อนุทิน 156146


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

รูปแบบระบอบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน กำหนดฐานะและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่แตกต่างกันของคนเราในการผลิต ดังนั้น เนื้อหาของความสัมพันธ์การผลิต จึงประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

1. รูปแบบระบอบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต เช่นผลิตมาแล้วได้ใคร 2. ฐานะและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในกระบวนการผลิตของกลุ่มสังคม (กลุ่มชน หรือชนชั้น) ที่แตกต่างกัน อันเกิดจากข้อ 1. เช่นเป็นชนชั้นปกครองหรือชนชั้นถูกปกครอง 3. รูปแบบการแบ่งปันผลิตผล (หรือการกระจายรายได้)ที่กำหนดโดยข้อ 1. และ 2.

เนื้อหาทั้ง 3 ด้านนี้ ส่งผลสะเทือนซึ่งกันและกัน แต่ "ระบอบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต" เป็นด้านหลักที่เป็นผู้กำหนดรูปลักษณ์ของสังคม เป็นพื้นฐานที่สุด และเป็นธาตุแท้ของความสัมพันธ์การผลิต

แบบวิธีการผลิต (หรือวิถีการผลิต) พูดให้ง่ายกว่านี้ก็คือแบบวิธีการได้มาซึ่งปัจจัยการครองชีพที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ คือปัจจัยชี้ขาดในกระบวนการพัฒนาของสังคม เพราะมนุษย์จำเป็นจะต้องมีชีวิตอยู่ให้ได้เสียก่อน จึงจะเคลื่อนไหวทางการเมือง ทางวิทยาศาสตร์ ทางศิลปะ ฯลฯ ได้ 

อย่างน้อยก็จำเป็นจะต้องกิน ดื่ม มีเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยก่อนความบันเทิง เป็นต้น การที่จะได้มาซึ่งปัจจัยการครองชีพเหล่านี้ มนุษย์จำเป็นจะต้องทำการผลิต  หากห่างเหินการผลิต มนุษยชาติก็ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้และก็ไม่อาจจะมีชีวิตทางสังคม  

การผลิตเพื่อการครองชีพที่เป็นวัตถุจึงเป็นรากฐานแห่งการดำรงอยู่ทางสังคมของมนุษยชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท