อนุทิน 146449


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกเสนอในประเทศไทยอาจทิ้งเด็กที่อ่อนแอที่สุดไว้เบื้องหลัง (Thailand’s proposed education reforms could leave the most vulnerable behind) ตอนที่ 5

ภายใต้โครงสร้างกระจายอำนาจอันใหม่นี้ คณะกรรมการที่มีอิทธิพลจะถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด (provincial education committees) ซึ่งมีผู้ว่าฯเป็นหัวหน้า และจังหวัดจะมีอำนาจในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน (community) มากกว่าขึ้นอยู่กับการสนองแค่ทางเดียวแต่ใช้ได้หมดทั้งชุมชนที่เคยนำมาใช้ก่อน

วิธีการหนึ่งที่ความเป็นอิสระ (autonomy) สามารถส่งผลทางบวกต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ก็คือการให้ใช้ภาษาในท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ภาษาสำเนียงอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาษาไทยมาเลย์ในภาคใต้ ในจำนวนคน 67 ล้านคนในประเทศไทย จะมีเพียง 20 ล้านคนเท่านั้นที่ใช้ภาษาไทยกลาง และมีนักเรียนจำนวนมากก็ไม่รู้ความคิดรวบยอดที่เป็นหลักเพราะภาษาที่ใช้ต่างกับภาษากลางกรุงเทพฯ ถ้าจังหวัดประยุกต์วิธีการที่เรียกกันว่า มหิดล โมเดล (Mahidol Model) และใช้ภาษากลางกรุงเทพฯในการสอนตั้งแต่เริ่มต้น อาจส่งผลต่อความสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนก็ได้ การบูรณาการกับภาษาท้องถิ่น (regional languages) สามารถมีประสิทธิภาพหากทำใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่ซึ่งการขาดการศึกษาสำหรับเด็กเฉพาะทางที่มีลักษณะพิเศษ (inclusive education) นำไปสู่ความไม่สงบทางสังคม (social unrest) นั่นคือ ทำให้เยาวชนชายมีแนวโน้มที่จะคิดทางการเมืองอย่างสุดขั้ว และนำไปสู่วัฎจักรแห่งความรุนแรง (the cycle of violence)

แปลและเรียบเรียงจาก

Daniel Maxwell. Thailand’s proposed education reforms could leave the most vulnerable behind. https://asiancorrespondent.com/2016/05/thailand-education-reform/


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท