อนุทิน 148490


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ประชามติ, การระเบิด, และกระบวนการเพื่อสันติภาพ ตอนที่ 7

ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองของคนในท้องถิ่นในการลงประชามติก็คล้ายๆกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ที่ลงมติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญต้องการจะพิทักษ์กระแสประชาธิปไตยเอาไว้ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้อาจสะท้อนไปถึงความปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง การสัมพันธ์กับการแก้ไขทางการเมืองต่อข้อขัดแย้งที่ใช้อาวุธ สิ่งนี้คือความปรารถนาในการแก้ไขทางการเมืองโดยแท้ และการปฏิเสธระบบที่เป็นประชาธิปไตยน้องลง ซึ่งเสนอในร่าง และทำถูกริบสิทธิทางการเมือง คือสารที่สำคัญในการบอกว่าพวกเขาต้องงการจะแก้ปัญหาด้วยวิธีทางการเมือง และอยู่ในระบบที่สิทธิของพวกเขาได้รับการรับรอง

พฤติกรรมการโหวตไม่รับร่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่พวกเขาพบ ในการลงประชามติ จะมีการการกดดันทั้ง 2 ฝ่าย 1. คือรัฐบาล โดยเฉพาะกกต. ที่มีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร (ถึงแม้ว่าเขาไม่ใช่หัวหน้าก็ตาม) อย่างที่เรารู้กัน ว่าการรณรงค์เป็นไปแบบด้านเดียว ซึ่งมีการห้ามไม่ให้มีการอภิปรายสาธารณะ ซึ่งอาจมีการไม่รับร่างรวมอยู่ด้วย 2. กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเห็นได้อย่างชัดเจนว่าปฏิเสธร่าง หรือปฏิเสธรัฐธรรมนูญของไทย การกดดันทั้ง 2 ด้านมีผลต่อพฤติกรรมการโหวต แต่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมกับการกดดันทั้ง 2 อย่าง และหลายๆคนเลือกการลงประชามติไม่เห็นชอบ

แปลและเรียบเรียงจาก

Hara Shintaro. Referendum, Bombing, and Peace Process.

http://prachatai.org/english/node/6550


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท