อนุทิน 156076


Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

เทคนิคการบริหารเงินสด “เงินสด” (Cash) หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คที่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง ดราฟต์ของธนาคาร และธนาณัติ หรือหมายถึงสินทรัพย์ต่างๆ ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันทีที่ต้องการ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ตลอดจนสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินสด เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เป็นต้น  

การบริหารเงินสดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 

1. การกำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม 

-  พิจารณาถึงต้นทุน และผลประโยชน์ของการที่มีเงินสดไว้ในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย

2. การจัดเก็บเงินสดและการจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ 

-  กิจการควรจะหาวิธีลดระยะเวลาในขั้นตอนการการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย 2 วิธีดังนี้ 

2.1 การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด 

2.2 การชะลอเงินสดจ่าย คือเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ กิจการต้องชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า 

3. การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน -  การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน กิจการ ควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ 

จะเห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการบริหารเงินสดไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพ กิจการจะมีปัญหา ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องให้ความสนใจ ควบคุมดูแล เอาใจใส่ ในการบริหารเงินสดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท