป็นการประพันธ์ที่มีความละเมียดละไม ใช้ความสวยงามทางภาษา หรือใช้ภาษาดุดันปรับอารมณ์ผู้อ่านให้เป็นไปตามความต้องการนั้น มีหลายรูปแบบ

                                                                                                          อ่านต่อใน https://www.matichonweekly.com...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

ความสำคัญของภาษาถิ่น

      ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่พูดกันในท้องถิ่นต่างๆ ตามปกติ เป็นภาษาที่คนในถิ่นนั้นๆ ยังคงพูดและใช้อยู่จำนวนมาก คำบางคำในภาษากลางได้เลิกใช้ไปแล้ว แต่ในภาษาถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียมไว้เป็นอย่างดี
      ในการศึกษาภาษาถิ่นย่อมจะศึกษาท้องถิ่นในด้านที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมได้ เพราะภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาถิ่นจะรักษาคำเดิมได้ดีกว่าภาษามาตรฐาน เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาและวัฒนธรรมน้อยกว่า นอกจากนี้การศึกษาในท้องถิ่นมีประโยชน์ในการศึกษาด้านวรรณคดีอีกด้วย เพราะวรรณคดีเก่าๆ นั้น ใช้ภาษาโบราณ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นจำนวนมาก เช่น วรรณคดีสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถ้าเราไม่เข้าใจภาษาถิ่นที่ใช้ ก็จะตีความไม่ออกและยากต่อการศึกษาวรรณคดีนั้นๆ ได้ ฉะนั้นเราจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาภาษาถิ่นทุกถิ่น จึงจะมีความรู้กว้างขวาง เช่น ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ว่า
      “เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า” คำว่า “เข้า” แปลว่า ปี สิบเก้าเข้า คือ อายุเต็ม 18 ย่าง 19

                                                                                                                 อ่านต่อใน https://www.baanjomyut.com/lib...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

5 วรรณกรรมเยาวชนจากอังกฤษที่ทุกคนไม่ควรพลาด!

    หนังสือวรรณกรรมสำหรับเยาวชนและเด็กก่อนวัยผู้ใหญ่ (Young Adult) กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากๆ ทั้งในอังกฤษและอเมริกา ในความจริงแล้วหนังสือเหล่านี้นั้นมีมานานก่อนที่จะเกิดการแบ่งแยกแล้วตั้งชื่อประเภทให้มันเสียอีก ข้อดีของหนังสือเหล่านี้ก็คือเนื้อหาที่ไม่หนักหน่วงมากนักเหมือนกับวรรณกรรมของผู้ใหญ่ และภาษาที่ไม่ได้ซับซ้อนจนอ่านแล้วเกินจะเข้าใจเหมือนวรรณกรรมคลาสสิก ดังนั้นแล้วงานเขียนประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ตั้งใจจะเรียนภาษาอังกฤษและอยากหัดอ่านหนังสือให้เป็นเรื่องเป็นราวมากๆ

    HARRY POTTER โดย J.K. ROWLING

สุดยอดวรรณกรรมเยาวชนที่มียอดขายพุ่งสูงตลอดกาล จากปลายปากกาของนักเขียนชาวอังกฤษ J.K. Rowling ก็ต้องเรื่องนี้เลย – Harry Potter – ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 เล่ม และยังมีบทละครที่เพิ่งออกมาใหม่เป็นภาคแยกเพิ่มอีกหนึ่งเล่มอีกด้วย วรรณกรรมเยาวชนชุดนี้เป็นที่นิยมที่สุดในยุค ถ้าต้องการเริ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษแล้วล่ะก็ Harry Potter เป็นเล่มแรกๆที่แนะนำเลยล่ะค่ะ เพราะทั้งโครงเรื่องที่น่าติดตาม ภาษาที่ไม่ยากจนเกินไป จะทำให้คุณติดหนึบจนเงยหน้าไม่ขึ้นเลยทีเดียว

                                                                                                                    อ่านต่อใน https://www.dailyenglish.in.th...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมเวียดนาม 30ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่และการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

      ภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศตั้งแต่ปี1986ถือเป็นแรงกระตุ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงและผลักดันการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศ เป็นพลังจูงใจให้แก่การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกแห่งการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพของผลงานวรรณกรรมที่มีเส้นทางการเข้าถึงชีวิตในหลายมิติ ยกตัวอย่างนักเขียน เหงวียนฮวีเถียบกับผลงานที่เป็นเรื่องสั้นที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เขาในแวดวงวรรณกรรมยุคเปลี่ยนแปลงใหม่เช่น “นายพลเกษียณ” ต่อมาก็มีนักเขียนบ๋าวนิงห์กับเรื่อง “ความเศร้าโศกแห่งสงคราม” เรื่อง “เส้นทางเล็กๆ”ของนักเขียน ญือถิหว่าน เป็นต้น 


                                                                                                                    อ่านต่อใน http://vovworld.vn/th-TH/%E0%B...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

ความแตกต่างของนิยายกับวรรณกรรม

               

        ใครที่เป็นหนอนหนังสือหรือรักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจเคยมีความสงสัยกันบ้างไหม ว่าหนังสือแต่ละประเภทที่เราอ่านแบบไหนถึงจะเรียกว่านิยาย นวนิยาย วรรณกรรม เพราะเมื่อดูๆไปมันก็คล้ายกันหมด ทั้งแนวเรื่อง ภาษาเขียน ดังนั้นเรามาลองหาคำจำกัดความของแต่ละประเภทกันดีกว่า เพื่อที่จะได้เพิ่มอรรถรสและเข้าใจงานเขียนแต่ละประเภทให้คุณได้ความบันเทิงจากการอ่านมากขึ้นอีกด้วยคะ

      ความหมายของนิยาย ถ้าจะกล่าวตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ.2525 ได้ให้คำนิยามของนิยายไว้ว่า เป็นการเล่าเรื่องต่อกันมา โดยที่เรื่องราวเหล่านั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่มีความแน่นอนหรือหลักฐานข้อเท็จจริงทั้งหมด มีการแต่งเติมเสริมแต่งบางช่วงบางตอนให้มีความพิเศษหรือเหนือกว่าเรื่องจริง เป็นเรื่องที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้น เช่น นางเหงือกที่มีเวทย์มนต์คาถาสามารถใช้ชีวิตเดินได้เหมือนมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็ทำให้นิยายไปมีความคล้ายคลึงกับตำนาน ไม่ว่าจะเป็นตำนานที่เป็นเรื่องเล่า หรือตำนานพื้นบ้านจนผู้อ่านเองก็แยกแทบไม่ออกได้เหมือนกัน




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

บทวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”

           หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวดด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์ เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ เรียงร้อยถ้อยดนตรี ชวนคิดพินิจภาษา นานาโวหาร คำขานไพรัช สมบัติภูมิปัญญา ธาราความคิด นิทิศบรรณา สาราจากใจและมาลัยปกิณกะ
          ในหมวด “ชวนคิดพินิจ” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษากับคนไทย การใช้สรรพนาม วิจารณ์คำอธิบายในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนา ในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองซึ่งผู้เขียนนำมานำเสนอในครั้งนี้
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น “บทความแสดงความคิดเห็น” ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจาก การวิเคราะห์ ซึ่งใช้วิจารณญาณของผู้เขียน โดยผ่านการสังเกตปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่เสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของ ผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อน
          อย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การบ่อนทำลาย ความน่าเชื่อถือของ ความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญญาไตรตรองโดยปราศจากอคติ และการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
          เนื้อเรื่องย่อนั้น ในตอนแรกของบทความ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกย่องบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์

อ่านต่อใน http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-59(500)/page2-10-59(500).html">http://www.stou.ac.th/study/su...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ตามรอยพระบาทสยามบรมราชกุมารี

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตระหนักในคุณค่าของหนังสือ

โปรดการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  และการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง  อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในวรรณคดีไทยและงานกวีนิพนธ์ ซึ่งเป็นผลมาจากทรงได้รับการปลูกฝังพระอุปนิสัย

ดังกล่าวมาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงเล่าเรื่องในวรรณคดีไทยพระราชทานมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ดังบทความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง “แม่” ว่า


                                                                                                                        อ่านต่อใน http://www.finearts.go.th/prom...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

พระราชนิพนธ์ “ในหลวง” พระอัจฉริยภาพ “ภาษา-วรรณกรรม”

       ตลอดระยะเวลา 70 ปีนับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ทรงพระราชนิพนธ์งานเขียนไว้มากมาย แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และ พระปรีชาสามารถด้านภาษาและวรรณกรรม

      งานพระราชนิพนธ์ชิ้นแรกๆ ของพระองค์นั้น เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ พระราชทานคือ “พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8” และพระราชนิพนธ์เรื่อง เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์, พระมหาชนก, ทองแดง และทองแดงฉบับการ์ตูน

      ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าภาษาอังกฤษได้กลายมาเป็นภาษาสำคัญ ในเวลาว่างพระองค์จะทรงพระอักษรและทรงพระราชนิพนธ์แปลบทความจากวารสารภาษาต่างประเทศ จนใน พ.ศ.2537 ทรงแปล “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” และในปีต่อมาทรงแปลเรื่อง “ติโต” นอกจากนี้ ยังมีบทความที่ทรงแปลและเรียบเรียง ลงในนิตยสารต่างประเทศอีกหลายชิ้น
                                                                                                                   อ่านต่อใน https://www.khaosod.co.th/spec...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

‘วรรณกรรม’ สำคัญไฉน? ทำไมคนเรียนเอกภาษาต่างประเทศต้องเรียนวิชานี้

1. วรรณกรรมทำให้เราเข้าใจที่มาของภาษา

    เหตุผลแรกและเหตุผลหลักที่คนเรียนภาษาต้องเรียนวรรณกรรมก็เพราะ วรรณกรรมนั้นทำให้เราเข้าใจที่มาของภาษามากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ความคิดความอ่านของคนสมัยก่อนที่ถ่ายทอดออกมาสู่วรรณกรรมในแต่ละเรื่อง ซึ่งล้วนแล้วแฝงมาด้วยคุณค่าทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษเอง ก็ต้องเรียนทั้งวรรณกรรมอังกฤษและวรรณกรรมอเมริกา เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงที่มาของทั้ง 2 ฝั่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  

    และเมื่อได้เข้ามาเรียนภาษา เรายังต้องเรียนรู้ถึงภูมิหลังเทวตำนานของแต่ละภาษาอีก
ด้วย เพราะตำนานเทพเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการเกิดภาษา และคำศัพท์ในหลายแวดวงที่เราใช้กันในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ในสาขาภาษาอังกฤษ ก็ต้องเรียนตำนานกรีกและโรมัน และอย่างที่พี่ได้บอกว่าเทพเจ้าเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อการเกิดภาษา พี่ขอยกตัวอย่างคำที่เห็นชัดๆ ก็คือ โรค Panic Disorder หรือโรคขี้กังวล โรคตื่นตระหนก ซึ่งคำว่า ‘Panic’ ก็มีรากฐานมาจากเทพเจ้าในตำนานกรีกที่ชื่อว่า ‘Pan’

                                                                                                                       อ่านต่อใน https://www.dek-d.com/studyabr...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

อภิปราย: “มหัศจรรย์เรื่องสั้น-ประสบการณ์นักเขียนรางวัลซีไรต์ไทย”

จรูญพร: เริ่มต้นเขียนหนังสือได้อย่างไร

อุทิศ : เริ่มต้นเป็นหลักเป็นฐานจริงๆ คือเขียนงานวิจารณ์ภาพยนตร์ในมูฟวี่ไทม์ แล้วก็ทำมาหลายปีต่อเนื่อง และเนื่องจากว่าเราตัดสินใจทำงานเขียนเป็นงานเลี้ยงตัวเองให้ได้ ก็ขอเขียนชนโรง เพิ่มนะ ไปดูหนังนอกกระแสที่เข้าตามโรงภาพยนตร์ เขียนวิจารณ์มาให้

งานเขียนบทวิจารณ์ เราฝึกจากการไปดูงานของคนอื่น ถึงแม้จะต่างสาขา เป็นภาพยนตร์ก็ตาม แต่เวลาเรามาเขียน มันก็ต้องมีทั้งส่วนที่บรรยายสิ่งที่ได้ดูมา สรุปเรื่องราว เนื้อหา และประเด็น หรือสิ่งต่างๆ ที่เราจะพูด มันก็เหมือนกับเป็นการฝึกจัดลำดับความคิด  ซึ่งผมว่ามันเป็นเวทีที่ดีมาก การที่ได้เขียนบทวิจารณ์วรรณกรรมหรือบทความ มันช่วยฝึกทำงานแทบทุกวัน

พอมันกลายเป็นชีวิตประจำวัน ความคิดเรื่องเกี่ยวกับการจัดการศิลปะมันค่อยๆ เริ่มกลายพันธุ์ ตอนนั้นเรายังรู้สึกว่าศิลปินต้องมีอารมณ์ก่อน ถึงจะสร้างงาน ผมก็เรียนจิตรกรรม ที่ศิลปากรมา เพราะฉะนั้น เราก็ยังยึดติดอยู่กับมายาคติที่ว่า ต้องมีอารมณ์ถึงจะสร้างงาน

                                                                                                                อ่านต่อใน http://papercuts.co/2014/08/as...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ
เขาวงกตของ โลกีย-นิพพาน, ธัญลักษณ์ เหลืองวิสุทธิ์
 
          เรื่องสั้นเรื่อง โลกีย-นิพพาน ของ วินทร์ เลียววาริณ ซึ่งเคยได้รับรางวัลช่อการะเกดยอดนิยมประจำปี 2535 และอยู่ในงานรวมเล่มที่ชื่อ อาเพศกำสรวล ซึ่งก็ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทเรื่องสั้น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2538 และสถานภาพปัจจุบันของรวมเรื่องสั้นเล่มนี้ ก็คือเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ผ่านการเข้ารอบ 7 เล่มสุดท้ายของคณะกรรมการพิจารณาซีไรต์ปี 2539 ผู้วิจารณ์มีความสนใจเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ อาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องเปิดเรื่องแรกของรวมเรื่องสั้น อาเพศกำสรวล ก็ได้ ที่ได้ตรึงผู้วิจารณ์ให้ตื่นตาตื่นใจในกลวิธีการนำเสนอที่ขับเนื้อหาให้โดดเด่น (สาระบางตอนจากคำนำของสำนักพิมพ์ดอกหญ้า) ผู้วิจารณ์จึงอยากทดลองกระทำ วรรณกรรมวิจารณ์ ต่อเรื่องสั้นเรื่องนี้ดูบ้างวินทร์เป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่อาจตระหนักถึง สัญญะ (signs) ที่ไม่ได้หมายถึงระบบภาษาพูด/เขียนเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอะไรก็ได้ที่มนุษย์ในสังคมใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งในเรื่องสั้นเรื่องนี้วินทร์ได้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสองคอลัมน์ คอลัมน์ทางซ้ายที่วินทร์ใช้เขียนถึง ผม กับ หญิงบริการปูพื้นด้วย background ดำ 100% ตัวหนังสือเจาะขาว ขณะที่คอลัมน์ซีกขวาก็ใช้พื้นขาวของกระดาษ พิมพ์ตัวหนังสือดำ ตามแบบหนังสือทั่วไป เพื่อใช้พูดถึง ผม กับหลวงพี่สันติ ซึ่งเป็นพระพี่ชาย

อ่านต่อใน http://winbookclub.com/popup.p...


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

การวิจารณ์วรรณกรรมโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้าง  

     

            หากจะพิจารณาจากวรรณกรรมแล้ว  จะเห็นว่าการสร้างวรรณกรรมต้องเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ ของวรรณกรรมมาสร้าง  ไม่ว่าจะเป็น  โครงเรื่อง  ตัวละคร  ฉาก  บทสนทนา  สัญลักษณ์  แก่นเรื่อง  ภาษา  ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญจะขาดไม่ได้  โครงสร้างดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่นักวิจารณ์มุ่งพิจารณา  ดังนั้น  การวิจารณ์วรรณกรรมโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้าง  จึงเป็นแนวทางการวิจารณ์ที่มุ่งให้ความสำคัญกับองค์ประกอบภายในของวรรณกรรมว่ามีคุณภาพดีเด่นเพียงไร  โดยผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบหรือโครงสร้างของวรรณกรรม  เมื่อมีพื้นฐานด้านการวิเคราะห์แล้วจึงสามารถวิจารณ์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างได้อย่างมีคุณค่า
                                                                  อ่านต่อใน http://phacharaporn53341001032...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม

      การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (2545 : 128) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้1. ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ2. ลักษณะคำประพันธ์3. เรื่องย่อ4. เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น5. แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก6. คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น 5 ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ

                                                                                                                    อ่านต่อใน https://kingkarnk288.wordpress...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

บทวิจารณ์เรื่องสั้น "สัญชาตญาณมืด" ของ อ.อุดากร 

           อ.อุดากร เป็นนามปากกาของ อุดม อุดาการ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2467 ที่ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การศึกษา เรียนหนังสือชั้นประถมและมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ หลังจบมัธยมศึกษาปี่ 6 จึงเรียนต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้วสอบเข้าเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิชาแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช 
           พ.ศ.2478 ในปลายปีการศึกษาแรกของการเรียนวิชาแพทย์ ล้มป่วยด้วยโรคปอด ต้องพักการเรียน 2 ปี เพื่อรักษาตัว เมื่อครบกำหนดอาการยังไม่ปกติ จึงต้องลาออก       

                                                                                                                  อ่านต่อใน http://noppharat-tadsawa.blogs...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

“ละครบทเดิม” ภาพสะท้อนความล้มเหลวทางการเมืองใน “ขุนทองจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง”

        ความแตกต่างทางความคิด และความขัดแย้งทางการเมือง คือปรากฏการณ์ซ้ำ ๆ ของสังคมไทย เมื่อย้อนกลับไปอ่านผลงานของอัศศิริ ธรรมโชติ นักข่าวที่เป็นตัวแทนของผู้นำเสนอข้อมูลจริงแต่ไม่สามารถนำเสนอความจริงได้ ความอึดอัดทางจิตวิญญาณจึงผลักให้เขาสร้างงานเขียนที่ชื่อว่า “ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง” เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลที่สะท้อนภาพเหตุการณ์ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ผ่านวรรณกรรมที่คนส่วนใหญ่มองว่า “คือเรื่องแต่ง”
        ความโกรธแค้นนั้นแม้นมาก ก็จะต้องหายไปได้ด้วยกาลเวลาบ่เลือน ความสุขแต่หนหลังจะเรียกหาภยันตรายใน         
        ป่าใหญ่จะผลักดันให้มันกลับ-เจ้าขุนทองจะต้องทิ้งดาบออกจากป่ามาบ้าน และฟ้าสางวันนี้มีหรือจะไม่มีวัน?

                                                                                                                  อ่านต่อใน https://www.bloggang.com/mainb...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วิจารณ์วรรณกรรม ความสุขของกะทิ

         นวนิยาย เรื่อง ความสุขของกะทิ เจ้าของงานเขียนคือ งามพรรณ เวชชาชีวะ  เป็นวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับการการันตีว่าเป็นวรรณกรรมที่สร้างสรรค์ ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) จากคำประกาศของคณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอา เซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเรื่องราวของเด็กหญิงวัย ๙ ขวบ คนหนึ่ง ชื่อ กะทิ ที่ต้องผ่านประสบการณ์ในชีวิตที่ต้องพบเจอกับการสูญเสียครั้งสำคัญ นั่นคือการจากไปของคุณแม่ เธอได้ผ่านเรื่องราว ขั้นตอนทั้งสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและความสูญเสียถึงกระนั้นเธอก็ได้เรียนรู้ว่าความทุกข์จาการสูญ เสียไม่อาจพรากความสุขจากความรักและความของแม่กับเธอได้ เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความที่เชื่อมั่นและกำลังใจในการ ดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เธอรักและรักเธอ  

  

                                                                                                                     อ่านต่อใน http://kadsada.blogspot.com/20...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

เรื่องสั้น  “ในวันที่วัวชนยังชนอยู่”  บทวิจารณ์โดย  นางสาวกมลรัตน์  สุขขี

        วัชระ สัจจะสารสิน เป็นนามปากกาของ วัชระ เพชรพรหมศร เขาเกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2518  เป็นชาวอำเภอควนเนียง  จ.สงขลา  เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านควนเนียง  มัธยมศึกษาที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ
จ.สงขลา  ปริญาตรี/โท  คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  ปริญญาตรี  คณะนิติศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์
       วัชระ เคยทำงานพิสูจน์อักษรในสำนักพิมพ์นาคร และประจำกองบรรณาธิการนิตยสารไรเตอร์แม็กกาซีน ยุค กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็นบรรณาธิการ ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
                                                                                                                       อ่านต่อใน http://noopan1234.blogspot.com...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วิจารณ์เรื่องสั้น ปราสาทใยแมงมุม : ภาพแทน “อนุสรณ์แห่งรัก” ที่ไม่มีวันเป็นจริง

เหมือนได้อ่านนิทาน

และเป็นนิทานความรักของแมงมุมกับแมลงปอสาวก้อนก้นงามงอนที่น่าหลงใหลและจดจำเรื่องหนึ่ง

แมงมุมศิลปินตัวนี้ ทำให้ผู้เขียนคิดถึงการอยากปลีกตัวของ “โจนาธาน ลิฟวิงสตัน” นกนางนวลแหกคอกที่ทำตัวไม่เหมือนนางนวลตัวอื่นๆ

หรือการแปลกแยกต่อสังคมของนาย “แฮร์รี่ ฮอลเลอร์” ใน สเตปเปนวูล์ฟ ของ เฮอร์มานน์ เฮสเส

แม้ว่า “ปราสาทใยแมงมุม” จะไปไม่ถึงปรัชญาล้ำลึกในแง่ของการแสวงหาเช่นนั้น

แต่บุคลิกความต่างทางกายภาพของมัน ก็ชวนให้คิดถึงงานประพันธ์ทั้งสองเรื่องดังกล่าว

แม้ใยแมงมุมในเรื่องจะไม่ได้ถูกใช้ดักหรือล่อเหยื่อตามกลไกของธรรมชาติ

และถูกนำไปใช้ถักทอลวดลายประดิษฐ์แทน

นั่นก็อาจเป็นเพราะการไม่ต้องการจะเป็นเหมือนแมงมุมตัวอื่นๆ หรือฝืนต้านธรรมชาติที่ตัวมันต้องเป็น และจะผิดอะไรนัก หากแมงมุมสักตัวจะแตกต่างนอกคอกออกจากผองพันธุ์ของมันเอง!

“ก็ฉันไม่ได้ชักใยเพื่อจะดักกินใครนี่นา”

                                                                                                                    อ่านต่อใน https://www.matichonweekly.com...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

การวิจารณ์เรื่องสั้น เรื่อง สนิม  โดย นทธี ศศิวิมล

-  การตั้งชื่อเรื่อง
          การตั้งชื่อเรื่องว่า “สนิม” เป็น การนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของตัวละครลักษณะเหมือนสนิมที่ เกิดขึ้นได้เสมอ  เหมือนสิ่งของอยู่นานการทำงานก็เสื่อมสภาพลงเมื่อเวลาผ่านไปสนิมก็ติดมา บอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีอายุประสิทธิภาพเป็นอย่างไร มีรอยตำหนิแล้วดังเช่น  เดียวกันกับจิตใจคนโดยเฉพาะผู้อำนวยการโรงพยาบาล (หมอใหญ่) ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่เป็นสนิม บุคคลที่ไม่คาดคิดว่าจะมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเห็นผลประโยชน์ที่เป็นปัจจัย ภายนอก ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ยกย่องคนที่ทำผิดหากจะว่าไปแล้วก็หลงในเรื่องอำนาจของตัวบุคคล คนที่ว่านี้คือนายหารผู้ใหญ่บ้าน แม้จะเคยกระทำผิดมาซึ่งถือว่าร้ายแรงนักต่อชีวิตที่เหมือนกับหักผังดังตอไม้ สนิมติดอยู่ในใจคนมันยากที่จะลบเลือน

- ตัวละคร      
        แพทย์หญิงวิชุดา:  จิตแพทย์สาวที่มีลักษณะเป็นคนช่างสังเกต เป็นคนอัธยาศัยดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีอคติต่อใคร เธอได้ดูแลคนป่วยชื่อนายประชา ที่เป็นคนร้ายเมายาบ้า และเด็กสาวชื่อขอนขาวที่เธอเอ็นดูและรักเหมือนลูก
       นายประชาเขาเป็นผู้ป่วยทางจิตมาบำบัดรักษาและเป็นที่น่ารังเกียจของคนในชุมชนเดียวกัน


อ่านต่อใน http://sakuna24.blogspot.com/




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

17 รายชื่อ รางวัลหนังสือซีไรต์ พ.ศ. 2560 ผ่านเข้ารอบแรก

ผลการคัดเลือกหนังสือ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) พ.ศ. 2560 ได้พิจารณาลงมติคัดเลือกให้ผลงานเรื่องสั้น ที่ส่งเข้าประกวดจำนวนทั้งหมด 57 เรือง ผ่านเข้ารอบแรก (Long List) จำนวน 17 เรื่อง มีรายชื่อดังต่อไปนี้

 1.กลับสู่โลกสมมุติ รัชศักดิ์ จิรวัฒน์

2.กลางฝูงแพะหลังหัก อุมมีสาลาม อุมาร

3.ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล วิกรานต์ ปอแก้ว



                                                                                                        อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/con...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท