อนุทิน 154922


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วัฒนธรรมแห่งการยกเว้นโทษกับชนชั้นนำปกครองไทย: สัมภาษณ์กับพวงทอง ภวัครพันธุ์ ตอนที่ 5

วัฒนธรรมแห่งการไม่เอาผิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทย

พวงทองอธิบายต่อว่าการสังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลา คือสภาวะที่มืดมัวของการไม่เอาผิด ท่ามกลางเหตุการณ์นั้นมีแต่ความโกระและความไม่ยุติธรรม ใบหน้าของคนที่ทำความรุนแรงต่อนักศึกษาและประชาชนปรากฏได้ชัดเจนในภาพถ่ายและวิดีโอ แต่ไม่มีใครถามคำถามเลยว่าคนที่ใช้ความรุนแรงต้องถูกดำเนินคดีหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นใกล้จะ 2 ปีหลังจากการสังหารหมู่ กฎหมายนิรโทษกรรม (amnesty law) ก็มีการประกาศใช้ 

  “ประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีหลังการประหารหมู่เป็นหัวหน้านักศึกษา 19 คน (student leader) แต่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ใช้ความรุนแรงเลย หลังจากการตรวจสอบในแต่ละกรณี พบว่าจำเลยคือผู้รับกรรม หรือเหยื่อ ในที่สุดก็มีการประนีประนอมระหว่างการเมืองกับการนิรโทษกรรม ชนชั้นปกครองรู้เป็นอย่างดีว่าหากจะใช้กลยุทธ์สายเหยี่ยวที่เน้นการสู้รบต่อไป สุดท้ายจะเกิดความแตกร้าวในสังคมไทย เพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกำลังขยายตัวขึ้นหลังจากมีการสังหารหมู่  ในความเป็นจริง คนที่ได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมมากที่สุดก็คือคนที่ใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์ ซึ่งจะมีทั้งทหาร, ตำรวจ, และกลุ่มทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงใน 6 ตุลา 

แปลและเรียบเรียงจาก

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. Culture of impunity and the Thai ruling class: Interview with Puangthong Pawakapan ....................................



  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท