อนุทินล่าสุด


Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

วิกฤตการณ์เงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงหรือไม่ ?

ถ้าถามว่าในอนาคตจะเกิดวิกฤตการ์เงินโลกที่รุนแรงกว่าเดิมไหม ? มันก็อาจจะเกิดได้นะ เพราะนักการเงินระดับแถวหน้าของโลกเกือบ 1000 ชีวิต คาดการณ์ถึงวิกฤตการณ์ทางการเงินรอบต่อไปที่กำลังจะถาโถมเข้าถล่มโลกของเราอีกระลอก เหนื่อยหนักแน่เพราะมันไม่ยอมสงบลงง่ายๆ                 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และชาติกำลังพัฒนา ซึ่งก็รวมถึงไทยแลนด์ของเราด้วย เจ้าภาพงานเสวนาครั้งนี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังระดับโลกนาม “อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์” วิทยากรรับเชิญ “รัสเซลล์ นาเปียร์”  และ  “แอนดรูว์ แลปธอร์น” พร้อมใจกันฟันธงเปรี้ยงว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกไม่แข็งแกร่งพอจะรับมือกับหนี้สินท่วมโลกที่กำลังเป็นวิกฤติใหญ่ หมายความว่าคนที่เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิ์ขาดทุนย่อยยับ เพราะตามทวงเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ แถมลูกหนี้ยุคนี้ยังถือคติไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย เจอแบบนี้เข้าไปในที่สุดก็จะพังครืนไปทั้งระบบ

           

การเตรียมตัวเพื่อรับวิกฤตการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

1. ลดหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยผูกพัน โดยเฉพาะหนี้ระยะสั้น เพราะในภาวะวิกฤติ หนี้ระยะสั้นอาจไม่สามารถหมุนทดรอบไปได้ จะทำให้ภาระดอกเบี้ยเบาลง และงบดุลแข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายและมีต้นทุนเงินกู้ที่ถูกลงในภาวะวิกฤติ

2. วางแผนกำลังคนอย่างยืดหยุ่น  ซึ่งทำได้โดยการเปิดรับให้มีพนักงานประเภทเหมาช่วง (Sub-contract) เป็นอัตราส่วนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับพนักงานประจำ หากเกิดภาวะที่ความต้องการสินค้าจากลูกค้าน้อยลง พนักงานประเภทเหมาช่วงจะทำให้ภาระในการลดต้นทุนค่าแรงงานเบาขึ้น และสามารถทำให้บริษัทตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที

3. กระจายข้อมูลความต้องการสินค้าและบริการให้รวดเร็วในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การผลิตหรือการบริการนั้นมีผู้รับช่วงอยู่ข้างบนและข้างล่างเราเสมอในห่วงโซ่อุปทาน ข้อมูลความต้องการสินค้าและบริการมาจากธุรกิจที่อยุ่ปลายห่วงโซ่อุปทานสู่ต้นน้ำ และสินค้าไหลจากธุรกิจต้นน้ำสู่ธุรกิจปลายน้ำ ภาวะเลวร้ายซึ่งความต้องการใช้สินค้าของผู้บริโภคลดลง 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

คนจีนชอบประเทศไทยในด้านใด ?

เคยสังเกตบ้างไหมว่าเราเดินทางไปเที่ยวที่ไหนๆในเมืองไทย ไม่ว่าจะเหนือ ใต้ ออก ตก หรืออิสาน เราจะเห็นต่างชาติอยู่ทุกๆที่ และที่เห็นกันมากที่สุดก็หนีไม่พ้นคนจีน มองไปทางไหนก็เจอ บางทีมาเป็นทัวร์หลายๆกลุ่ม นอกจากบ้านเรากับบ้านเขาจะใกล้ๆกัน ผู้คนในสยามเป็นมิตรมีแต่รอยยิ้ม ยังมีอะไรอีกนะ ?

ถ้าต้องถามว่าทำไมคนจีนถึงชอบประเทศไทย เรามี 4 เหตุผลง่ายๆมากระซิบบอก มาอ่านกันเลย

1.สภาพอากาศดี  เมืองไทยเป็นประเทศเมืองร้อนที่มีอากาศที่ดีในช่วงหน้าหนาวที่เมืองจีนอากาศเย็นมากแต่ที่เมืองไทยอากาศกำลังสบายซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมมาเที่ยวเมืองไทยเป็นจำนวนมากและที่สำคัญนั่นสามารถเดินทางสะดวกสบายและไม่ไกลเกินไปด้วย

2.แหล่งท่องเที่ยวสวยงาม  การที่นักท่องเที่ยวจากเมืองจีนมาเที่ยวเป็นจำนวนมากนั้นเพราะเมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ทั้งหาดทราย ทะเล ภูเขา รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมที่โดเด่นอีกมากมายที่เราให้นักท่องเที่ยวจีนมาสัมผัสอีกมากมายอีกด้วย

3.ราคาไม่แพงมากนัก  อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเลือกมาเที่ยวที่เมืองไทยเพราะเมืองไทยมีค่าครองชีพถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆจึงทำให้นักเที่ยวสามารถมาเที่ยวในงบประมาณที่จำกัดได้นั่นเอง

4.อาหารไทยอร่อย อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้มาเมืองไทยอาหารไทยจัดเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวชอบมากเพราะราคาไม่แพง การบริการที่ หรูหรา  ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตัดสินใจเลือกมาเที่ยวที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากในยุคนี้

และนอกจากคนจีนจะชอบมาเที่ยวประเทศไทย ชอบเมืองไทยแล้ว คนจีนยังชอบคนไทยด้วยนะ ถ้าไปเที่ยวจีนถ้าเขารู้ว่าเป็นคนไทยอาจจะโดนขอถ่ายรูปได้นะขอบอก

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

ธุรกิจดาวรุ่งของไทยในปี 2561

ภาคก่อสร้าง

                                  ก่อสร้างไทยปี 2561 นั้นมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้น 5-10% จากปี 2560 ที่มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ ปี 2559 มีมูลค่า 1.22 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่ามีตัวเลขที่ใกล้เคียงกันระหว่างปี 2559-2560 โดยในปี 2560 ถือว่าเป็นการปรับฐานที่เริ่มเห็นงานก่อสร้างภาคเอกชนออกมามากขึ้น ประเมินจากจีดีพีของประเทศ ตามที่หลาย ๆ สำนักคาดกันว่าจะเติบโตได้ถึง 5-10% ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภค และประชาชนที่ต้องการสร้างบ้านเอง ก็เริ่มปรับตัวยอมรับ และคลายความกังวลกับทิศทางเศรษฐกิจเช่นกัน ถือเป็นสัญญาณที่ดี โดยปัจจัยบวกจะมาจากภาวะเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว ทำให้มีกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่ต่างชาติรายย่อยจะเข้ามาซื้อห้องชุดในคอนโดมิเนียมต่างๆ เพิ่ม ขยายจากเดิมที่จะมีเฉพาะต่างชาติรายใหญ่เข้ามาซื้อเป็นโครงการ ทำให้ภาครวมอสังหาริมทรัพย์เติบโตค่อนข้างดี

                อย่างไรก็ตาม จะต้องระวังปัจจัยลบในเรื่องของการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งในแต่ละปีภาคก่อสร้างจะใช้แรงงานประมาณ 2.4 ล้านคน แต่ทั้งนี้ในช่วงหลังผู้ประกอบการได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ทำให้ในปีที่ผ่านมาสามารถลดแรงงานลงได้ประมาณ 10% หรือ 2 แสนคน แต่โดยภาพรวมอุตสาหกรรมนี้ยังคงขาดแคลนแรงงานอยู่ และจากการที่อุตสาหกรรมก่อสร้างหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้มีความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่ปรับตัวใช้เทคโนโลยีก็จะอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ได้ยาก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทย

ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2561 นี้มีแนวโน้มสดใสขึ้น หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา รัฐบาลมองว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP จะขยายตัวที่ 3.8% การส่งออกยังเป็นพระเอกสำคัญที่ทุกฝ่ายเชื่อว่าจะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ นอกจากสำนักเศรษฐกิจจะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจดีกันแล้ว ตลาดหุ้นยังขานรับเม็ดเงินการลงทุน โดยดัชนีพุ่งสูงสุดในรอบกว่า 4 ทศวรรษและนี่อาจถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของปีนี้

รัฐบาลหวัง GDP โตแตะ 4% ส่งออก-ลงทุนภาครัฐยังเป็นความหวังสำคัญ

เดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงคาดการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2561 โดยมองว่า GDP จะขยายตัวที่ 3.8% ภายใต้ช่วงคาดการณ์ 3.3-4.3% และล่าสุด อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ถึง 4.1% ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการตอกย้ำจากทางรัฐบาลว่าปีนี้จะเป็นปีที่สดใสของคนไทย

 

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจพม่า

พม่ากำลังก้าวโตไปในเศรษฐกิจโลกโดยการส่งออกข้าว กระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ และน้ำมัน รวมทั้งการผลิตเสื้อผ้า แต่ประเทศนี้น่าจะทำได้ดีในการปฏิบัติการตามตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้วของเศรษฐกิจที่กำลังโตอย่างแอฟริกา

พม่ามีเมืองสำคัญที่มีบทบาททางเศรษฐกิจกระจายอยู่ตามด้านต่างๆของประ เทศซึ่งแต่ละแห่งจะมีลักษณะเด่นและบทบาทแตกต่างกันไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สนใจทำธุรกิจในตลาดพม่าควรรู้จักเพื่อให้ก้าวสู่ตลาดประเทศพม่าได้อย่างเหมาะ สมทั้งในแง่การค้าและการลงทุนที่สำคัญ เช่น นครเนปิดอว์ ย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าที่คาดว่าจะเติบโตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพม่าที่ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสูงถึงร้อยละ 44 ของ GDP



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

วิธีการใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างมีความสุข

ชีวิตหลังการทำงานหรือที่เรียกว่าชีวิตวัยเกษียณนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุมักเกิดความซึมเศร้า มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระลูกหลานหรือสังคม ทำให้เกิดเบื่อหน่ายได้ ดิฉันมีแนวคิดดีๆในการใช้ชีวิตในวัยเกษียนอย่างไรให้มีความสุขมาฝากค่ะ

สำคัญมาก เรื่องสุขภาพจิต ก่อนอื่นต้องทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ อาจจะหางานอดิเรกทำ เช่น

  • การปลูกต้นไม้ หรือดอกไม้  การที่ได้อยู่กับธรรมชาติจะช่วยให้ผ่อนคลายรู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลา และการปลูกดอกไม้ จะช่วยเพิ่มสีสันให้ดูสดใสอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเพลิดเพลินก่อให้เกิดความสุขเพราะทำในสิ่งที่ชอบ
  • เข้าร่วมการออกกำลังกาย อาจจะออกกำลังกายภายในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เช่น การปั่นจักยาน เต้นแอโรบิค หรือโยคะ ทำให้ได้พบปะสังคมใหม่ ๆ  ได้พบเจอเพื่อนใหม่ ๆ  ก่อให้เกิดความสดชื่นแจ่มใส ไม่เบื่อหน่าย  อีกทั้งยังเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  • ทำกับข้าวหรือขนม  การคิดค้นและทดลองทำสูตรอาหารใหม่ ๆ  หรือทำอาหารที่ไม่เคยได้ทำด้วยการหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตจะทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและมีความสุขมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดเพื่อนำไปจำหน่ายได้เช่นกัน การทำงานอดิเรกที่ตนรักเพื่อเป็นรายได้เสริมเล็ก ๆ  น้อย ๆ  จะทำให้มีความสุขและมีกำลังใจมากขึ้น

นอกจากเรื่องของสุขภาพจิต ยังต้องดูแลเรื่องของสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายบ้าง เพราะการไม่เจ็บ ไม่ป่วยจะทำให้เกิดความสุขทั้งกายและใจ เพียงเท่านี้ก็จะใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมีความสุขแล้วค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

เงินดิจิตอล

เงินในรูปแบบของดิจิตอล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ใช้โอนมูลค่าระหว่างกัน  ที่สามารถรับส่งได้ทั่วโลก ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีตัวกลาง ไม่มีคนที่จะควบคุมได้ทั้งหมด ทุกคนที่อยู่ในระบบเข้าถึงได้เป็นคนขับเคลื่อนระบบไปด้วยกัน มีมูลค่าเยอะ มีหลายสกุล มีมูลค่าสูง และผลตอบแทนสูง ที่รู้จักกันมากที่สุด Bitcoin

เงินดิจิตอลสกุลแรกที่ปรากฎคือ บิทคอยน์ มีมูลค่าแค่ 10 เซนต์ แต่เวลาผ่านไปก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนที่ซื้อบิทคอยน์ในราคา 10 เซนต์ต่างก็ทำเงินกันมหาศาล  บิทคอยน์ถือว่าเป็นเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ สกุลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีสกลุเงินอื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เช่น สกุลเงิน Ethereum  , สกุลเงิน Ripple และสกุลเงิน Litecoin แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันบิทคอยน์ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด

มูลค่าของบิทคอยน์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเหมือนสกุลเงินอื่น ๆ ตามกลไกตลาด หรือที่เราเรียกว่าหลัก Demand Supply คือช่วงไหนที่ความต้องการบิทคอยน์ มีมากกว่าปริมาณบิทคอยน์ที่มีในระบบ ก็จะส่งผลให้มูลค่าบิทคอยน์เพิ่มขึ้น กลับกันหากบิทคอยน์ในระบบมีมากเกินความต้องก็จะทำให้มูลค่าลดลง





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

การเปลี่ยนแปลงของการเงินการธนาคารเนื่องจากเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงิน (Financial Services) ทั่วโลก ธุรกิจการเงินรูปแบบใหม่ ความต้องการบริการด้าน  FinTech หรือ Start Upโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจธนาคารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ทั้งธนาคารขนาดใหญ่และผู้เล่นรายใหม่ที่มีศักยภาพหันมาจับมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น  ในโลกธุรกิจธนาคารที่มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น ธนาคารต้องหาทางพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีร่วมมือกับฟินเทคและสตาร์ทอัพในการผลักดันธุรกิจ พร้อมรับมือสู่โลกดิจิตอล

ในปัจจุบันอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกรรมทางการเงินบ้างแล้ว ในรูปแบบต่างๆ เช่นเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้ที่ใช้บริการพึงพอใจ เพราะนอกจากจะสะดวก และประหยัดเวลา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

นโยบาย QE ญี่ปุ่น

มาตรการ QE หรือ Quantitative Easing เรียกอีกอย่างว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือนโยบายทางการเงิน แบบหนึ่ง โดยหลักการจะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนต่อไป เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนในประเทศ มีการใช้จ่ายมากขึ้น

ประกาศใช้

เมื่อวันพฤหัสที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ตลาดการเงินโลกต่างให้ความสนใจกับการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) ประกาศใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ (Negative interest rate) โดยให้มีการคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ BOJ ในอัตรา 0.1%  หรือก็คืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่ากับ -0.1%  ซึ่งการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ มีหลายประเทศเคยดำเนินการมาก่อนแล้ว ทั้งสหภาพยุโรป เบลเยียม สวิสเซอร์แลนด์ และสวีเดน ต่างก็เคยใช้นโยบายแบบนี้

ผลกระทบต่อประเทศไทย

การทำคิวอีของญี่ปุ่นรอบนี้ มีผลทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง และทำให้เงินบาทเทียบกับเงินเยนแข็งค่าขึ้น  ซึ่งอาจส่งผลกระทบในด้านการส่งออกบ้าง  เพียงแต่การส่งออกไปญี่ปุ่นค่อนข้างพิเศษตรงที่อุตสาหกรรมการผลิตของไทยมีความสัมพันธ์ค่อนข้างมากกับทางญี่ปุ่น โดยสินค้าไทยผลิตส่งไปญี่ปุ่นค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเข้ามาด้วย จึงเป็นการชดเชยในส่วนของการผลิตเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นได้เช่นกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

การช่วยเหลือของประเทศไทยในปัญหาน้ำท่วม

สาเหตุในการเกิดน้ำท่วม

  • เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ ฝนตกหนัก การเกิดอุทกภัยโดยทั่วไปมีสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณฝนตกหนักมากเกินความสามารถในการระบาย

นโยบายการช่วยเหลือ

 เพื่อเยียวยาบรรเทาผลกระทบ และช่วยฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  จะให้ความช่วยเหลือผ่านธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร โดยการให้กู้ยืมเงินด้วยวิธีการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยแต่ละรายจะได้รับวงเงินช่วยเหลือ คือ

1) ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่เกิน 30 ล้านบาท

2) บุคคลธรรมดา ไม่เกิน 1 ล้านบาท

โดยอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินคิดจากลูกค้านั้น ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี เนื่องจากทาง ธปท. คิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินอยู่ที่ร้อยละ 0.01 ต่อปี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำ (บริษัทเอกชน) เถ้าแก่น้อย

คุณสมบัติที่ประทับใจ

          ประทับใจเพราะคุณต๊อบเป็นคนที่เก่งและฉลาดมาก มีพรสวรรค์ คิดค้นและเรียนรู้ทุกอย่างด้วยตัวเอง  ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ฝ่าหนี้ครอบครัว การเรียน  ทุกๆอย่างกว่าจะเป็นแบรนด์  “ต๊อบ เถ้าแก่น้อย”  นักธุรกิจหนุ่มในวัย 23 ต๊อบ-อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์  แต่ก่อนติดเกมมาก โดยเขาเริ่มเล่นเกมออนไลน์  Everquest  มาตั้งแต่ ม.4 ถึงขนาดสะสมแต้มจนรวยที่สุดในเซิร์ฟเวอร์ และกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเกมดังกล่าวและมีฝรั่งมาขอซื้อไอเท็มเด็ดๆจากเขามากมาย และค้นหาการหารายได้ด้วยวิธีอื่นๆอีก ถ้าขายไม่ได้ไม่นิยมก็จะมีความคิดใหม่ๆไอเดียใหม่เสมอ

          จนมาถึงการขายเกาลัดที่ห้างแห่งหนึ่ง  ได้ใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่า ๆ ขยายเฟรนไชส์เกาลัดเถ้าแก่น้อย ได้กว่า 30 สาขาและเมื่อเห็นว่าเฟรนไชส์ขายได้หลายแห่งแล้ว จึงคิดจะทำสินค้าอื่นเพิ่มเติม จึงลองนำอย่างอื่นมาวางขายในร้าน ไม่ว่าจะเป็น เกาลัด ลูกท้อ ลำไยอบแห้ง และสาหร่าย 

          แต่สินค้าที่ขายดีที่สุดในตอนนั้นกลับไม่ใช่เกาลัด แต่กลายเป็นสาหร่ายทอดกรอบ ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาอยากต่อยอดธุรกิจในการทำสาหร่ายทอดตรา “เถ้าแก่น้อย” อย่างจริงจัง ได้ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง ฝากขายสินค้าตามร้านต่างๆ และมีอุปสรรคต่างๆมากมาย แต่ก็ไม่เคยท้อ คิดค้นจนได้วางขายสินค้าใน 7-11 และได้เข้าไปตรวจยอดขายสินค้าใน 7-11 สม่ำเสมอ จดบันทึกและทำการตลาดจนสินค้าติดตลาด และหลายคนจำสินค้าได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

ความเสี่ยงขององค์กร

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร คือ การบริหารความเสี่ยงของโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารความเสี่ยงจึงครอบคลุม ความเสี่ยงด้านงบประมาณ ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงด้านกำหนดการ และความเสี่ยงด้านเทคนิค หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในวางแผนปฏิบัติการแก้ไข  ติดตามประเมินผล  ผลเสียหายอย่างร้ายแรงย่อมเกิดขึ้นกับโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ได้

 

         ความเสี่ยง ภายในองค์กร 

สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย

– ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ

– วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน

– การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ

– ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

          ความเสี่ยงภายนอกองค์กร 

– การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย

– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

– กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม

– เสถียรภาพทางการเมือง

– การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

หมูปิ้งนมสด “เฮียนพหมูนุ่ม”

เฮียนพ ชวพจน์ ชูหิรัญ ผู้ที่มีเรื่องราวและแนวคิดเกี่ยวกับหมูปิ้งอย่างน่าสนใจ เจ้าของธุรกิจหมูปิ้งนมสด “หมูนุ่มเสียบไม้” เฮียนพทำงานมาแทบทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็น กรรมกร ทำงานโรงงาน ขายน้ำยาล้างจาน ไอศกรีม เสื้อผ้าเด็ก ต้นไม้มงคล เป็นรปภ. ขับแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จนมาจบอยู่ที่ธุรกิจหมูปิ้ง

ชีวิตของเฮียนพนับว่าตกต่ำมาก เพราะต้องผ่านช่วงมรสุมหนักทั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง และน้ำท่วมนหนักเมื่อปี 2554 แม้จะเป็นช่วงน้ำท่วมธุรกิจต่างๆต่างปิดตัวลงแม้แต่วงการหมูปิ้ง แต่มีเฮียนพเจ้าเดียวที่ยังส่งของให้ลูกค้าทุกวัน เพราะไม่ยอมแพ้กับชีวิตจนทำให้วันนี้ โรงงานหมูปิ้งของเฮียนพมีกำลังการผลิตมากกว่าวันละ 150,000 ไม้ มีรายได้มากกว่า 200 ร้อยล้านบาทต่อปี และกำเนิดโรงงานหมูปิ้งแห่งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน อย. และ GMP และใช้วัตถุดิบที่มีมาตรฐานในการผลิตสินค้า

ธุรกิจแบ่งลูกค้าออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. กลุ่มที่ซื้อเพื่อไปขายปลีก กลุ่มนี้จะเป็นชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้าทั่วไป ที่ซื้อแล้วนำไปขายต่อ

2. กลุ่มที่เป็นตัวแทนจำหน่าย เป็นศูนย์กระจายสินค้าในแต่ละจังหวัด ปัจจุบันมีตัวแทนมากกว่า 20 ราย ทำให้คนเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น ขยายฐานลูกค้าไปได้มากขึ้น

3. กลุ่มที่ซื้อไปเพื่อทำแบรนด์ตัวเอง กลุ่มนี้จะสั่งปริมาณมากๆ แล้วเอาไปกระจายต่อในแต่ละสาขาเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามในห้างสรรพสินค้าหรือปั๊มน้ำมัน ทางโรงงานเราจะทำเป็นถุงสูญญากาศแบบใสไม่ติดยี่ห้อ คนที่ซื้อไปก็แค่เอาสติ๊กเกอร์แบรนด์ตัวเองไปติดก็ขายได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานของตัวเอง

4. กลุ่ม Modern trade เป็นกลุ่มที่ไม่มีโรงงานหมูปิ้งไหนสามารถทำได้ เนื่องจากทางห้างฯ มีข้อจำกัดเยอะ โรงงานต้องได้มาตรฐาน กำลังการผลิตต้องมีมากเพียงพอความต้องการ ข้อคิดที่ได้ คือการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หลายครั้งที่เจอวิกฤติ อย่างเช่นในช่วงน้ำท่วมใหญ่ เฮียนพสามารถพลิกวิกฤติเพื่อสร้างทางรวยได้  โดยถือโอกาสที่พ่อค้าแม่ค้าหยุด แต่เฮียนพไม่ยอมหยุด ทำไปให้ถึงที่สุดตราบใดที่ยังขายได้ มีเฮียนพขายอยู่เจ้าเดียวทำให้ได้ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นด้วย และการที่เฮียนพยึดมั่นใน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

ปัจจุบันหลายๆคนเริ่มมีการหันมาสนใจในการที่จะมาเปิดธุรกิจให้เป็นของตัวเอง หลายๆคน เป็นคนที่มีไอเดียที่ดีมากในการทำธุรกิจ ทุกอย่างนั้นเริ่มด้วยทุนทรัพย์ ตัวช่วยที่จะช่วยได้สำหรับผู้ไม่มีเงินทุนก็คือ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

สินเชื่อเพื่อธุรกิจก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ  เช่น

1.เงินกู้ประจำทั่วไป ซึ่งเป็นการกู้เงินที่มีหลักประกัน มีผู้ค้ำประกัน มีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยผู้กู้จะได้เงินมาเต็มจำนวนและสามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆพร้อมดอกเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

2.ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้เพื่อความคล่องตัวของธุรกิจ  เป็นเอกสารประกอบการเบิกเงินกู้แทนการใช้เช็ค ในกรณีกู้เบิกเงินเกินบัญชี มีหลักประกัน เข่น เงินฝาก อสังหาริมทรัพย์ หรือนิติบุคคลค้ำประกัน อาจจะไม่จำกัดวงเงินหรือพิจารณาตามความจำเป็น

3.เลตเตอร์ออฟเครดิต ออกโดยสถาบันการเงินเพื่อการซื้อขายระหว่างประเทศ เพื่อไปแสดงว่าธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตตกลงจะชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประโยชน์  เลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพราะทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าตามใบสั่งซื้ออย่างแน่นอน มี 2 ชนิด

                3.1 เพิกถอนได้  คือการที่ธนาคารผู้ออกเครดิตอาจแก้ไขหรือยกเลิกได้ก่อนที่ธนาคารตัวแทนในต่างประเทศจะจ่ายเงินตามที่ได้รับรองไว้

                3.2 เพิกถอนไม่ได้  คือการที่ธนาคารผู้ออกเครดิตไม่สามารถยกเลิกหรือแก้ไขได้ นอกจากจะได้รับคำยินยอมจากผู้ที่เกี่ยวก้องกับเครดิตทุกฝ่าย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanyanuch Buddeepan
เขียนเมื่อ

เทคนิคการบริหารเงินสด “เงินสด” (Cash) หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คที่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง ดราฟต์ของธนาคาร และธนาณัติ หรือหมายถึงสินทรัพย์ต่างๆ ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันทีที่ต้องการ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ตลอดจนสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินสด เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เป็นต้น  

การบริหารเงินสดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 

1. การกำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม 

-  พิจารณาถึงต้นทุน และผลประโยชน์ของการที่มีเงินสดไว้ในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย

2. การจัดเก็บเงินสดและการจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ 

-  กิจการควรจะหาวิธีลดระยะเวลาในขั้นตอนการการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย 2 วิธีดังนี้ 

2.1 การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด 

2.2 การชะลอเงินสดจ่าย คือเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ กิจการต้องชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า 

3. การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน -  การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน กิจการ ควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ 

จะเห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการบริหารเงินสดไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพ กิจการจะมีปัญหา ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องให้ความสนใจ ควบคุมดูแล เอาใจใส่ ในการบริหารเงินสดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท