อนุทิน 147560


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การวิเคราะห์ภาษา ตอนที่ 2

กรอบโครงเพื่อการวิเคราะห์ (A framework for analysis)

ครูอาจนำเสนอภาษาแบบอุปนัย (inductive) ผ่านการใช้ตัวบท, สถานการณ์, งาน หรือบางครั้งก็เพียงแต่ขอให้ผู้เรียน “สังเกต” (notice) ระบบคำ (lexis) เท่านั้น อย่างไรก็ตามวิธีการแบบนิรนัย (deductive) ก็สามารถนำมาใช้ได้ หลังจากที่ผู้เรียนเรียนรู้กฎ และขอให้นำกฎต่างๆไปใช้ภาษา ทั้งสองกรณีผู้เรียนจำเป็นต้องมีความเข้าใจในตัวของภาษาอย่างเต็มที่เสียก่อน หลังจากนั้นจึงมาฝึกในกิจกรรมแบบนำ (guided activities) หรือผลิตภาษาด้วยสิ่งที่รู้ดีมาอยู่แล้ว ครูจำเป็นต้องใช้กรอบโครง (framework) ซึ่งนำมาใช้วิเคราะห์ภาษาเพื่อนำไปสอนได้ ลักษณะกรอบโครงจะมีอยู่ 5 อย่างดังนี้

1. ฟอร์ม (form) หมายถึง รูปทรงของภาษา, กฎที่กำหนดภาษา, ความยุ่งยากต่างๆตอนใช้ภาษา

2. ระบบเสียง (phonology) หมายถึง เสียง, การเน้นคำ, ลักษณะของการพูดที่มีความต่อเนื่อง, การเน้นประโยค, ท่วงทำนองและจังหวะ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้เรียนของเร้าข้าใจภาษาพูด และทำให้การพูดของเขาเป็นธรรมชาติ, ง่ายต่อการเข้าใจ, และทรงความหมายมากขึ้น

แปลและเรียบเรียงจาก

Steve Darn. Analyzing Language. http://www.teachingenglish.org.uk/article/analysing-language?utmsource=facebook&utmmedium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท