อนุทิน 147049


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ไวยากรณ์ กับ ระบบคำ หรือ ไวยากรณ์ผ่านระบบคำ? (Grammar vs lexis or grammar through lexis?) ตอนที่ 5

สอนไวยากรณ์ให้น้อย หรือให้มากดี

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณคุ้นเคยกับนักเรียนที่รู้เรื่องไวยากรณ์เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถพูดได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ตอนพูด หรือไม่ก็เสียงของนักเรียนไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถูกหลักไวยากรณ์ Michael Lewis ซึ่งเป็นบิดาของการสอนด้วยวิธีระบบคำ (Lexical Approach) ครั้งหนึ่งเคยเสนอว่าไม่มีความสัมพันธ์ในทางตรงระหว่างความรู้ด้านไวยากรณ์และการพูด ในทางตรงกันข้ามคำที่เป็นสูตรในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ทักทาย หรือจากลา (formulaic expressions) มีนัยยะสำคัญทางสถิติในการพูดภาษาธรรมชาติ (natural language production)

นอกจากนี้กำทางไวยากรณ์บางจำพวกไม่สามารถจะฝึกได้ด้วยการเรียนรู้ Dave Willis เคยกล่าวไว้ว่า กลุ่มกริยาวลี (the grammar of orientation, the verb phrase) เช่น การใช้ Present Perfect ที่ยากๆ และการใช้กริยาช่วยบางตัว มีความยากยิ่งต่อการสอน วิธีการเดียวในการจับความหมายก็คือให้เด็กๆได้พบเจอ (exposure) และ ใช้ (use) อย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายนี้ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญไวยากรณ์ที่มีชื่อในทางวิชาการมากที่สุด ยังไม่มีใครที่ให้ภาพรวมทางไวยากรณ์ได้สักคน ดังนั้นชื่อขึ้นต้นของหนังสือไวยากรณ์ทุกเล่มต้องเขียนว่า การแนะนำ (introduction) อยู่ด้วยเสมอ

แปลและเรียบเรียงจาก

Leo Selivan. Grammar vs lexis or grammar through lexis? http://www.teachingenglish.org.uk/article/grammar-vs-lexis-or-grammar-through-lexis?utmsource=facebook&utmmedium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท